การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ
การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยก่อนเรียน พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กวัย 1-3 ปี จินตนาการ การเรียนรู้เด็กจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยทารก วัยเตาะแตะจนถึงวัยอนุบาล
วิธีเลือกเครื่องนอน เด็กวัย 1-3 ปี
ผมสงสัยว่า ลูกวัย 11 เดือนจะใช้หมอนหรือผ้าห่มได้หรือยังครับ เพราะที่ผ่านมา บ้านเรายังไม่ได้ใช้ด้วยกลัวว่าจะเกิดอันตรายกับลูก
เมื่อต้องดูแลทั้งพี่และน้อง พร้อมกัน ทำไงดี
ดิฉันมีลูกสองคนค่ะ คนหนึ่งอายุสองขวบครึ่งส่วนอีกคนหนึ่งยังเล็กอยู่เลย ปัญหาคือ เวลาที่ต้องกล่อมคนเล็กนอน ดิฉันจะปล่อยคนโตไว้กับทีวีพร้อมของว่าง แต่ก็ห่วงว่าเขาโตพอที่จะดูแลตัวเองได้หรือยังคะ
อย่าให้ “สนามเด็กเล่น” ทำร้ายลูก
ต้นปีอากาศดีๆ แบบนี้เหมาะที่สุดสำหรับกิจกรรมนอกบ้าน ตอนเช้าไปรับแดดอุ่นๆหรือยามเย็นอากาศสบายๆ ชวนกันไปสนามเด็กเล่น
ไม่ว่าชิ้นไหน ก็เป็นของ “หนู”
“ของหนูนะ” เป็นคำพูดประจำตัวของเด็กวัยนี้ทุกคน ทั้งของตัวเอง หรือของแม่ ของพ่อ ฯลฯ ทุกอย่างเป็นของหนูได้หมด แถมพร้อมจะหอบของมากมายไปด้วยกันหมดในคราวเดียว
ขี้มูกนะลูก ไม่ใช่ของเล่น!
แม้เด็กๆ จะค้นพบว่า การแคะขี้มูกเป็นเรื่องน่าสนุก และเด็กๆ ทุกคนจะทำกัน แต่เห็นทีไรก็น่ายี้อยู่ดี มาลองหาทางลดพฤติกรรมสนุกแต่ชวนสกปรกนี้ดีกว่า
วิธีหยุดลูกป่วนในร้านอาหาร
จะทำอย่างไรให้ลูกเตาะแตะ นั่งสงบๆ กินอาหารในร้านอาหารได้ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับคำถามนี้ แต่เรามีปัจจัยที่ทำให้เขาอยู่นิ่งหรือไม่นิ่งมาให้คุณลองปรับใช้ดู
“น้องหมาหาย” อธิบายให้ลูกฟังยังไงดี
ถ้าวันหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรักของลูกวัยอนุบาลต้องหายตัวไป คุณจะอธิบายให้ลูกวัยนี้เข้าใจได้อย่างไร
กลวิธี ช่วยลูกเข้าสังคมง่ายขึ้น
ถึงจะพูดได้ว่า วัยเตาะแตะเป็นวัยจุ้นจ้านเป็นที่สุด อยู่นิ่งไม่เป็น เพราะความต้องการแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นตัวของตัวเองได้
หาวิธีบอกลูกเตาะแตะ เมื่อแม่เล่นด้วยไม่ได้
บางเวลาคุณก็เล่นกับลูกไม่ได้ หรือไม่ว่างจะเล่นด้วยจริงๆ แม้จะรู้ว่าช่วงที่เราเล่นกับลูกเป็นเวลาสำคัญของการพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูก และเพิ่มพูนความผูกพันของคุณกับลูก เรามีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก
สอนลูกให้เข้มแข็ง + ป้องกันตัวเองเมื่อยื้อแย่งกับเพื่อน
เมื่อต้องเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน การทะเลาะกันของเด็กๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เรามีวิธีแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกน้อยเรียนรู้ความเข้มแข็ง และปกป้องตัวเองได้ค่ะ
ควรแคะขี้หูให้ลูกๆไหม
คุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจว่า “ขี้หู” เป็นของเสียจากร่างกายที่ต้องกำจัดทิ้ง ด้วยการแคะ เช็ด ล้าง ฯลฯ แต่ความจริง ขี้หูมีประโยชน์กว่าที่เราคิดเยอะ ไม่เชื่อลองมาฟังกันดู
” ชมลูกเข้าไว้ ” คาถาป้องกันไม่ให้ลูกซ่าเกินควร
เวลาที่พาลูกไปเพลย์กรุ๊ปจะมีเด็กคนหนึ่งมักท้าทายความอดทนของเราเสมอเลยค่ะ เวลาดิฉันบอกลูกว่า อย่าทำอะไร เด็กคนนั้นจะทำตรงข้ามกับที่ดิฉันสั่งลูกทันที ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ กลัวลูกจะทำตามเด็กคนนั้นจังเลย
แก้นิสัยชอบกัดเล็บของลูก
มีเทคนิคง่ายๆ แก้อาการกัดเล็บของเด็กๆ มาฝากค่ะ เมื่อไรที่ลูกเริ่มจะยกนิ้วขึ้นแทะ ให้คุณแม่รีบบีบจมูกน้อยๆ ของลูกทันที(ระวังอย่าให้หนักมือเกินไป)
เมื่อ ” แม่ ” แอบอิจฉาพี่เลี้ยง
ดิฉันให้คุณแม่เลี้ยงลูกวัย 1 ขวบในตอนกลางวันที่ไปทำงาน ตอนนี้ลูกชอบไปอ้อนคุณยายมากกว่า จนดิฉันเกิดความรู้สึกอิจฉา จะทำอย่างไรดีคะ จะส่งลูกไปอยู่ที่เนิร์สเซอรี่แทนคุณยายดีไหม
3 วิธีสยบลูก เมื่อไม่ยอมฟังคำสั่ง
1. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ สิ่งที่คุณบอกไม่ใช่คำขอร้องหรือข้อเสนอแนะ แต่เป็น “คำสั่ง” ดังนั้นเมื่อคุณจะบอกให้ลูกทำอะไร ใช้น้ำเสียงที่จริงจังและอย่าเปิดโอกาสให้เขาโต้แย้ง 2. ประสานสายตา ก่อนที่จะบอกให้ลูกทำอะไร ขยับเข้าไปใกล้และประสานสายตากับเขา อย่าเพิ่งออกปากสั่งจนกว่าลูกจะหันมามองตาคุณ 3. ชัดเจน บอกลูกว่า “แม่อยากให้หนูทำ…และ…” รอจนกระทั่งลูกตอบว่า “โอเค” หรือ “ไม่เอา” ก่อน ถ้าเขาไม่ยอมทำตามหรือทำเป็นไม่ได้ยิน ทวนคำสั่งอีกครั้งโดยไม่แสดงอาการโกรธหรือหงุดหงิด ลูกจะรู้ว่าคุณตั้งใจให้เขาทำสิ่งนั้นๆ จริงๆ และจะไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามด้วย บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
9 เทคนิค ฝึกลูกให้รักการกิน
1. เสิร์ฟอาหารทีละน้อยๆ ถ้ากลัวลูกไม่อิ่มค่อยเติมให้อีกทีหลัง 2. ไม่เสิร์ฟของว่างระหว่างมื้อ 3. จำกัดเครื่องดื่มระหว่างมื้อและในมื้ออาหาร ของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ นม หรือแม้แต่น้ำเปล่าก็กินพื้นที่ในกระเพาะทั้งนั้น 4. ลอง Finger Food การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เรื่องความมั่นใจในตัวเอง หนูๆ จะกินได้มากขึ้นถ้าเขาสามารถควบคุมจังหวะหรือปริมาณของอาหารที่จะเอาเข้าปากได้ 5. ทำให้น่าสนใจขึ้น เช่น เพิ่มสีสัน รูปร่าง หรือพื้นผิวของอาหารให้หลากหลาย 6. รับประทานด้วยกัน ถ้าเจ้าจอมซนต้องนั่งกินอาหารคนเดียว เขาอาจคิดว่าตนเองถูกกักขังและบังคับ เพราะฉะนั้น ชวนทุกคนในบ้านมากินข้าวพร้อมกันดีกว่า 7. ปิดทีวี 8. ชวนเพื่อนๆ ของลูกมากินข้าวหรือขนมด้วยกัน (บางมื้อ) เด็กๆ จะรู้สึกสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น 9. รอดูท่าที เสิร์ฟอาหาร และรออยู่เงียบๆ สัก 20 นาที หากว่าลูกยังไม่ยอมแตะช้อนจึงค่อยออกปากเตือน ถ้าลูกยังไม่ยอมฟังก็เก็บโต๊ะไปได้เลย […]
จัดการวิธีไหนให้ลูกยอมกินข้าว
จะทำอย่างไรให้จอมซนประจำบ้านยอมนั่งกินข้าวที่โต๊ะดีๆ คะ คุณแม่จับนั่งทีไร เขาก็จะร้องไห้โวยวายทุกครั้ง
หนูไม่ชอบหวีผม
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกจะโวยวายหรือร้องงอแงเวลาที่คุณหวีผมให้ เพราะถึงแม้จะไม่ใช่กิจกรรมเสียเลือดเสียเนื้อ