เผยผล ทดสอบ IQ เด็กยุคใหม่ต่ำกว่าพ่อแม่!! - Amarin Baby & Kids
IQ

เผยผล ทดสอบ IQ เด็กยุคใหม่ต่ำกว่าพ่อแม่!!

Alternative Textaccount_circle
event
IQ
IQ

นักประสาทวิทยาชาวฝรั่งเศสเผยบทความกล่าวถึง อันตรายของหน้าจอในโลกยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อความฉลาดของเด็กยุคนี้ จากผล ทดสอบ IQ เผยระดับไอคิวต่ำกว่ารุ่นพ่อแม่

เผยผล ทดสอบ IQ เด็กยุคใหม่ต่ำกว่าพ่อแม่!!

Michel Desmurget นักประสาทวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติฝรั่งเศส และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาที่เคยทำงานกับสถาบันชั้นนำอย่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา เขาได้ประพันธ์หนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับผลกระทบของหน้าจอที่มีต่อสุขภาพ และพัฒนาการทางสติปัญญา โดยเฉพาะในเด็ก เขาได้ชี้ให้เห็น และต่อต้านโลกการศึกษาในปัจจุบันที่ส่งเสริมการใช้หน้าจอ เพื่อการศึกษาของเด็กที่อายุน้อย ทำให้พวกเขาได้รับอันตรายต่อการพัฒนาทักษะที่ส่งเสริมทางด้านพัฒนาการของเด็ก ๆ เหล่านั้น ผ่านบทความที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือหลากหลายเล่ม เช่น

  • TV Lobotomy – The Scientific Truth About The Effects of Television (ตีพิมพ์ในปี 2011) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลเสียของโทรทัศน์ที่มีต่อสุขภาพและพัฒนาการทางสติปัญญาโดยเฉพาะในเด็ก
  • La fabrique du crétin digital. The factory of the digital jerk. The dangers of screens for our children .(ตีพิมพ์ในปี 2019) อันตรายของหน้าจอสำหรับเด็กของเรา

โดยประเด็นที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในหนังสือเล่มใหม่ของเขาคือ คนในยุคดิจิทัล หรือเด็กที่เกิดหลังการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมแล้ว มีระดับไอคิวต่ำกว่าพ่อแม่ของพวกเขา ซึ่งโดยปกติจากที่ระดับไอคิวของคนในประเทศต่าง ๆ เคยเพิ่มขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น แต่ตอนนี้แนวโน้มนี้กำลังเปลี่ยนไปตรงกันข้าม นับเป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับผู้ปกครองอย่างเรา

ข้อมูลอ้างอิงจาก fr.wikipedia.org
ผล ทดสอบ iq ต่ำ สัมพันธ์กับการติดจอในเด็ก
ผล ทดสอบ IQ ต่ำ สัมพันธ์กับการติดจอในเด็ก

Michel Desmurget เปรียบสมองคนเราเหมือนดินน้ำมัน สมองของเด็กและวัยรุ่นจะยังมีความอ่อนนุ่ม ปั้นง่าย แต่พอแก่ตัวขึ้น มันจะเริ่มแห้งและเปลี่ยนรูปร่างได้ยากขึ้น

นักประสาทวิทยารายนี้ บอกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กอายุ 2 ขวบใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงไปกับหน้าจอ และราว 5 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 8 ขวบ ส่วนวัยรุ่นใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน

“นั่นหมายความว่าก่อนจะอายุ 18 ปี เด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่หน้าจอเพื่อความบันเทิงเทียบเท่ากับ 30 ปีในโรงเรียน หรือเทียบเท่ากับการทำงานเต็มเวลานานถึง 16 ปี …นี่ถือว่าบ้าไปแล้วและเป็นการไร้ความรับผิดชอบ [ของผู้ใหญ่] มาก ๆ”

ข้อมูลอ้างอิงจาก BBC

ระดับไอคิว ของเด็กไทย

สำหรับสถานการณ์ของเด็กไทยเราก็มีสถิติที่ไปในทิศทางเดียวกัน โดยในปี 2559 สำรวจพบเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีระดับสติปัญญา หรือไอคิวเฉลี่ย 98.23 โดยระดับไอคิวเฉลี่ยมาตราฐานควรอยู่ที่ 90-110 และในบางจังหวัดของประเทศไทยก็พบว่าเด็กมีระดับไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่านี้อีกด้วย โดยได้ตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า ระดับไอคิวที่ลดลงอาจมีสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความฉลาดอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ ปัญหาการติดหน้าจอของเด็กในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งดิจิตอล และเทคโนโลยี ปัจจุบันทุกๆ บ้านมักจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาเลี้ยงลูก หรือตามใจลูกปล่อยให้อยู่กับสื่อเทคโนโยยี มือถือ แทบเล็ด ดูทีวีทั้งวัน แต่ทราบหรือไม่ว่า สิ่งเหล่านี้มีผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างมาก หากไม่กำหนดเวลาดูให้เหมาะสม โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ต่ำกว่า 2 ขวบ ยิ่งส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการของเด็กได้ โดยปัญหาที่พบ ได้แก่ เด็กออทิสติกเทียม เด็กสมาธิสั้น เป็นต้น

ระดับไอคิวของเด็กไทยจึงเป็นตัวชี้วัดอย่างดีในเรื่อง หน้าจอกับพัฒนาการในทุก ๆ ด้านของเด็ก ไม่เพียงแค่พัฒนาการทางด้านสติปัญญาเท่านั้น โดยทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำชี้แนะแก่พ่อแม่ในเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

พัฒนาการสะดุด ถ้าไม่หยุดสมาร์ทโฟน 

พัฒนาการสะดุด ถ้าไม่หยุดสมาร์ทโฟน
พัฒนาการสะดุด ถ้าไม่หยุดสมาร์ทโฟน

เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เพราะสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดกับจอ สื่อเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน  แท็บเล็ต หรือโทรทัศน์ อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ขัดขวางจินตนาการ ทำให้เด็กไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง  อีกทั้งยังได้รับรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีผลทำให้ระบบการทำงานของสมองบางส่วนเสียหายได้

แนวทางการใช้หน้าจอกับเด็ก

  • เด็กอายุแรกเกิด – 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการอยู่หน้าจอทุกชนิดอย่างจริงจัง การเสพสื่อผ่านจอของเด็กวัยนี้ นอกจากจะไม่มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของลูกแล้ว ยังเป็นการทำร้ายการพัฒนาของเซลล์สมองของลูกอีกต่างหาก แม้แต่การเปิดทิ้งไว้เฉย ๆ โดยที่เด็กไม่ได้ดู แต่หากเป็นพ่อดูบอล แม่ดูละคร ก็ทำให้พ่อแม่ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ไปอย่างน่าเสียดาย ยังมีคำสนับสนุนในเรื่องการห้ามเด็กดูจอก่อนอายุ 2 ปีจากแพทย์อีกหลาก ๆ ท่าน เช่น นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ได้กล่าวไว้ในเฟสบุ๊คของคุณหมอว่า
ก่อนจะถึง 2 ขวบ
คำแนะนำมิให้ดูหน้าจอใดๆ ก่อน 2 ขวบ เป็นคำแนะนำที่ชัดเจน ไม่มีข้อโต้แย้ง ตรงกันทั่วโลก
หน้าจอที่เราเลี่ยงได้คือคลิป ยูทู้บ ทีวี สมาร์ทโฟน ไอแพด
ที่เราเลี่ยงไม่ได้คือบิลบอร์ดบนถนน และวิดีโอคอลกับคนสำคัญ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ซึ่งก็ควรกำหนดเวลา
ผลรวมของทั้งหมดควรน้อยที่สุด
เพราะเซลล์สมองของทารกเปลี่ยนแปลงทุกวัน ยืดยาวทุกคืน แตะกันทุกวัน เป็นร่างแหประสาทขนาดใหญ่และซับซ้อนที่เกิดจากการมอง ฟัง แตะ สัมผัส เดิน วิ่ง ปีน ฯลฯ เพื่อรองรับการเรียนรู้ที่ลื่นไหลในวันหน้า
คือการเตรียมสมองที่ดีที่สุด
#development
หากจะมีเรื่องหนึ่งที่กุมารแพทย์และจิตแพทย์เด็กควรพูดตรงกันเสมอ และควรประสานเสียงให้ดังสู่สาธารณชน คือเรื่องนี้ ไม่ดูหน้าจอก่อน 2 ขวบ
  • เด็กอายุ 2-5 ปี ใช้หน้าจอได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยพ่อแม่ควรใช้สื่อให้เป็น เลือกโปรแกรมที่ดี และควรดูร่วมกับลูก พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่ดู ตั้งคำถาม และมีกติกาที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้ลูกรับสื่อผ่านจอตามลำพัง

เมื่อวันที่ 15 ก.ย.60 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการแถลงข่าวความร่วมมือเพื่อเด็กไทยคุณภาพดี 4.0 อย่าปล่อยให้จอเลี้ยงลูก ว่า ผลกระทบจากการใช้สื่อต่อพัฒนาการเด็กพบว่า การใช้จอไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ในการเลี้ยงลูกจะส่งผลกระทบต่อเด็กใน 4 ด้าน

ผลกระทบของจอ ต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก

  1. พัฒนาการทางด้านภาษา กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญาจะล่าช้า การให้เด็กเล็กดูหน้าจอ ซึ่งเป็นการปฎิสัมพันธ์เพียงด้านเดียว กล่าวคือ ลูกจะได้รับแต่ทักษะทางการฟัง แต่ไม่สามารถโต้ตอบได้ และในเชิงความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง เด็กก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ แนวโน้มพัฒนาการในเรื่องนี้จึงจะลดลง จากการศึกษามีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเด็กที่ใช้สื่อผ่านจอจะมีคะแนนพัฒนาการลดลงถึง 15 คะแนน

    อ่านหนังสือ ช่วยพัฒนาสมอง และภาษา
    อ่านหนังสือ ช่วยพัฒนาสมอง และภาษา
  2. ด้านพฤติกรรม จะพบพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น มีพฤติกรรมออทิสติก สื่อสารกับคนอื่นน้อย แม้ดูเหมือนขณะใช้สื่อ เด็กจะนิ่ง แต่เมื่อขออุปกรณ์คืน เด็กจะไม่ยอม เกิดการดื้อร้น ทั้งนี้พบว่าถ้าลดการใช้สื่อผ่านหน้าจอของเด็กลง พฤติกรรมเด็กก็จะกลับมาปกติได้
  3. ทักษะการทำงานของสมองระดับสูงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การรู้คิด การควบคุมตนเองจะแย่ลง การแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่ดี โดยหากใช้สื่อที่เปลี่ยนภาพหน้าจอเร็ว ๆ และการขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูก็จะทำให้มีปัญหาในส่วนนี้มาก
  4. ปัญหาสุขภาพทำให้การนอนหลับยากขึ้น ระยะเวลาการนอนหลับลดลง ส่งผลต่อการจำ และอารมณ์
  • ปิดหน้าจอแล้วใช้เวลาคุณภาพ ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกับลูก เล่นกับลูก อ่านหนังสือร่วมกัน กิจกรรมเหล่านี้เป็นวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยได้ดีที่สุด

5 กิจกรรมเด็ด ชวนลูกห่างจอ

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นเกมหรืออยู่กับหน้าจอมือถือนานเกินไป อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างระมัดระวังและใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และพยายามชักชวนลูกให้ไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ แทนการให้ลูกอยู่แต่กับหน้าจอมือถือ เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยผ่านกิจกรรมตามความชื่นชอบและสนใจของเด็กแต่ละคน ที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีด้านต่างๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ

  1. ท่องเที่ยว เปิดโลกกว้าง การพาลูกออกไปพบเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ทำให้เขาได้เห็นสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นการกระตุ้นการใช้ความคิด และพัฒนาสมอง นอกจากนี้ยังช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมาพร้อมกับความสนุกสนาน และเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้แก่ครอบครัวอีกด้วย
  2. กีฬายาวิเศษ ชักชวนลูกไปเล่นกีฬา นอกจากจะได้ในเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว ลูกยังได้รับการเรียนรู้ทางด้าน EQ เช่น การรู้แพ้รู้ชนะ การยอมรับในกฎกติกา การจัดการอารมณ์ของตนเอง ความสามัคคี

    ผล ทดสอบ iq ต่ำ กีฬาช่วยได้
    ผล ทดสอบ IQ ต่ำ กีฬาช่วยได้
  3. เล่นดนตรี เป็นอีกกิจกรรมที่ชักจูงให้เด็กออกห่างจอด้วยกิจกรรมนี้ได้ไม่ยาก เนื่องจากความสนุกสนานของดนตรี ที่ช่วยผ่อนคลาย และยังได้ฝึกสมาธิอีกด้วย
  4. อ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกอ่านเอง หรือพ่อแม่อ่านให้ฟัง ก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่แพ้กัน การอ่านหนังสือช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านตัวละครที่ชื่นชอบ เห็นภาพได้ง่ายแล้ว ยังช่วยฝึกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และยังได้ทักษะทางด้านภาษาอีกด้วย
  5. ทำกิจกรรมจิตอาสา ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ แต่แท้จริงแล้วการให้เด็กทำกิจกรรมจิตอาสาเป็นกิจกรรมที่ชักจูงให้ลูกมาทำได้ไม่ยากเลย โดยเฉพาะในเด็ก เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กชอบที่จะมีส่วนร่วม และต้องการการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การที่ลูกได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากจะได้รับความสนุกสนาน ปลูกฝังค่านิยมอันดีแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของลูก (Self Esteem)ได้อย่างดีอีกด้วยในกิจกรรมนี้
สรุปได้ว่า การที่เด็กยุคใหม่มี ระดับไอคิวที่ลดลงจากรุ่นพ่อแม่ โดยเชื่อว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก ปัญหาการติดจอของเด็กในยุคนี้นั้น สามารถแก้ไข ไปพร้อมกับการมีวิถีชีวิตให้ก้าวได้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ด้วยการ “จัดแบ่งเวลาอย่างเหมาะสม” ให้แก่ลูก โดยการสร้างตารางการเล่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดกับเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรกระทำ อย่าละเลย ปล่อยให้เด็กอยู่กับจอทั้งวัน ทั้งนี้ทั้งนั้นระยะเวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับแต่ละวัยของลูก แม้เราไม่อาจห้ามกระแสการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยใหม่ได้ แต่พ่อแม่สามารถช่วยแนะนำให้ลูกรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งใหม่ ๆ นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง ไม่ปล่อยให้สิ่งนั้นมามีอิทธิพลต่อลูกมากเกินไปจนกลายเป็นโทษได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย / คมชัดลึก/ MGR online

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

7 เทคนิคสร้าง IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดของลูกที่เพิ่มพูนได้

นิทานก่อนนอน เล่าให้ลูกฟังทุกคืน ปูพื้นฐานภาษา ฉลาดทั้งไอคิว อีคิว

เพลงเป็ด5ตัว เวอร์ชันไทย-อังกฤษ ชวนลูกร้อง เก่งสองภาษา ด้วยเสียงเพลง

ลูกติดมือถือ ติดจอ แก้ไขอย่างไร ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up