เทคนิคการเลี้ยงลูก ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ - Amarin Baby & Kids
เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

Alternative Textaccount_circle
event
เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”
เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

งาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 24 จัดเสวนาขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าไบเทคบางนา วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยเชิญผู้มีประสบการณ์ทั้งในฐานะผู้ปกครองและคุณครูดูแลเด็กเล็กอย่าง ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร (ครูหม่อม) มาบอกต่อ เทคนิคการเลี้ยงลูก อย่างคนรุ่นใหม่ ให้ลูกเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

“วินัยเชิงบวก” กุญแจสำคัญเพื่อพัฒนาเด็ก

ครูหม่อมเปิดประเด็นถึง “วินัยเชิงบวก” ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก โดยรากฐานของวินัยเชิงบวกคือสื่อสารโดยมีเป้าหมายในใจ  สื่อสารให้เด็กเรียนรู้วิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยพ่อแม่ไม่ต้องใช้ความรุนแรงหรือวิธีการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของเด็ก

พ่อแม่หลายท่านตั้งคำถามถึงเวลาที่เหมาะสมกับการนำวินัยเชิงบวกมาใช้ แท้ที่จริงแล้วพ่อแม่สามารถเริ่มต้นฝึกวินัยเชิงบวกได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ โดยการเริ่มคิดว่าเราจะเลี้ยงลูกอย่างไรและจะสื่อสารกับพวกเขาอย่างไรตั้งแต่วินาทีที่เรารู้ว่าตั้งครรภ์ 

สิ่งสำคัญของการใช้วินัยเชิงบวก คือเน้นที่เป้าหมายให้เด็กมีความประพฤติดีและมีความสุข ภายในกรอบปฏิบัติของพ่อแม่ที่มีเป้าหมายเป็นของตนเองว่าจะสื่อสารกับลูกในลักษณะที่เป็นบวกและสร้างสรรค์ โดยไม่คำนึงว่าพฤติกรรมของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

 

เมื่อไม่ได้ใช้วินัยเชิงบวกแต่ต้น พ่อแม่ปรับพฤติกรรม

เทคนิคการเลี้ยงลูก ด้วยการตี การสอนเชิงลบอาจถูกนำมาใช้กับเราเมื่อเรายังเป็นเด็ก และเราอาจใช้มันในฐานะพ่อแม่ต่อไปโดยไม่รู้ตัว เราต้องตระหนักว่าวินัยเชิงลบสามารถสร้างรูปแบบเชิงลบต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูก สำหรับพ่อแม่ที่เคยถูกตีสอน หรือใช้วิธีการตีสอนมาก่อน อาจต้องใช้เวลาสักระยะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ผลระยะยาวก็คุ้มค่ากับความพยายามอย่างแน่นอน

เมื่อใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในช่วงแรก หลังไม่ได้ใช้กับเด็กมาตั้งแต่ต้น จะยืนยันผลดีว่าเกิดขึ้นกับลูก ๆ ของเรา อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ 

การใช้วินัยเชิงบวกจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องคงเส้นคงวาและยืนหยัดในความพยายาม ตัวอย่างเช่น หากเรากำลังพยายามลดพฤติกรรมเชิงลบของเด็ก นอกจากเราจะอดทนไม่ตำหนิต่อว่าหรือตีลูก เราต้องชมเชยเมื่อพวกเขาแสดงพฤติกรรมที่ดี ต้องซื่อสัตย์และจริงใจในการชื่นชมเด็ก ระมัดระวังเพราะเด็กจะรู้สึกได้อย่างรวดเร็วเมื่อเราไม่จริงใจ หากเด็กเห็นการเปลี่ยนแปลงของพ่อแม่และเข้าใจวิธีการของเรา เด็กจึงจะปรับพฤติกรรมเป็นเชิงบวกให้เห็นผล 

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้จะทำให้เด็กเปิดใจให้ผู้ปกครอง ไม่ใช่ว่าเป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว เด็กจะเปิดใจให้โดยธรรมชาติ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพ่อแม่และลูก สามารถสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจ ทำให้เด็ก ๆ เข้าหาเราเพื่อปรึกษาพูดคุยได้สะดวกใจเขาเมื่อเขามีปัญหาหรือข้อกังวลใด ๆ 

เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

พฤติกรรมตามพัฒนาการ ไม่ใช่ปัญหาทางพฤติกรรม

เมื่อสื่อสารกับลูก ๆ ของเรา การพิจารณาอายุและการพัฒนาการตามวัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะผู้ปกครอง เราอาจกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมและพัฒนาการของบุตรหลาน แต่ผู้ปกครองต้องแยกแยะได้ระหว่างปัญหาพฤติกรรม กับการพัฒนาการตามวัย 

เมื่อลูก ๆ ของเราในวัยเด็กเล็กเริ่มแสดงความสนใจที่จะมีแฟน สิ่งสำคัญคือต้องคว้าโอกาสที่จะพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในทางบวกและสร้างสรรค์ เราต้องหลีกเลี่ยงการโต้ตอบด้วยการตัดสินหรือไม่เห็นชอบ เลือกใช้ท่าทีเป็นการเข้าหาอย่างเปิดเผยและอยากรู้อยากเห็นแทน ไม่ตัดสินใจในทันทีก่อนเองว่าสิ่งใดดีที่สุดสำหรับลูก แต่เน้นว่าเราควรมีส่วนร่วมในการสนทนา ถามคำถาม และแบ่งปันประสบการณ์และค่านิยมของเราเอง

การสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างและไม่ตัดสินกัน เราสามารถช่วยลูกๆ พัฒนาทัศนคติที่ดีต่อความสัมพันธ์และเรื่องเพศได้ ความต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์ของผู้อื่น แม้จะเป็นในรูปแบบอยากคบเป็นแฟนของเด็ก ๆ แต่นั่นจัดเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์และความคิด ไม่จัดเป็นปัญหาทางพฤติกรรม

อีกกรณีหนึ่ง สมมติลูกอายุ 4 ขวบ ร้องไห้แล้วฟุบหน้าลงพื้น หรือออกอาการที่แสดงความไม่พอใจ ต้องเข้าใจก่อนว่าพฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กตามปกติ พ่อแม่ไม่ควรเพิกเฉยต่ออารมณ์ของเด็ก แต่ตรวจสอบความรู้สึกของพวกเขา ใช้การพูดคุยเชิงบวกช่วยให้เด็กผ่านอารมณ์นั้นไปได้ และค่อย ๆ เรียนรู้การแสดงออกที่เหมาะสม

 

ปัญหาพฤติกรรมจากพัฒนาการทางอารมณ์ที่ผิดปกติ

ในฐานะครูหม่อมมีประสบการณ์ทำงานกับเด็กมานับสิบ ๆ ปี ได้เห็นว่าปัญหาพฤติกรรมเกิดขึ้นได้จากพัฒนาการทางอารมณ์ที่ผิดปกติ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

  1. เด็กที่ระงับอารมณ์ไว้ เก็บกดอารมณ์ มักทนทุกข์ทรมานอย่างเงียบ ๆ พวกเขาสะสมอารมณ์ต่าง ๆ ไว้มากมาย แต่ไม่แสดงออก
  2. เด็กที่มีความอ่อนไหวสูงและตอบสนองอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าแม้แต่น้อย พวกเขามักจะปลดปล่อยอารมณ์ออกมาทันที ซึ่งบางครั้งอาจดูไม่มีเหตุผลสำหรับคนอื่น เมื่อพวกเขาโกรธมาก การควบคุมและทำความเข้าใจอารมณ์ของตนจะกลายเป็นเรื่องซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการกรีดร้อง

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครอง ให้ ‘ทำใจ’ กับอารมณ์ของลูก เน้นสอนหรือแบ่งปันให้พวกเขารู้ทันและจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ไม่เน้นตำหนิให้ลูกหยุดแสดงพฤติกรรม แต่สนับสนุนให้ลูกแสดงอารมณ์ออกมาแล้วก็สอน ไม่ควรคิดคะเนพฤติกรรมตอบสนองของลูกในแต่ละสถานการณ์และออกปากห้ามไม่ให้แสดงอารมณ์ก่อน เพราะจะไม่ดีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก

เทคนิคการเลี้ยงลูก “การเพาะเลี้ยงต้นกล้า (ลูกน้อย) ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษต่อสังคม”

วินัยเชิงบวก กับการบอกว่า ‘เมื่อไร อะไรได้’

ในช่วงวัยประมาณ 4 ขวบ พ่อแม่จะเจอสถานการณ์ที่ลูกแสดงออกว่าอยากซื้อของเล่น หากพ่อแม่สื่อสารให้เด็กรู้ว่าพวกเขาสามารถซื้อของต่าง ๆ ได้เมื่อไร กำหนดเวลาไว้ ไม่ได้ให้เมื่อร้องขอทันที จะทำให้พวกเขาคิดตริตรองมากขึ้นเกี่ยวกับของที่อยากได้ พวกเขาได้ฝึกฝนการใช้กระบวนการคิด ในทางกลับกัน ถ้าเด็ก ๆ ไม่ได้ถูกสอนให้รู้จักการรอ หรือลองขอแล้วมีโอกาสได้ตลอด เพราะพ่อแม่อยากตัดรำคาญ พวกเขาอาจจะเรียนรู้ว่า พวกเขามีสิทธิ ‘ฟลุ๊ค’ ได้ของ ไม่ได้เรียนรู้ว่า ‘เมื่อไร อะไรได้’ แต่เป็นถ้า ‘ลองขอดู เดี๋ยวก็คงได้’ 

 

การมีตัวตน รับรู้ถึง ‘เซลฟ์’ ในตัวเด็ก

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของพัฒนาการของเด็กคือ เด็กรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เด็กเรียนรู้ที่จะรับรู้และแสดงความรู้สึกและความคิดของพวกเขา แทนที่จะถูกชักจูงจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว 

พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกพัฒนา ‘ตัวตน’ หรือ ‘เซลฟ์’ ขึ้นมาได้ด้วยการรับฟังพวกเขาและกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น บางครั้งในฐานะพ่อแม่ เราอาจหมกมุ่นอยู่กับการสอนมากเกินไป จนลืมสังเกตและอ่านพฤติกรรมของลูก เราควรระมัดระวังที่จะไม่ตีตราลูกของเราว่ามีลักษณะก้าวร้าวหรือเป็นลักษณะเชิงลบอื่น ๆ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กตีเด็กคนอื่น เราควรพยายามเข้าใจบริบทและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนั้น แทนที่จะลงโทษเด็กในทันที เพราะถ้าผู้ใหญ่ไม่ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้ เมื่อเด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย พวกเขาจะพัฒนาพฤติกรรมเชิงลบเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ใช่แค่แสดงอารมณ์สู้กลับ แต่รวมไปถึงการตอบสนองในรูปแบบของถอยหนีที่คล้ายสมยอม หรือการทำหูทวนลม

หรืออีกกรณีตัวอย่าง ถ้าเด็กนั่งกับเราและบอกว่าอิ่มแล้วหลังจากกินข้าวไปแค่ห้าคำ เราก็ควรฟังและเคารพการตัดสินใจของเขา อาจให้พวกเขาได้มีโอกาสตักข้าวเองตามปริมาณที่เขากินหมด และอาจพูดคุยเพื่อให้เขาเรียนรู้หากเขาตักมาเองมากเกินไปในบางครั้ง อย่างกรณีที่ตักข้าวมาเยอะเพราะเห็นกับข้าวที่ตัวเองชอบ

หากผู้ปกครองต้องการสอนให้เด็กกินอาหารให้หมด ก็ควรสื่อสารเป้าหมายกับพวกเขา พูดให้พวกเขาเข้าใจถึงความสำคัญที่ต้องกินข้าวให้หมด แต่รักษาสมดุลของการพูดคุย ไม่เน้นไปที่การบังคับในตอนท้ายให้ลูกกินมากเกินไปกว่าที่เขารู้สึกว่าพอแล้วหรือมุ่งทำให้รู้สึกผิดกับการรับประทานอาหารไม่หมด

พ่อแม่ต้องพึงระวังถึงแรงกดดันทางวัฒนธรรมและสังคมที่สามารถมีอิทธิพลต่อทัศนคติ อย่างเช่นในเรื่องการกินอาหาร เราอาจมีความเชื่อว่าเด็กต้องกินอาหารในปริมาณที่พอเหมาะทุกมื้อเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ความคิดนี้อาจนำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงลบ หลังจากโดนหลอกให้กินบ้าง บังคับให้กินบ้าง ลูกอาจรู้สึกสูญเสียตัวตน หรือ ‘เสียเซลฟ์’ และพัฒนาพฤติกรรมเชิงลบ การที่ลูกยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการ อย่างการกินอาหารจนหมด หรือการสมยอมเสมอ อาจเป็นเพียงการปกป้องตัวเองเพื่อไม่ให้ถูกดุ แต่ลูกไม่รู้สึกสบายใจ และอาจพัฒนาเป็นปัญหาทางพฤติกรรม

  • หากเด็ก ๆ ใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรอธิบายอย่างใจเย็นว่าเหตุใดคำพูดที่พวกเขาใช้จึงไม่เป็นที่ยอมรับ และสนับสนุนให้เด็ก ๆ หันไปใช้ภาษาเชิงบวกแทน
  • หากลูกของเราอารมณ์เสีย พ่อแม่สามารถพูดคุยกับพวกเขาและช่วยพวกเขาหาวิธีสงบสติอารมณ์
  • หากลูกของเราตีเพื่อนด้วยความโกรธ เราต้องช่วยเขาจัดการกับอารมณ์ของเขา และอธิบายอย่างใจเย็นว่าเหตุใดการตีเพื่อนจึงไม่ใช่พฤติกรรมที่ยอมรับได้ และกระตุ้นให้ลูกของเราขอโทษเพื่อน

ทุกครั้งที่เราเห็นลูกของเราประพฤติตัวไม่เหมาะสม เราควรพูดคุยกับพวกเขาเสมออย่างมีเหตุมีผล และต้องระมัดระวังคำพูดและการกระทำของเรา เพราะอาจส่งผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก เราควรหลีกเลี่ยงการทำให้ลูกอับอายต่อหน้าคนอื่น เพราะจะไปทำลายความนับถือตนเองและความมั่นใจของพวกเขาได้

การพัฒนาตัวตน หรือเซลฟ์ พ่อแม่ต้องแสดงให้ลูกเห็นว่าพวกเขามีค่าและเป็นที่รัก โดยไม่คำนึงถึงความสามารถหรือความสำเร็จของพวกเขา เราสามารถกระตุ้นให้บุตรหลานสำรวจความสนใจและความสามารถของตนเอง และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะใหม่ ๆ เน้นรับฟังความรู้สึกของลูกและให้การสนับสนุนมากกว่าการตัดสิน 

วิธีเลี้ยงลูก

ผู้ปกครอง คือ ผู้ประคอง

การเลี้ยงดูลูกเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างพ่อแม่ ต้องทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังต้องขอการสนับสนุนจากผู้อื่น เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเราในเส้นทางการเป็นพ่อแม่ ด้วยการร่วมมือกัน เปิดรับการเรียนรู้และเติบโตของลูก เราสามารถเลี้ยงลูกให้เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจและมีความรับผิดชอบ

การปฏิเสธลูก อาจสั่นคลอนความภาคภูมิใจและความสุขสงบทางอารมณ์ของเด็ก ดังนั้น ผู้ปกครองต้องหลีกเลี่ยงการปฏิเสธลูกหลาน หมั่นเอาใจใส่และตอบสนองต่อความต้องการและอารมณ์ของลูก

ในบางครอบครัว มีคนหลายชั่วอายุคนอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ควรช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นข้ามรุ่น ลูก ๆ ของเราฉลาดและมักจะชอบความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดี อาจจะเรียนรู้ที่จะสนิทสนมหรือเข้าหาสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ พ่อแม่ควรเอาใจใส่และสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์อันดีดังกล่าว แทนความกังวลว่าเด็กจะถูกตามใจ 

ผ่านความสัมพันธ์ในครอบครัว เด็กจะได้เรียนรู้ว่าคนไหนที่เขาเข้าหาและสนิทสนมได้ และขอบเขตการร้องขอสิ่งต่าง ๆ จากคนรอบข้างแตกต่างกัน เป็นระเบียบชีวิตอย่างหนึ่งที่เขาได้เรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาด้านมนุษยสัมพันธ์

ในการเลี้ยงดูเด็ก ๆ เป็นปกติที่จะทำผิดพลาดได้ แต่เมื่อไตร่ตรองถึงข้อผิดพลาด พ่อแม่หรือผู้ปกครองในครอบครัวต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ หากรู้สึกลังเลที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ เราอาจถูกครอบงำด้วยอารมณ์ด้านลบและล้มเลิกก่อนที่จะได้เริ่มด้วยซ้ำ สิ่งสำคัญคือต้องผลักดันความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ดี สิ่งใหม่ ๆ และขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เลี้ยงลูกให้มีความสุข กับวิธีคิดใหม่เมื่อคุณคิดว่าเป็นพ่อแม่ไม่ดีพอ

5 เคล็ดลับ วิธีเลี้ยงลูกให้เชื่อฟัง ทำตามด้วยใจ

แม่ต้องมี!! ของกิน ของใช้เด็ก 5 ไอเทมช่วยเลี้ยงลูกให้แข็งแรงเติบโตสมวัย

วิธีเลี้ยงลูกให้ได้ดี ต้องหยุด เปรียบเทียบ ลูกกับคนอื่น!

กุญแจสำคัญ 3 ขวบ ปีแรก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ พัฒนาการดี สมองดี มีความสุขไปจนโต

เลี้ยงลูกอย่างไร? แบบไหนเรียกกว่า สปอยล์

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกให้เป็น ศิลปินเด็ก รุ่นจิ๋ว “ตินตินกับติโต้” Studio Little Hands

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up