นักกิจกรรมบำบัดเด็กเผยข้อมูล! กว่าลูกจะจับดินสอได้ หรือ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ให้เป็น ลูกต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง? พ่อแม่ควรรู้ ก่อนฝึกลูกเขียนหนังสือ
กว่าจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ได้ ต้องมีทักษะเหล่านี้ก่อน!
สำหรับเด็กเล็ก กล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การหยิบจับสิ่งของต่างๆ จะเริ่มต้นด้วยวิธีการกำมือก่อน จนกระทั่งเริ่มซับซ้อนเเละมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้าเด็กบางคนที่ไม่ได้ฝึกฝน พ่อแม่ไม่ได้คอย ฝึกลูกเขียนหนังสือ เมื่อจับดินสอหรือสิ่งของต่างๆ ก็อาจทำได้ยาก ส่งผลต่อเนื่องทำให้ไม่ยอมเขียนหนังสือ หรืออาจจับดินสอ ปากกาเเบบผิดวิธีเมื่อโตขึ้นก็เป็นได้
ซึ่งการที่เด็กจะสามารถหยิบจับสิ่งของ หรือ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ควบคุมเครื่องเขียน ทั้งดินสอ, ปากกา หรือเเท่งสีได้นั้น ต้องอาศัยทักษะในด้านต่างๆ ทั้ง สหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดี เเละการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในมือที่ผสานร่วมกัน
สำหรับเรื่องการฝึกให้ลูกเขียนหนังสือคุณพ่อคณแม่ต้องรู้ก่อนว่า ลูกควรมีทักษะอะไรบ้าง ก่อนที่จะพัฒนาการร่างกาย บังคับใช้มือและนิ้วให้หยิบจับ และ ฝึกลูกเขียนหนังสือได้ โดยทีมแม่ ABK มีข้อมูลจาก ครูน้ำฝน เจ้าของเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก และ เพจ Mor-Online มาแนะนำค่ะ
พัฒนาการ “การหยิบจับดินสอ” ก่อน ฝึกลูกเขียนหนังสือ
หากอยากจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ พ่อแม่ต้องรู้ก่อนว่า พัฒนาการการหยิบจับดินสอของเด็กเป็นอย่างไร ซึ่งจะเริ่มจากการกำสิ่งของเเบบทั้งมือก่อน ทั้งนี้การกำ จะช่วยให้มีกำลังในการเคลื่อนไหวได้มากกว่าการใช้นิ้วมือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง โดยลูกจะใช้หัวไหล่ในการเคลื่อนไหว ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนารูปเเบบการวางนิ้วไปเรื่อยๆ จนถึงอายุประมาณ 4 ปี เเต่หากการพัฒนาไม่ถูกต้องจะส่งผลทำให้การเขียนที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะต้องใช้เเรงมาก ซึ่งเป็นเหตุทำให้ทั้งมือเเละแขนเกิดความล้าตามมาได้นั่นเอง
ลูกเขียนหนังสือได้ตอนกี่ขวบ
ถัดมาเป็นเรื่องของ พัฒนาการเขียนหนังสือของเด็กแต่ละวัย สำหรับวัย 1-3 ขวบ จะเริ่มจากการขีดเขียนแบบไร้ทิศทาง ดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง และไม่เป็นความหมาย เมื่อเริ่มเข้าวัย 4 ขวบ ลูกจะสามารถลากเส้นตามจุดได้แล้ว อาจจะไม่สวย ไม่ตรง แต่มีความเข้าใจเรื่องจุดต่อของเส้นปะแต่ละจุดรวมไปถึงวาดรูปทรงต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งเมื่อลูกทำได้พ่อแม่ควรชมเชย และไม่ควรเร่งให้ลูกเขียนบ่อยหรือมากเกินไปลูกอาจเบื่อได้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
10 ทักษะ ที่ลูกต้องมี! ก่อนพ่อแม่ ฝึกลูกเขียนหนังสือ
อย่างไรก็ตามเด็กที่มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กและการใช้มือที่ล่าช้าหรือบกพร่อง มักจะมีความยากลำบากในการหยิบจับดินสอและการเขียนร่วมด้วย ซึ่งทักษะที่ลูกควรมีและคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกก่อน ที่จะไปฝึกลูกเขียนหนังสือ มีดังนี้
- In hand manipulation ความสามารถในการจัดการวัตถุภายในมือ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากการเคลื่อนไหวดินสอไปบนกระดาษต้องอาศัยความสามารถจำแนกการเคลื่อนไหวของนิ้วมือแต่ละนิ้วร่วมกับการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือไปด้วย โดยคุณแม่สามารถฝึกทักษะนี้ให้ลูกแต่ละวัยได้ คือ
-
- 12-15 เดือน ให้ลองหยิบเหรียญด้วยปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้ามาอยู่ในมือ
- 2-2.5 ปี นำเหรียญที่กำในฝ่ามือเคลื่อนมายังปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ หรือฝึกบิดหมุนขวดน้ำ
- 3-3.5 ปี ให้ลูกจับและฝึกปรับตำแหน่งดินสอขึ้นลง เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เขียนได้ถนัด
- 6-7 ปี ลูกสามารถหมุนวัตถุด้วยปลายนิ้วมือ โดยมีรอบการหมุนประมาณ 180-360 องศา หรือทำซ้ำติดต่อกันได้
- Crossing midline การเคลื่อนไหวแนวกลางข้ามลำตัว เป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของสมองทั้งสองซีก เป็นทักษะจำเป็นที่ต้องพัฒนาขึ้นก่อนนำไปสู่การประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ความถนัดของมือ การเคลื่อนไหว และความรู้ความเข้าใจอื่นๆ โดยคุณแม่สามารถฝึกทักษะนี้เช่น การเล่นพายเรือแจว บนผ้าห่มหรือรถของเล่น เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
- Bilatetal ทักษะการใช้มือทั้งสองข้างร่วมกัน ฝึกโดยให้ลูกหัดทำขนมแล้วใช้มือจับไม้บดทั้งสองข้างเพื่อบดนวดแป้ง เมื่ออายุเข้าช่วงวัย 2-3 ปี ลูกก็จะแสดงมือข้างที่ถนัดออกมาให้เห็นผ่านการหยิบจับเขียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่างๆ และอายุ 5-6 ปี ก็จะแสดงมือข้างที่ถนัดอย่างชัดเจน
- Posture ลูกจะนั่งเขียนได้ ต้องสามารถจัดวางร่างกายให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม และรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะนั่งและเคลื่อนไหว
- Proximal control การควบคุมการทำงานของแขนและไหล่ให้มั่นคงอยู่ในตำแหน่งทิศทางเหมาะสม เพื่อให้ข้อมือ นิ้วมือ หยิบจับ เขียนได้ดี ดังนั้นถ้าเด็กที่ข้อต่อหัวไหล่หรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงก็จะส่งผลต่อการเขียนได้ เช่น เด็กนั่งได้ไม่นาน ลุกเดินบ่อย หรือล้าง่าย
- Vitual perception and Visual motor integration โดย Vitual perception คือ กระบวนการทั้งหมดที่ตอบสนองต่อการรับการแปลความหมายและการทำความเข้าใจต่อสิ่งเร้าทางสายตา ซึ่งมีองค์ประกอบหลายด้าน ยกตัวอย่างด้านที่เกี่ยวกับการเขียน เช่น
-
- figure ground การแยกภาพวัตถุออกจากพื้นหลังได้ เช่น ลูกสามารถหาคำที่ต้องการแยกออกจากพื้นกระดาษได้
- visual clorure แยกแยะวัตถุได้ แม้ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เช่น ลูกคัดลอกงานจากกระดานได้ถึงแม้ต้องมองไกลก็สามารถมองออกว่าคือตัวอะไร
- position in space การรับรู้ตำแหน่งทิศทางของวัตถุกับสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เข้าใจความหมาย ใน นอก บน ล่าง ว้าย ขวาเช่น ลูกสามารถเขียนตัวอัการที่มีความใกล้เคียงกันได้อย่างถูกต้อง อย่า ถ-ภ ด-ค
ส่วน Visual motor integration เป็นการผสานการรับรู้ทางสายตาร่วมกับการเคลื่อนไหว ทำให้เด็กสามารถคัดลอกตัวเลขและตัวอักษรได้ถูกต้อง เช่น เด็กมองดูรูปทรงตัวอักษร แล้วแปลความหมายว่าคือตัวอะไร จนเขียนออกมาได้
- เด็กพร้อมจับดินสอได้เมื่อไหร่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ ทำไงดี?
- ชวนลูกเล่น วาดรูปสอนเขียนเลข แบบสนุกได้ประโยชน์
- เทคนิคการฝึกสอนลูกวัยอนุบาลหัดเขียนชื่อตัวเอง
- Kinesthesia เป็นการรับรู้ถึงน้ำหนักของวัตถุและทิศทางการเคลื่อนไหวข้อต่อและระยางค์ต่างๆ เป็นความรู้สึกทางกาย ช่วยให้ลูกสามารถกะหรือปรับแรงในขณะเขียนได้ ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนไหว ขณะเขียนตัวอักษร ซึ่งหากลูกมีปัญหาด้านนี้จะทำให้จับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลการเขียนล่าช้า กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านนี้ เช่น
-
- ใช้นิ้วลากเส้นประ แล้วใช้ดินสอสีเขียนอีกครั้ง
- ใช้นิ้วเขียนตัวอักษนในอากาศ /ทราย หรือบนถุงซิปที่ใส่แป้งเปียก
- ใช้หลอดดูดน้ำนำมาสร้างเป้นตัวอักษร
- Motor planning การเขียนแต่ละตัวต้องการความสามารถในการวางแผนการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ถ้า Kinesthesia ไม่ดี ก็จะมีความสัมพันธ์กับการวางแผนการเคลื่อนไหวที่ไม่ดีตามมา โดยการวางแผนการเคลื่อนไหวจะส่งผลต่อความสามารถของเด็กในการวางแผน ลำดับ และเขียนตัวอักษรที่ต้องการออกมาได้ เพราะการวางแผนจำเป็นต่อการกระทำการเคลื่อนไหวที่ไม่คุ้นเคยได้ จึงสำคัญเมื่อจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ เรียนรู้ในครั้งแรก โดยกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านนี้ได้ เช่น การเต้นประกอบเพลง , เล่นเป่ายิ้งฉุบ หรือการทำเลียนแบบท่าทางของมือ
- Psychosocial สภาวะอารมณ์ จิตใจ แรงจูงใจในการเขียนก็สำคัญเหมือนกัน ยิ่งเด็กที่มีความยากลำบากในการเขีย มักขับข้องใจ มีความรู้สึกในคุณค่าตนเองต่ำลง ทำให้หลีกเลี่ยงที่จะเขียน ไม่อยากเขียน ดังนั้น พ่อแม่หรือคุรครู ต้องพยายามเข้าใจเด็กๆก่อน โดยวิเคราะห์หาปัญหาที่เป็นสาเหตุ แล้ว ฝึกลูกเขียนหนังสือ แบบเข้าใจ ไม่กดดัน พร้อมให้กำลังใจเสมอ
- Cognition ทักษะสุดท้ายในการฝึกลูกเขียนหนังสือ คือเรื่องความคิดความเข้าใจ เมื่อลูกขึ้นชั้นเรียนสูงขึ้น ต้องอ่าน เขียน สะกดคำ โดยอาสัยการทำงานของสมองหลายส่วน จึงต้องมีทักษะความรู้ความเข้าใจด้วย เช่น การจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภท, การมีสมาธิ สนใจที่จะทำงานได้สำเร็จ, ความจำในการเก้บข้อมูลเพื่อดึงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ EF ทักษะของสมองขั้นสูงที่ใช้ในการจัดการควบคุมตัวเอง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการฝึกลูกเขียนหนังสือ พ่อแม่ควรรู้ก่อนด้วยว่าเด็กบางคนอาจจะเขียนหนังสือได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน แต่ช่วงอายุของพัฒนาการจะไม่ห่างกันมาก ถ้าต้องการให้ลูกใช้กล้ามเนื้อแขนและมือมากกว่า ก้ควรฝึกให้ลูกหัดหยิบจับเปิด ปิด สิ่งของบ่อยๆ เช่น หยิบข้าวกินเอง เปิดฝากระบอกหรือขวดน้ำ ฉีกกระดาษ เก็บของเล่น ถ้าลูกทำแบบนี้บ่อยๆพัฒนาการของลูกไปเร็วแน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก ครูน้ำฝน เจ้าของเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก และ เพจ Mor-Online
www.kombinery.com
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่รูปด้านล่างได้เลย ⇓
ลูก 5 ขวบ อ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี? มาช่วยลูกให้ “อ่านออก” กัน
5 ข้อดีของ การเขียนบันทึกประจำวัน ยิ่งเขียน ยิ่งฉลาด โดย พ่อเอก