วิธีสังเกตความผิดปกติของสายตาลูกน้อย
แรกเกิด – 6 เดือน สังเกตว่าลูกมีตาเขเข้าด้านใน หรือออกด้านนอกหรือไม่ ตาดำมีสิ่งผิดปกติหรือเปล่า เช่น ตาดำไม่เท่ากัน ควรพาลูกไปตรวจ เพื่อขอคำแนะนำ อาจเป็นโรคตาเขได้ ไม่ปล่อยไว้จนโต
1 – 3 ขวบ ถ้ามีตาเขเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะเวลาดูอะไรใกล้ๆ ควรรีบพบแพทย์ ไม่ปล่อยไว้ เพราะบางครั้งพ่อแม่เห็นว่าลูกไม่เจ็บ ก็ละเลย เพราะคิดว่าคงไม่อันตราย เด็กบางคนรักษาช้าเกินไปอาจเป็นโรคตาขี้เกียจ ทำให้ลูกไม่มีพัฒนาการ มีปัญหาในการดูภาพได้
3 – 5 ขวบ สังเกตเวลาลูกเผลอดูทีวี หรือเข้าไปดูใกล้เกินไป ต้องพาลูกไปตรวจตา เพราะอาจพบความผิดปกติของตาได้
- สังเกตรูปหน้าเปรียบเทียบความสมดุล และตาดำสองข้างเท่ากันหรือไม่
- เมื่อลืมตาเต็มที่ หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่
- มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุหรือไม่
- น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอหรือไม่
- ขยี้ตาอยู่บ่อยๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อๆ หรือไม่
- เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด
- ลูกตาควรใสสะอาด ไม่ควรมีขี้ตา ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ควรมีสีขุ่นขาว ต้องดูใส
- ลูกตาดำมีลักษณะเขเข้าและดูแวววาว คล้ายตาแมวในเวลากลางคืน
- ลูกตาดำเขเข้าหรือเขออก เป็นบางครั้ง หรือเห็นว่าเขตลอดเวลา
- เห็นภาพสองภาพ ปวดศีรษะ ตามัว
- ตาดำสั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมการสั่นของลูกตาดำได้
- มีพัฒนาการทางร่างกายช้า ไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3-4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้ม โต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ
อ่านต่อ “การวัดสายตาในเด็ก และเตรียมตัวพาลูกน้อยไปวัดสายตา” คลิกหน้า 3