เด็กวัย 1-3 ปี ลูกไม่ใช่ทารกอีกต่อไป สอนลูกฉลาดและเป็นคนดี ทำอย่างไร

เทคนิคเลือกหนังสือนิทานให้วัยเตาะแตะ

หนังสือนิทานเป็นสื่อการเรียนรู้สำคัญสำหรับเจ้าตัวน้อย เขาสามารถเรียนรู้โลกกว้าง การดำเนินชีวิต และทักษะทางภาษาได้อย่างรวดเร็ว มาดูเทคนิคเลือกนิทานให้ตัวน้อยกัน

หนังสือก็เล่นได้นะ


หนังสือนิทานไม่เพียงมีไว้เพื่ออ่านเท่านั้น แต่มีไว้เล่นได้ด้วย หนังสือนิทานที่เป็นทั้งหนังสือและของเล่นมีอะไรบ้างนะ

สอนเตาะแตะให้รู้สึกผิด และเอ่ยขอโทษ

การสอนลูกวัยนี้ให้ขอโทษแม้จะยาก แต่คุณเองก็ทำได้! เพียงอาศัยการควบคุมอารมณ์และความอดทน มุ่งมั่นให้ลูกเป็นเด็กดีเท่านั้นเองค่ะ

เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ”

เปลี่ยน “ข้อห้าม” เป็น “คำแนะนำ” เสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้   “อย่าเสียงดัง!” “อย่าร้องไห้นะ!” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” มีอีกสารพัดข้อห้ามที่คุณแม่คงใช้จนเคยชิน แม้คุณแม่จะเตือนลูกน้อยด้วยความหวังดี อยากให้ลูกปลอดภัยและอยากให้บ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่าข้อห้ามต่างๆ ของคุณแม่กลายเป็นคำสั่งห้ามความคิดสร้างสรรค์ของลูกวัยนี้โดยไม่รู้ตัว แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ คุณแม่สามารถเปลี่ยนข้อห้ามต่างๆ ให้เป็นคำแนะนำที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันได้ เพียงแต่แนะนำสิ่งที่ลูกควรทำแทนการออกคำสั่ง และเสริมข้อดีของการทำตามคำแนะนำนั้นอีกเล็กน้อย ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ     “อย่าเสียงดัง!” “หนูลองพูดเบาลงอีกนิดได้มั้ยจ๊ะ แม่อยากได้ยินเสียงพี่เขาพูดชัดๆ จ้ะ” “อย่าร้องไห้นะ!” “แม่รู้ว่าตอนนี้หนูไม่พอใจ แต่เรามายิ้มให้กัน แล้วไปหาไอศกรีมกินกันดีไหมจ๊ะ” “ห้ามโยนของเล่นแบบนั้น!” “หนูลองค่อยๆ วาง แล้วต่อให้มันสูงขึ้นดีมั้ยจ๊ะ” “ห้ามวิ่งเล่นในห้องนี้!” “หนูไปวิ่งเล่นที่สนามหน้าบ้านกว้างๆ น่าจะสนุกกว่านะ” “อย่าตีน้อง!” “น้องชอบให้หนูกอดเบาๆ มากกว่านะจ๊ะ” “อย่าทำน้ำหกนะ!” “ค่อยๆ เทน้ำ แล้วถือแก้วดีๆ นะจ๊ะ หนูจะได้มีน้ำไว้ดื่มเยอะๆ”     บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร เรียล พาเรนติ้ง

อดทน และรอคอย สอนได้ตั้งแต่วัย 1-3 ปี

เชื่อหรือไม่ว่า วัยเตาะแตะที่ได้เรียนรู้การอดทน รอคอย หรือการควบคุมตนเองได้นั้น อาจจะส่งผลให้พวกเขามีสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตที่ดีในอนาคต

ลงโทษ Time out!! วิธีการนี้ดีหรือไม่…ลูกจะรู้สึกอย่างไร?

ลงโทษ Timeout วิธีการรับมืออย่างหนึ่งเมื่อลูกทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมโดยการแยกเด็กให้อยู่ในที่ปลอดภัยเพื่อสงบสติอารมณ์

ปล่อยให้ลูก เล่นหนังสือ คือจุดเริ่มต้นการอ่าน


เพราะคุณรู้ว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องดีและหวังจะให้เจ้าหนูเป็นนักอ่านตัวยงกับเขาบ้าง

ลูกน้อยสมองดี…ด้วย กฎทอง 7 ข้อ

เพื่อลูก “สมองดี” คุณพ่อคุณแม่เองก็สร้างได้ ไม่ต้องเสียเงินทองมากมายก่ายกอง ลองมาอ่านกฎทั้ง 7 ข้อนี้จากปากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก แล้วลองทำดูกันเลยค่ะ

วัดแววฉลาด ลูกเก่งด้าน “ภาษา” หรือเปล่า

ในยุคนี้คนที่รู้หลายภาษาจะได้เปรียบกว่าคนอื่นๆ ลูกเรามีแววเก่งด้านภาษาไหม และจะส่งเสริมอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่!

“ศิลปะ” ช่วยเสริมสร้างสมองเด็ก

ศิลปะคือเครื่องมือชั้นเลิศที่ช่วยเสริมสร้างสมองเด็กๆ ให้เติบโตงดงาม ศิลปะทำให้สมองทำงานอย่างไร เด็กจะทำงานศิลปะอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

เด็กๆ ควร เก่ง ดี มีสุข มีอิสรภาพในตัวเอง

เด็กเก่ง หรือเด็กดี ทุกวันนี้สังคมไทยเถียงกันมาก ข้างหนึ่งก็ว่า เราต้องทำให้เด็กเก่งก่อน อีกฝ่ายก็บอก เราต้องทำให้เด็กดีก่อน ตกลงอย่างไหนดีกว่ากัน?

กลวิธี ช่วยลูกเข้าสังคมง่ายขึ้น

ถึงจะพูดได้ว่า วัยเตาะแตะเป็นวัยจุ้นจ้านเป็นที่สุด อยู่นิ่งไม่เป็น เพราะความต้องการแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นตัวของตัวเองได้

พ่อ-แม่ รู้จักพูด ช่วยลูกฝึกควบคุมอารมณ์ได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่า ทักษะทางภาษามีความสัมพันธ์กับความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมของเด็กโดยตรง

พาลูกออกสำรวจ

ยังรอไม่เก่ง ต้องล่อใจด้วยพืชผักโตไว ถ้าจะให้ลูกวัยนี้สนุกหรือสนใจการทำสวนก็ต้องดึงความสนใจแบบรวดเร็ว เช่น เพาะถั่วงอกบนกระดาษทิชชูหรือก้อนสำลีชุ่มน้ำ

สมองดีสร้างได้ ด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการ

สมอง ถูกสร้างขึ้นและพัฒนาด้วยปัจจัย 3 ประการ ซึ่งจะร่วมกันสร้างสมอง มาดูกันว่าเราจะพัฒนาปัจจัยเหล่านี้ให้ลูกน้อยฉลาด และ สมองดีสร้างได้ฟ อย่างไรบ้าง?

กลวิธีแก้อาการ ” สุดหวง ” ของลูก

ไม่นิยมการแบ่งปันของเล่นกับใครคือหนึ่งในนิสัยประจำวัยของลูกเตาะแตะ เพราะเด็กวัยนี้คิดว่า ลองได้ยื่นให้ไปแล้ว ย่อมไม่ได้กลับมาเล่นอีกแน่!

ส่งเสริม 7 พัฒนาการ สร้างความฉลาดรอบด้านให้กับลูก

เลี้ยงลูกให้ฉลาด ด้วย 7 พัฒนาการรอบด้านจะช่วยให้ลูกของคุณเติบโตเป็นคนเก่งและดี เรามาเรียนรู้ตั้งแต่เรื่องสมองไปจนการส่งเสริมพัฒนาการ 7 ด้านกันค่ะ

ชวนเจ้าตัวเล็ก รู้จักเรื่อง “เวลา”

ถามเรื่องเวลา เด็กวัยขวบกว่าๆ รู้จักแต่คำว่า “เดี๋ยวนี้” ส่วนเรื่องอดีตหรืออนาคตน่ะหรือ หนูน้อยของเราเขาไม่สนใจหรอก หนูหิวก็ต้องเดี๋ยวนี้

keyboard_arrow_up