ลูกป่วยบ่อย ไม่สบายง่าย เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนที่อยากจะเห็นลูกมีสุขภาพย่ำแย่กันอย่างแน่นอน ร่างกายที่ไม่แข็งแรง มักจะกระทบต่อพัฒนาการได้ทั้งในเรื่องการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ ที่อาจถดถอยไม่เป็นไปตามพัฒนาการช่วงวัยของลูก และยิ่งถ้าลูกป่วยและต้องเข้าโรงพยาบาล อันนี้เชื่อว่าพ่อแม่คงกังวลมากแน่ ๆ
คุณพ่อคุณแม่ทราบกันไหมคะว่า ร่างกายที่แข็งแรงของลูก นอกจากการได้รับสารอาหารที่เพียงพอมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ การได้นอนหลับพักผ่อนเต็มที่แล้ว ก็ควรต้องได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอใน 1 สัปดาห์อย่างน้อย 3-4 วัน และเด็ก ๆ ควรได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินธรรมชาติจากแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อให้กระดูกแข็งแรง และร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ ทีมแม่ABK มีเคล็ดลับง่าย ๆในการช่วยให้เด็ก ๆ มี “ภูมิคุ้มกันแข็งแรง” ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเจ็บป่วย ไม่สบายด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่เรียกว่า “โพรไบโอติก” มาบอกให้ได้รู้กันค่ะ
เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะคุ้น ๆ หรือเคยได้ยินมากันบ้างเกี่ยวกับ โพรไบโอติก คือรู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์กับร่างกาย แต่อาจจะไม่รู้ว่าโพรไบโอติกนั้นมีหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็จะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่นการกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ให้มีร่างกายแข็งแรง ก็จะมีสายพันธุ์เฉพาะเจาะจงนะคะ ใช่ว่าทุกสายพันธุ์ของโพรไบโอติก จะให้ผลในการเสริมภูมิคุ้มกันได้เหมือนกันหมด อยากรู้ไหมคะว่าโพรไพรไบโอติกสายพันธุ์เหล่านั้น ได้แก่อะไรบ้าง ?
สำหรับโพรไบโอติก (Probiotic) นั้น หมายถึง จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อเด็กๆ หรือคุณพ่อคุณแม่เองก็ตาม รับประทานในปริมาณที่เพียงพอ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้ค่ะ1
ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง สุขภาพดี สร้างได้ไม่ยาก แค่ได้รับ “โพรไบโอติก จุลินทรีย์ที่มีชีวิต” ถูกสายพันธุ์ !!
ทีมแม่ABK กระซิบบอกไปแล้วนะคะว่า โพรไบโอติก จุลินทรีย์ที่มีชีวิต จะมีสายพันธุ์เฉพาะในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งสายพันธุ์ที่ว่านี้ก็คือ โพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 หนึ่งในสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตหนึ่งในสายพันธุ์ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเราทุกคนนี่แหละค่ะ
ซึ่งจุลินทรีย์สุขภาพสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี นี้ถูกค้นพบครั้งแรกโดย เจอร์ฮาร์ด รูเทอร์ นักจุลชีววิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งปกติพบได้ในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และสำไส้ใหญ่ โดยมีต้นกำเนิดมากจากสายพันธุ์ซึ่งได้มาจากน้ำนมแม่ของหญิงชาวเปรู โดย แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีการศึกษาทางการแพทย์จำนวนมากสนับสนุน มีประสิทธิภาพดี และปลอดภัยสำหรับเด็ก2
พอจะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า ลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ จะมีภูมิคุ้มกันตั้งต้นแข็งแรงได้จากอาหารชนิดไหน ใช่แล้วค่ะ “น้ำนมแม่” ที่องค์การอนามัยโลกยกให้เป็นเดอะเบสท์อาหารแรกเริ่มที่ดีที่สุดสำหรับลูกตั้งแต่แรกคลอด เด็กที่กินนมแม่จะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรีเข้าไปเติมให้กับร่างกายอยู่ตลอดเวลานั่นเองค่ะ
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี จุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดนี้นะคะ จะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ของเด็ก ๆ นี่แหละค่ะ ซึ่งถ้าลำไส้ ระบบย่อยอาหาร มีปริมาณจุลินทรียที่มีชีวิตอาศัยอยู่จำนวนมาก ก็จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ ระบบย่อยอาหารดีตามไปด้วย
เติม…โพรไบติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เข้าสู่ร่างกาย = เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 ช่วยกระตุ้นการสร้าง CD4-T helper cell เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่จะช่วยประสานกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นในการต่อสู้ ยับยั้งเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก่อโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและป้องกันโรคติดเชื้อได้3
กลไกการทำงานของ โพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ เวลาที่เกิดมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็คือ…
ช่วยเสริมชั้นจุลินทรีย์ (Microbiota) ให้กับระบบทางเดินอาหาร เกิดความแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคแทรกผ่านเข้ามาได้ โดยการสร้างสารบางชนิดเพื่อกำจัดเชื้อก่อโรค4 และช่วยกระตุ้นและเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายโดยรวมให้แข็งแรง เพื่อต่อสู้กับเชื้อก่อโรค3
ให้นึกภาพตามเวลาที่เด็ก ๆ ได้รับ โพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรีเข้าไปในร่างกาย ก็จะมีมนุษย์เกราะที่ถือโล่ยืนเรียงกันเป็นล้าน ๆ ถามว่าเขามีหน้าที่อะไร หน้าที่ก็คือช่วยป้องกัน และต่อสู่กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ยิ่งมีจำนวนมนุษย์เกราะที่เหมาะสม เชื้อโรคร้ายต่าง ๆ ก็ลดโอกาสการทำอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายได้ค่ะ
มีการศึกษาทดลองทางการแพทย์ขนาดใหญ่ จาก Pedro Gutierrez-Castrellon และคณะ (ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics 2014) โดยศึกษาในเด็กสุขภาพดีอายุระหว่าง 6-36 เดือน จำนวน 336 คน จากศูนย์ดูแลเด็กเล็ก 4 แห่งในประเทศเม็กซิโก โดยแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานยาหลอก และกลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 โดยให้รับประทานเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และติดตามผลต่ออีก 12 สัปดาห์หลังหยุดรับประทาน
คุณพ่อคุณแม่อยากรู้ไหมคะว่าผลลัพธ์ที่แสดงออกมาเกิดอะไรขึ้น ขอบอกว่าทีมแม่ABK เลิฟเลย เพราะดีมาก ๆ กับภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ นั่นก็คือการ
- ช่วยลดการเกิดท้องเสียได้ถึง 50%
- ช่วยลดวันที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ถึง 67%
- ช่วยลดวันที่ต้องขาดเรียนเพราะลาป่วย และลดการต้องใช้ยาปฏิชีวนะ5
คำแนะนำจากสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารนานาชาติ (WGO- World Gastroenterology Organisation) แนะนำให้เสริมโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับเด็ก โดยเฉพาะที่ต้องเข้าโรงเรียนหรือต้องไปสถานรับเลี้ยงกลางวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ1
เห็นแบบนี้ยิ้มออกเลยใช่ไหมคะ เพราะลูก ๆ ของเราจะได้มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง และก็จะไม่ป่วยง่าย ป่วยบ่อยอีกต่อไป ถ้าเสริมให้พวกเขาได้รับจุลินทรีย์ที่มีชีวิตถูกสายพันธุ์ เช่น โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM 17938 อย่างสม่ำเสมอ จริง ๆ ยิ่งในช่วงนี้จะให้ดีต้องเติมเสริมให้เด็ก ๆ ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่มีชีวิตทุกวัน เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีพัฒนาการการเรียนรู้สมวัยค่ะ
เอกสารอ้างอิง
- World Gastroenterology Organisation. World gastroenterology organisation global guidelines: probiotics and prebiotics. February 2017: 1-35.
- Ramesh Srinivasan. et.al. Lactobacillus reuteri DSM 17938: Review of Evidence in Functional Gastrointestinal Disorders. Pediatr Ther; 2018; Volume 8(3); 1-8.
- Valeur N, Engel P, Carbajal N, Connolly E, Ladefoged K. Colonization and immunomodulation by Lactobacillus reuteri ATCC 55730 in the human gastrointestinal tract. Appl Environ Microbiol. 2004;70(2):1176-1181.
- Cleusix V, Lacroix C, Vollenweider S, Duboux M, Le Blay G. Inhibitory activity spectrum of reuterin produced by Lactobacillus reuteri against intestinal bacteria. BMC Microbiol. 2007;7:101. Published 2007 Nov
- Gutierrez-Castrellon P, Lopez-Velazquez G, Diaz-Garcia L, et al. Diarrhea in preschool children and Lactobacillus reuteri: a randomized controlled trial. Pediatrics. 2014;133(4):e904-e
THL2203007-2