10 วิธีป้องกันเมื่อลูกร้องอาละวาด ที่ได้ผล
- พยายามกระตุ้นให้เด็กพูด บอกความรู้สึก เช่น “หนูทนไม่ไหวแล้วนะ” เข้าใจความรู้สึกของเขาและแนะนำว่าควรพูดยังไง
- ตั้งกฎที่เหมาะสมในบ้านและอย่าไปคาดหวังว่าเด็กต้องทำได้สมบูรณ์ ให้เหตุผลง่ายๆ ว่าทำไมต้องมีกฎและพยายามอย่าไปเปลี่ยนแปลงบ่อย
- พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิมทุกวันเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เด็กคาดเดาต่อไปได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เด็กเกิดร้องอาละวาด เช่นการเล่นของเล่นที่ยากกว่าวัย
- หลีกเลี่ยงการไปนอกสถานที่ที่กินเวลานานๆ และต้องอยู่อย่างเป็นระเบียบ ถ้าต้องเดินทางไปไหนก็ให้พกหนังสือเล่มโปรดหรือของเล่นที่ชอบ
- เตรียมของว่างที่มีประโยชน์เผื่อเวลาลูกหิว และแน่ใจว่าลูกได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว ก่อนออกเดินทาง
- เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กจากกิจกรรมที่อาจนำไปสู่การร้องอาละวาด แนะนำกิจกรรมที่ต่างออกไป ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่อาจต้องทำอะไรขบขันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น บางครั้งแค่เปลี่ยนสถานที่ก็ได้
- พยายามเลือกใช้คำอื่นแทนคำว่า “ไม่, อย่า” เพราะถ้าใช้บ่อยๆ เด็กก็จะหงุดหงิดได้ง่าย
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเองบ้าง
- เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับอารมณ์3
การเลี้ยงลูกต้องเลี้ยงอย่างเข้าใจ และต้องตามให้ทันพฤติกรรมของลูกในแต่ละวัย หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ต้องรีบแก้ไข ไม่ควรปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมติดตัวไปจนโต เพราะนั่นจะทำให้ลูกเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ และท้ายที่สุดก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
บทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
ลูกร้องอาละวาดในที่สาธารณะ แม่จะทำยังไงดี?
เมื่อลูกโต…อาละวาด! จัดการอย่างไร
เทคนิคสยบ อาการ หงุดหงิด อาละวาด เหวี่ยงวีน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2,3www.thaihealth.or.th
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ