3. การพัฒนาทักษะทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้น และมีทักษะทางความคิดที่มากขึ้น
การเล่นบทบาทสมมุติเหนือกว่าการเล่นทั่วไป เพราะเด็ก ๆ จะต้องวางกลยุทธ์ สื่อสาร และต้องมีทักษะในการปฏิสัมพันธ์ รู้จักเจรจาต่อรอง นึกถึงมุมมองความคิดคนอื่น ถ่ายทอดสิ่งที่รู้จากเหตุการณ์ต่าง ๆ มีสมดุลระหว่างความคิดของตนเองและคนอื่น ต้องวางแผนและลงมือ สื่อสารและรับฟังความคิด มีการมอบหมายแจกจ่ายบทบาทหน้าที่ และรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลและความคิดต่าง ๆ เหมือนกับการบริหารจัดการงานของผู้ใหญ่เลยทีเดียว
4. ปลูกฝังให้เกิดความฉลาดทางสังคมและอารมณ์
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่น ๆ การรู้จักกาลเทศะ ตระหนักและรู้จักการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม รู้จักเจรจาต่อรอง และรู้จังหวะ เหล่านี้คือทักษะที่เป็นปัจจัยของการประสบความสำเร็จและมีความสุขไปตลอดชีวิต
จุดที่ผู้ใหญ่มักมองข้ามไปคือ ทักษะเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ค่อย ๆ สั่งสมมา และไม่มีการเรียนรู้แบบใดที่จะมาทดแทนการเรียนรู้ที่ได้มาจากการเล่นอย่างสร้างสรรค์และใช้จินตนาการได้ เพราะเป็นการสอนทักษะการเรียนรู้ชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว
5. ได้ผสานความรู้และทักษะ
เพราะเด็ก ๆ ต้องการโอกาสในการผสมผสานทักษะไปกับสิ่งที่ตนเองรู้ เช่น การเล่นบทบาทสมมุติเป็นคนขับรถ เด็ก ๆ ก็จะต้องเข้าใจจากประสบการณ์ เช่น การขับรถต้องมีจุดหมายปลายทาง สังเกตอะไรบ้าง เขียนตั๋วอย่างไร เติมน้ำมันหรือเปล่า เขาต้องใช้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์มาคิดระยะทาง ระยะเวลา เติมน้ำมันเท่าไหร่ จ่ายเงินอย่างไร ผู้โดยสารขอแวะจะแวะหรือไม่ ทั้งหมดนี้ต้องใช้ทักษะการพูดจาตอบโต้ร่วมไปด้วยขณะที่กำลังเล่นสมมุติ