“ออทิสติกเทียม” เป็นอย่างไร?
- ไม่มีความผิดปกติทางกายใดๆ หรือสารสื่อประสาทในสมอง แต่เกิดจาก “ความเข้าใจผิดในการเลี้ยงดู” ที่ทำให้เด็กมีอาการคล้ายออทิสติก เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ป่วย จึงเรียกว่าอาการออทิสติกเทียม
- อาการออทิสติกเทียมเกิดจากความเข้าใจผิดในการเลี้ยงดูได้แก่ 1) ปล่อยให้ลูกดูทีวี หรือแท็บเล็ตตั้งแต่เล็กๆ แต่พ่อแม่มักสงสัยพามารักษาเมื่อลูก 3 ขวบ (อ่านต่อ ลูกเป็นออทิสติกเทียม เพราะดูทีวีมากเกินไป) และ 2) การเร่งเรียน เด็กมักมีอาการมากตอนประมาณ 7 ขวบหรือขึ้นชั้นประถม
- อาการออทิสติกเทียม ที่คล้ายกับออทิสติก คือ ไม่พูด แยกตัว ทำอะไรอย่างไม่สนใจใคร เมื่อถูกขัดใจจะร้องกรี๊ดๆ ขาดทักษะทางสังคม
“ออทิสติก” เป็นอย่างไร?
ออทิสติกเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ไม่พบในเด็กที่มีอาการออทิสติกเทียม (อ่านต่อ แพทย์ชี้..’ออทิสติก’ เกิดขึ้นเอง ไม่ได้มาจากทีวี แท็บเล็ต หรือการเลี้ยงดู)
- พันธุกรรม เป็นสาเหตุอันดับแรก เด็กที่เป็นออทิสติก เมื่อซักประวัติมักพบว่ามีคนในครอบครัวเคยเป็น
- เมื่อพบว่ามีพันธุกรรม จะมีการตรวจสารสื่อประสาทบางตัวในสมองของเด็ก และมักตรวจพบความผิดปกติของสารสื่อประสาทบางตัว เช่น โดปามีน ซิโรโทนิน หรือ ออกซิโตซิน ซึ่งทำให้เด็กออทิสติกแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน
- อาการที่เป็นลักษณะบ่งชี้ ได้แก่ พัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ไม่เลียนแบบ ไม่มองหน้า ไม่สบตา เล่นของเล่นซ้ำๆ ขยับมือซ้ำๆ ไม่พยายามพูดโต้ตอบ ชอบอยู่คนเดียว เหมือนมีโลกส่วนตัว เดินและวิ่งโดยเขย่งเท้า เป็นต้น
- สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถ้าคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกเอง จะสังเกตอาการได้เร็ว
‘ไม่มีเด็กคนไหนรู้ว่าตัวเองผิดปกติ’ มีแต่พ่อแม่เท่านั้นที่จะสังเกตรู้ว่าลูกเรา มีบางอย่างไม่เหมือนเด็กอื่น และสิ่งที่ลูกเราไม่เหมือนเด็กคนอื่นนั้น เป็นความผิดปกติหรือไม่
อ่านต่อ “ให้ลูกดูทีวี แท็บเลต ทำให้เป็นออทิสติกเทียมได้อย่างไร” คลิกหน้า 3