แม่จ๋าหนูเครียด! อาการแบบนี้แสดงว่าลูกเข้าสู่ โรคเครียด - Amarin Baby & Kids
โรคเครียด ในเด็ก ซึมเศร้า

แม่จ๋าหนูเครียด! อาการแบบนี้แสดงว่าลูกเข้าสู่ โรคเครียด

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเครียด ในเด็ก ซึมเศร้า
โรคเครียด ในเด็ก ซึมเศร้า

โรคเครียด ใช่ว่ามีแต่ในผู้ใหญ่ พ่อแม่จ๋า!รู้ไหมเด็กก็เครียดเป็นนะ อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเครียดพ่อแม่ควรสังเกตและเข้าใจความเครียดของเด็กส่งผลต่อพัฒนาการได้

แม่จ๋าหนูเครียด! อาการแบบนี้แสดงว่าลูกเข้าสู่ โรคเครียด

จิตแพทย์เผยสถิติเด็กเครียดในปัจจุบันมีมากถึง 30 % แจง 10% อยู่ในระดับที่รุนแรง ชี้เหตุเด็กเครียดเนื่องจากถูกดุด่า ตำหนิ เห็นพ่อแม่เครียดเลยซึมซับ ระบุด้านครูสั่งการบ้านเยอะและยาก มีส่วนทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคเครียด แนะ 4 วิธีป้องกัน หมั่นสังเกตอาการ ไม่กดดัน ดุด่าหรือตำหนิ และควรเข้าใจมีเวลาอยู่กับลูกทุกวัน

ที่มา : สสส.
เป็นเด็กไม่ได้อารมณ์ดีตลอดเวลานะ โรคเครียด ในเด็ก
เป็นเด็กไม่ได้อารมณ์ดีตลอดเวลานะ โรคเครียด ในเด็ก

กรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 ม.ค.2563-30 ก.ย. 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ชี้วัยรุ่นเครียดสูง เข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น ยังพบบางรายทะเลาะกันในครอบครัวนำไปสู่การฆ่าตัวตายนางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า เด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเชื่อว่านี่เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิตต้องดูแลติดตามระยะยาว แต่ผู้มีปัญหาส่วนหนึ่งปกปิดไว้ เพราะถูกตีตราว่าเป็นเรื่องน่าอาย เมื่อต้นสัปดาห์นี้ยูนิเซฟได้เผยแพร่รายงาน The State of the World’s Children 2021; On My Mind: promoting, protecting and caring for children’s mental health ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเด็กอย่างน้อย 1 ใน 7 คนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปี ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาความรัก และภาวะซึมเศร้า

ที่มา : www.js100.com

จากรายงานสภาวะการณ์ปัจจุบันข้างต้น จะเห็นได้ว่า โรคเครียด กับเด็กไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เมื่อสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และค่านิยมของสังคมมีความแปรเปลี่ยนไป จากสังคมที่เด็กค่อย ๆ ใช้เวลาเรียนรู้ และเติบโตไปพร้อมกับวัย และพัฒนาการทางร่างกายของเขา กลับต้องมาเผชิญกับการแข่งขัน รีบเร่ง และก้าวกระโดดของพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่เด็กต้องเรียนรู้ให้เร็ว และไวกว่าพัฒนาการจริงของตัวเองจะตามทัน

นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สังคมเราทุกวัน เจอข่าวคราวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย การหลงผิดของเด็ก ๆ มากขึ้น และลดอายุเด็กที่กระทำผิดน้อยลงไปทุกที

สังคมที่เร่งรีบ ปล่อยเด็กไว้กับสื่อตลอดเวลา ขาดสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว
สังคมที่เร่งรีบ ปล่อยเด็กไว้กับสื่อตลอดเวลา ขาดสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว

ตอนนี้เด็กไม่มีความสุขกับชีวิต จนถึงขั้นอยากตาย ตอนพ่อแม่พามาหาหมอคืออาการไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ และทำทุกวิถีทางที่ไม่ต้องไปโรงเรียน พ่อแม่เองก็ไม่เข้าใจ หมอซักถามไปเรื่อยๆ พบว่าอารมณ์เด็กเศร้ามาก รู้สึกไม่รู้จะอยู่ไปทำไม? เขาอยากตาย”

ปัจจุบันเด็กที่ต้องมาพบจิตแพทย์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอายุน้อยลงเรื่อยๆ อายุน้อยสุดตอนนี้ 3 ขวบ ขอบพระคุณ หมอกอล์ฟ พญ.กุลนิดา เต็มชวาลา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น”

ที่มา : ข้อความบางส่วนจาก เฟซบุ๊ก Paween Prasertsuk

ความเครียดในเด็ก แบ่งเป็น 2 ระดับ

ระดับที่ 1 ภาวะเครียดฉับพลัน (Acute Stress) จะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ

ระดับที่ 2 ภาวะเครียดเรื้อรัง (Chronic Stress) จะทำให้เด็กต้องทุกข์ทรมานเป็นเวลานานๆ และอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเคมีในสมอง (Brain Chemistry) และทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง

แม่จ๋า! สังเกตหนูหน่อยอาการแบบนี้แสดงว่าลูกกำลังเครียด

การสังเกตเด็กที่เครียดอาจจะยาก แต่สามารถพบได้จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรมและทางร่างกาย เช่น

เด็กเล็ก ก็เครียดเป็นนะ
เด็กเล็ก ก็เครียดเป็นนะ ขอขอบคุณภาพจาก www.unicef.org/thailand
  • ร้องไห้และกรีดร้องบ่อยครั้ง
  • พฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อดึง เกเร
  • พัฒนาการในการเรียนรู้เกิดความบกพร่องและ/หรือลดลง
  • ทักษะการพูดอ่อน พูดติดอ่าง
  • ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความวิตกกังวล หรือมีความกลัว
  • แยกตัวจากเพื่อน เล่นน้อยลง
  • ขี้หงุดหงิด ขี้แย
  • กลัวการแยกจากคนหรือสิ่งของ
  • ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ บ่นปวดศรีษะ
  • น้ำหนักน้อยหรือตกเกณฑ์และไม่อยากอาหาร
  • ปวดท้อง หรือมีปัญหาในการย่อยอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท
  • ฝันร้าย

นอกจากนี้ ยังรวมถึงพฤติกรรมถดถอย เช่น ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว) ที่เด็กเคยทำได้เองแล้วแต่กลับเรียกร้อง ร้องขอให้พ่อแม่ช่วย หรือปฏิเสธที่จะทำด้วยตัวเอง หรือการกลับมามีปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น

อ่านต่อ>> วิธีลดความเครียด และวิธีป้องกันไม่ให้ลูกเครียดทำอย่างไร คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up