Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน - amarinbabyandkids
Terrible two

Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน

Alternative Textaccount_circle
event
Terrible two
Terrible two

Terrible Two

Tips เล่นกับวัยชวนป่วน แบบพ่อแม่ไม่ป่วน

1. เด็กวัยนี้จะเรียนรู้ได้ดีจากการฟังนิทานหรือเล่นสมมติให้ดู

เช่น ต้องการจะบอกให้ลูกรู้ว่าถ้าเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟแล้วอันตราย ลองหยิบตุ๊กตาของลูกขึ้นมา 1 ตัวแล้วสมมติสถานการณ์ขึ้นมา “เอ…จะเกิดอะไรขึ้นนะถ้าพี่หมีเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ” จากนั้นให้ทำท่าหมีโดนไฟดูด เด็กๆ จะเข้าใจได้ดีกว่าการพูดอย่างเดียว เขาจะเข้าใจได้มากขึ้น จำได้ดี จำได้นาน

2. ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากเล่นด้วย

ก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นเอง ทดลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องอยู่ในการดูแลของพ่อแม่ด้วย ที่สำคัญถึงไม่อยากเล่นแต่ก็ควรจะใช้เวลาร่วมกับลูกบ้าง วันละนิดละหน่อยแต่สม่ำเสมอ เช่น เล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน เล่นเกมทายคำกันระหว่างอยู่บนรถ วันหนึ่งใช้เวลาแค่ 15-30 นาที ก็ทำให้ลูกรู้สึกดีกับคุณพ่อคุณแม่แล้ว

3. ถ้าลูกมีพี่เลี้ยง…

พ่อแม่ควรจะให้อิสระกับพี่เลี้ยง เพราะพี่เลี้ยงบางคนไม่ยอมให้เด็กเล่นเพราะกลัวถูกตำหนิ ควรมีการพูดคุยให้เข้าใจตรงกันก่อนเสมอ ว่าคุณยินดีให้ลูกเล่นเลอะได้ ไม่ต้องไปห้ามมาก เพราะถ้าพี่เลี้ยงเข้าใจการเล่นของเด็ก เด็กก็จะมั่นใจในการทดลองทำสิ่งต่างๆ มากกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงอย่างเข้มงวดตลอดเวลา

4. เด็กวัยนี้เล่นกับใครก็ได้

โดยเฉพาะเล่นกับคนที่เขารัก เด็กก็จะยิ่งมีความสุขมาก แต่ถ้าเล่นกับเด็กในวัยเดียวกัน ก็เป็นการฝึกทักษะทางสังคมให้เด็กได้ร่วมเล่นกับคนอื่นบ้าง โดยเฉพาะเด็กที่เป็นลูกคนเดียว การได้เล่นกับเพื่อนก็ช่วยฝึกเรื่องการแบ่งปัน ความอดทน การรอคอย

5. ของเล่นต้องห้ามบางอย่างก็รู้จักได้ แต่ผู้ใหญ่รู้จักควบคุม

ให้เด็กได้ดูหรือให้เขามีส่วนร่วมบ้าง เช่น เด็กที่อยากเล่นไฟ เราก็จุดไม้ขีดไฟ แค่เข้าใกล้ก็ร้อนแล้ว บอกเขาได้เลยว่าไม่ควรจับหรือเล่นไฟ และกำชับว่าเล่นเองไม่ได้ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย

 

ภาวะทางอารมณ์ของลูกวัย 2 ขวบ บางครั้งอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกหงุดหงิดว่าลูกเป็นอะไร และเกือบจะทำโทษลูกลงไปด้วยความโมโห แต่หากพ่อแม่ลองศึกษาพฤติกรรมลูกในแต่ละช่วงวัยให้ดีอย่างถ่องแท้ ก็จะทราบว่าลูกเป็นอะไร ซึ่งนั่นจะเป็นผลดีต่อตัวเด็ก และพ่อแม่ที่จะมีแนวทางในการจัดการกับพฤติกกรรม อารมณ์ของลูกได้อย่างถูกต้องค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

6 สิ่งที่สกัดกั้นการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ ของลูก
เลี้ยงลูกให้เป็น “คนปกติ” ตามวัย
สนามเด็กเล่น พัฒนาสมองเด็ก ได้อย่างไร ?

 


ขอขอบคุณข้อมูลบทความ : กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up