ลงโทษ Timeout !! วิธีการนี้ดีหรือไม่? - amarinbabyandkids
ลงโทษ time out

ลงโทษ Time out!! วิธีการนี้ดีหรือไม่…ลูกจะรู้สึกอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ลงโทษ time out
ลงโทษ time out

ลงโทษ Timeout คือวิธีการลงโทษลูก ให้เด็กสงบสติอารมณ์โดยภาษาบ้านๆ ที่เข้าใจกันคือ ให้ไปหลบเข้ามุม เงียบๆ คนเดียวซะ …แต่วิธีนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกเสียใจและโกรธพ่อแม่ได้  ซึ่งนักจิตวิทยาทั่วโลกกำลังรณรงค์ให้มาลงโทษเชิงบวกที่เรียกว่า ไทม์อิน (Time in) แทน!!

มีงานวิจัย และการศึกษาต่างๆ ที่ออกมาชี้ว่า การลงโทษด้วยความรุนแรงไม่เกิดผลในทางบวกแก่เด็กแต่อย่างใด จนนำไปสู่การใช้วิธี “Time Out” หรือการให้เด็กได้พักสงบสติอารมณ์ รวมถึงให้เด็กได้สำนึกผิดกับสิ่งที่ตนเองทำลงไปในระยะเวลาที่เหมาะสมกับอายุของพวกเขา แต่การใช้วิธี Time Out นี้ก็มีเทคนิคแฝงอยู่เช่นกัน

การ ลงโทษ Time out!! กับลูก…วิธีการนี้ดีหรือไม่?

time out ปรับพฤติกรรม
การลงโทษลูกแบบ Time out

โดยคุณหมอสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมจากโรงพยาบาลเวชธานี มีคำแนะนำเกี่ยวกับการลงโทษด้วยวิธี Time Out มาฝากกันค่ะ

วิธี time out เป็นวิธีหนึ่งในการปรับพฤติกรรม เพราะเป็นเหมือนการถอนสิ่งที่เด็กชอบออก นั่นคือ เด็กจะไม่ได้รับความสนใจจากใครเลย ไม่มีของเล่น ไม่มีอะไรให้ทำ ณ ขณะที่ time out อยู่

แม้ว่า time out เป็นวิธีที่ดี แต่ก่อนจะมี time out ต้องมี time in ก่อน คือ เวลาที่ดีร่วมๆ กัน เด็กต้องมีความผูกพันกับผู้ที่จะลงโทษเขาก่อน มีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีคนรัก เขาถึงจะมีพฤติกรรมที่ดีหลังทำ time out ค่ะ (ลองคิดง่ายๆ ถ้าเจ้านายเรา ออกกฎอะไรมาสักอย่างหนึ่ง เราจะอยากทำตามก็ต่อเมื่อเรารู้สึกว่าเจ้านายคนนี้เห็นคุณค่าเรา หรือมีสัมพันธภาพที่ดีกันมาก่อน) ดังนั้นไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะมา time out เด็กนะคะ วิธีการ คือ 

– กำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายที่จะลดให้ชัดเจน ด้วยการพูดคุยบอกกล่าวเด็กไม่ใช่นึกอยากทำก็ทำโดยที่ไม่ได้ตกลงกันมาก่อน

– เลือกสถานที่ที่จะนั่งให้เหมาะสม ควรเป็นที่ที่ยังมองเห็นกันได้อยู่ ห้ามใช้ ห้องน้ำ ระเบียงบ้านหรือห้องนอน

– อธิบายให้เด็กฟังขั้นตอนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่เขายังมีอารมณ์ดีๆ อยู่ ว่าเขาต้องไปนั่งบริเวณนั้นๆ ถ้าทำพฤติกรรมไม่ดีดังกล่าว

– เมื่อเกิดพฤติกรรมขึ้น ให้ส่งเขาไปนั่งในที่ที่กำหนดไว้โดยใช้เวลา 1 นาที/อายุ 1 ปี ขณะนั้นเราจะไม่ตอบสนองเขาไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น (การร้องไห้ของลูกก็เช่นกัน หากคุณแม่ได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ลูกก็ยังร้องไห้ ขอให้คุณแม่ใจแข็งค่ะ คิดในใจว่า เรากำลังช่วยให้ลูกควบคุมอารมณ์ของตนเอง เพราะถ้าเราหนักแน่น ลูกจะร้องไห้สั้นลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่ร้องและเรียนรู้ว่า เขาเองก็สามารถควบคุมอารมณ์เองได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง)

– หากเขาไม่ยอมนั่งเองหรือทำร้ายตัวเองขณะนั่งไปด้วย เราอาจต้องจับเขานั่งตักและกอดรัดเขาไว้ให้แน่น แต่ห้ามพูดหรือตอบสนองเขา เมื่อเสร็จแล้วจึงพูดคุยกับเขาด้วยเหตุผลสั้นๆ

จากนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ลองทบทวนว่าที่ผ่านมา เราได้ทำตามขั้นตอนนี้หรือไม่ และหากเรามั่นใจว่าจะใช้วิธีนี้ ต้องใจแข็ง หนักแน่น เพราะหากมีเพียงครั้งเดียวที่เราใจอ่อน ลูกก็จะเรียนรู้ว่า พฤติกรรมอะไรที่จะทำให้เขาได้สิ่งที่เขาต้องการ ดังนั้น ต้องอย่าให้เขาสับสนว่าเราต้องการสอนอะไรเขากันแน่นะคะ

อ่านต่อ >> “การลงโทษ Timeout เขาทำกันอย่างไร?” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up