แม้ว่าจะเป็นแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นตอนที่คุณเติมน้ำในแก้วให้เขาก็ตาม นั่นเป็นเพราะเด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่จะสอนให้แล้วนะ
แล้วพ่อแม่อย่างเราจะเป็นทั้งตัวอย่าง และผู้สนับสนุนที่ดีของลูกอย่างไรดีล่ะ
– ช่วยให้ลูกรู้สึกภูมิใจที่ได้เสียสละควรอธิบายเหตุผลของการเสียสละนั้นๆ ให้เจ้าตัวน้อยรู้และเข้าใจด้วย เพราะความเข้าใจในเหตุผลและที่มาที่ไปจะทำให้ลูกรู้จักเห็นใจผู้อื่นด้วยตนเอง ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ
– เสริมความมั่นใจให้ทำความดี เมื่อเจ้าตัวน้อยทำอะไรให้คุณหรือคนอื่นๆ ควรบอกขอบคุณเขาเสมอ การเอาใจใส่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้เป็นเหมือนกำลังใจที่ดี และในที่สุดลูกก็จะมีพัฒนาการคลี่คลายไปจนกระทั่งมีความสุขในการทำดีได้โดยไม่หวังคำชมอีกเลย
– ตามใจบ้างก็ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางครั้งเจ้าตัวน้อยของคุณจะไม่อยากแบ่งของเล่นของตัวเองให้เพื่อนใหม่ (หรือแม้แต่พี่น้อง) ที่เข้ามาเล่นด้วย เพราะไม่มีเด็กคนไหนใจดีเป็นนางฟ้าหรือเทวดาน้อย) ได้ตลอดเวลาหรอกนะ บางครั้งก็ต้องมีความรู้สึกหวงของของตัวเองบ้างเหมือนกัน และถ้าคุณยิ่งบังคับเขามากเท่าไร ลูกอาจยิ่งเกิดอาการต่อต้านมากขึ้นได้ ทางที่ดีค่อยๆ พูดโน้มน้าวใจ หรือหาตัวอย่างจากหนังสือนิทานน่ารักๆ มาเล่า แต่หากทำอย่างไรก็ไม่ได้ผล คงต้องปล่อยตามใจลูกสักพักแล้วค่อยพยายามใหม่นะ อย่าเพิ่งถอดใจล่ะสงบสยบความป่วน!
วิธีรับมือเมื่อลูกวัยเตาะแตะเริ่มทดลองเล่นอะไรแผลงๆ เช่น พยายามเอาแกนกระดาษชำระยัดลงในโถส้วมและจะกดชักโครก ให้คุณห้ามพร้อมอธิบายกับลูกว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ (หรือทำไม่ได้) ด้วยน้ำเสียงและท่าทีนิ่ง จริงจัง แต่ถ้าลูกไม่ฟังและจะทำอีก ให้หยิบของนั้นออกจากมือเขาและพาเขาออกจากบริเวณนั้นเสีย โดยไม่ต้องเสียเวลาว่ากล่าว โต้เถียง หรือให้เหตุผลอะไรอีก เพราะที่จริงลูกรู้อยู่แล้วว่านั่นไม่สมควรทำ เพียงแต่เขาต้องการท้าทายหรือทดสอบคุณนั่นเอง
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง