เมื่อลูกสงบแล้วค่อยเข้าไปคุย
หลายครอบครัวพลาดเมื่อเข้าไปปลอบตอนลูกกำลังปรี๊ดแตกถึงขีดสุด ..ลูกวีนก็เหมือนรถเบรกแตก หากคุณเข้าไปขวางก็จะเกิดการประทะกันได้ ต้องรอให้อารมณ์เย็นก่อนสักพัก แล้วค่อยเข้าไปเคลียร์ว่า “โอเคไหมคะ แม่รู้แล้วว่าหนูโกรธ แล้วหนูทำแบบนี้มันรู้สึกดีไหมคะ? หรือหนูก็ยังโกรธอยู่ดี” “หนูเก่งมากเลยนะคะที่ไม่ร้องโวยวาย แม่ภูมิใจในตัวหนูมากๆ เลย” “เก่งมากเลยจ้ะ แม่ดีใจจังที่เข้าใจว่าเราต้องไปกันต่อ โอเคไม่ร้องโวยวายแล้วนะ”
ลูกไม่สามารถระงับอารมณ์โกรธได้เลย
ในกรณีที่เด็กยังกรีดร้อง โวยวายและทำร้ายตัวเองอย่างหนัก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็เรียนรู้วิธีแก้ปัญหามานับร้อยนับพันแล้วแต่ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมของลูกได้ อย่ารังเกียจที่จะพาเด็กไปพบกับจิตแพทย์เด็กค่ะ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะช่วยประเมินอาการเบื้องต้นและรักษาได้เร็วขึ้น เคยมีเคสที่เด็กสับสนจากการเลี้ยงดูสลับกันระหว่างคุณตาคุณยาย และคุณพ่อคุณแม่ เพราะที่บ้านวางกฎไว้ไม่เหมือนกันแล้วเด็กมีอาการสับสนเมื่อต้องปรับตัว แต่มาพบคุณหมอได้เร็ว คุณหมอจึงช่วยแนะนำได้ค่ะ
พบเห็นเหตุการณ์รุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่อยู่กับลูกท่ามกลางสถานการณ์รุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นมีคนทะเลาะกันอยู่กลางถนน อยู่ในร้านอาหาร หรือดูโทรทัศน์ ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการสอน ฟังความคิดเห็นของลูกว่าเขารู้สึกอย่างไร ถ้าลูกคิดตอบในลักษณะรุนแรง ผู้ปกครองอย่างเราจะได้รีบปรามกันทันค่ะ
การจัดการอารมณ์ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรสอนกันตั้งแต่เด็กๆ ไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไรก็ลองแลกเปลี่ยนทัศนคติกับคุณพ่อคุณแม่บ้านอื่นๆ กันบ้าง หรือติดตามอ่านเพจ AMARIN Baby & Kids มีสาระดีๆ และมีครอบครัวน่ารักมาแบ่งปันข่าวสารกันเป็นประจำค่ะ^^
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ขอบคุณที่มา Infographic จาก : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์เด็ก , เพจ “เข็นเด็กขึ้นภูเขา”