การมองเห็นส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจดูแลสายตาลูกน้อย ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่าโรคตาพบบ่อยในเด็ก และแนะนำให้รีบตรวจรักษาค้นหาความผิดปกติตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งพบได้ในเด็กทารก เด็กเล็ก เด็กโต
โรคตาที่พบบ่อยในเด็ก
- เด็กคลอดก่อนกำหนด โรคจอประสาทตาเสื่อม
- เด็กทารก โรคต้อกระจก โรคต้อหิน ความผิดปกติส่วนหน้าของตา
- เด็กเล็ก โรคตาขี้เกียจ โรคตาเข สายตาสั้นยาว และตาไม่เท่ากัน
- เด็กโต สายตาผิดปกติ
ตาขี้เกียจคืออะไร?
ตาขี้เกียจคือการที่ตาข้างนั้นมองภาพไม่ชัด ในช่วง 7 ขวบแรก เป็นช่วงที่มีพัฒนาการมองเห็น ส่งผลให้การรับภาพโดยสมองจากตาข้างนั้นน้อยลง มีระดับการมองเห็นลดลง ถ้าไม่ได้รักษา จะทำให้การมองเห็นลดลงถาวร พบในเด็กที่มีตาเข สายตาสั้น ยาว เอียง และไม่เท่ากัน หรือจอประสาทตาผิดปกติ
ถ้าลูกสายตาสั้น ยาว เอียง ทำยังไงดี?
1.เด็กที่คลอดก่อนกำหนด มีความผิดปกติทางสมอง และพัฒนาการ มีโรคประจำตัว หรือคนในครอบครัวมีตาผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไปพบจักษุแพทย์ หาความผิดปกติ และรักษาได้ทันท่วงที
2.เด็กปกติ คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ตามช่วงวัย ทุกๆ 1-2 ปี เพื่อหาความผิดปกติ
ความผิดปกติของสายตา
1.สายตายาว เด็กที่มีสายตายาว จะต่างจากคนที่มีสายตายาวตามอายุ อาการสายตายาวจะทำให้เห็นภาพไม่ชัดเวลามองใกล้ๆ บางคนมีผลทำให้ตาเขเข้าข้างในด้วย หรืออาจกลายเป็นตาขี้เกียจได้
2.สายตาสั้นแท้ เด็กไทย และเอเชีย พบว่ามีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว แต่จะพบน้อยในเด็กที่ใช้ชีวิตนอกบ้าน หรือนอกห้องเรียน เด็กในบ้านจะสายตาสั้นมากกว่าเพราะมองในระยะใกล้ๆ นานๆ
4.สายตาสั้นเทียม พบในเด็กที่ขอบเพ่งมอง ทำให้การวัดสายตาสั้นกว่าความเป็นจริง ทำให้มองไกลๆ ไม่เห็น ต้องเดินไปดูใกล้ๆ หรือหยีตาเวลามองเพื่อจ้องวัตถุ
5.สายตาเอียง เกิดจากการโฟกัสในแต่ละแนวไม่เท่ากัน เพราะปกติกระจกตาดำไม่ได้กลมเหมือนลูกบอล แต่กลมรีเหมือนรักบี้ ทำให้ความโค้งแต่ละแนวไม่เท่ากัน ไม่ได้ตกโฟกัสจุดเดียว ทำให้เห็นภาพมัว ทั้งไกลและใกล้ เด็กๆ ที่เป็นจะเอียงหน้า หรือตะแคงหน้ามองเพื่อให้เห็นชัดๆ
อ่านต่อ “วิธีสังเกตความผิดปกติของสายตาลูกน้อย” คลิกหน้า 2