เลิกจุกหลอก ควรเลิกกี่ขวบ อย่างไรดี? - Amarin Baby & Kids
เลิกจุกหลอก

เลิกจุกหลอก ควรเลิกกี่ขวบ อย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
เลิกจุกหลอก
เลิกจุกหลอก

การใช้จุกหลอก สามารถแก้ปัญหาการดูดนิ้วของลูกที่อาจส่งผลต่อการขึ้นของฟันในอนาคตของลูกน้อยได้ หากคุณพ่อ คุณแม่สามารถควบคุมการใช้จุกหลอกอย่างเหมาะสม แต่ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือการติดจุกหลอก จนบางครั้งก็ไม่สามารถ เลิกจุกหลอก ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรเลิกให้ได้ก่อน 1 ขวบ

เลิกจุกหลอก ต้องรู้จักข้อดีข้อเสีย

โดยทั่วไป ความช้าเร็วในการเลิกจุกหลอกของแต่ละครอบครัวนั้นไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่ควรเลิกช้าเกิน 3 ขวบ เพราะอาจจะส่งผลต่อการเรียงของฟันได้เช่นกัน การใช้จุกหลอกนั้น มีทั้งข้อดี และข้อเสีย

  • ข้อดี ของการใช้จุกหลอก คือ สามารถแก้ปัญหาการดูดนิ้วของลูกที่อาจส่งผลต่อการขึ้นของฟันในอนาคตของลูกน้อยได้ และสามารถแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยติดการดูดนมแม่จนบางครั้งก็เกินความจำเป็นจนสำลัก หรืออาเจียนออกมาเพราะกระเพาะรับนมแม่ไม่ไหว หรือหากขาดการดูดไปแล้วลูกน้อยจะร้องไห้งอแง
  • ข้อเสีย ของการใช้จุกหลอก คือ ถ้าไม่ดูแลทำความสะอาดให้ดีอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค การใช้จุกหลอกอย่างไม่เหมาะสมก็อาจจะทำให้ฟันผุฟันเก และนอกจากนี้ การใช้จุกหลอกพร้อมสายคล้องคออาจทำให้ลูกน้อยเกิดความเสี่ยงสายรัดคอจนเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้จุกหลอกอย่างรอบคอบ
ใช้จุกหลอก
ความช้าเร็วในการเลิกจุกหลอกของแต่ละครอบครัวนั้นไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่ควรเลิกช้าเกิน 3 ขวบ

วิธีการใช้จุกหลอก

1.ควรให้ลูกน้อยใช้จุกหลอก เมื่อดูดนมแม่อิ่มแล้ว หรือใช้ในกรณีที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการป่วย เพื่อให้ธรรมชาติในการดูดยังคงดำเนินต่อไป

2.ไม่ควรให้จุกหลอกแทนการดูดนมเมื่อหิว ไม่ควรใส่จุกหลอกเข้าไปในปากลูกทุกครั้งเมื่อร้องงอแงควรหาสาเหตุว่าลูกน้อยร้องไห้เพราะอะไรก่อน

3.ควรทำความสะอาดจุกหลอก นึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้ง หรือใส่ลงไปในน้ำเดือด 5 นาทีก่อนใช้งาน และหลังใช้งาน

4.ตรวจสอบจุกหลอกว่ามีสภาพสมบูรณ์หรือไม่ หากมีรอยแตก ฉีกขาดควรทิ้งทันที และควรเปลี่ยนจุกหลอกทุกๆ 2 เดือน

5.อย่าให้ลูกดูดจุกหลอกทั้งวัน เมื่อลูกน้อยเริ่มคลาน หรือเดินไปรอบๆ ได้แล้ว เพราะจะส่งผลต่อพัฒนากรทางการพูด และการขึ้นของฟันได้

อ่าน “วิธีเลิกจุกหลอก” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up