การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ
การดูแลเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยก่อนเรียน พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กวัย 1-3 ปี จินตนาการ การเรียนรู้เด็กจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยทารก วัยเตาะแตะจนถึงวัยอนุบาล
จัดการวิธีไหนให้ลูกยอมกินข้าว
จะทำอย่างไรให้จอมซนประจำบ้านยอมนั่งกินข้าวที่โต๊ะดีๆ คะ คุณแม่จับนั่งทีไร เขาก็จะร้องไห้โวยวายทุกครั้ง
หนูไม่ชอบหวีผม
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกจะโวยวายหรือร้องงอแงเวลาที่คุณหวีผมให้ เพราะถึงแม้จะไม่ใช่กิจกรรมเสียเลือดเสียเนื้อ
เล่นกับลูกแรงไป ใช่ว่าดี
สามีชอบเล่นกับลูกแรงๆ เพราะคิดว่าจะทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น แต่ทำไมลูกดูท่าทางตกอกตกใจเสียเหลือเกินคะ
ไกวอย่างนี้สิสนุก (และปลอดภัย)
เมื่อน้องจูนวัย 3 ขวบได้เล่นชิงช้าแบบเด็กโตครั้งแรก คุณแม่เดือนบอกว่า “ดิฉันบอกลูกให้จับให้แน่นและไกวให้ลูกเบาๆ ค่ะ
ลูกอ่อนไหวง่าย ร้องไห้ประจำ
ลูกเป็นเด็กที่ร่าเริงนะคะ แต่เขามักจะอารมณ์อ่อนไหวง่ายมากๆ แค่ถูกยั่วหรือแกล้งนิดเดียวก็ร้องไห้ออกมาไม่หยุดเลย ไม่รู้จะทำอย่างไรดี
สารพัดวิธีช่วยลูกเตาะแตะจอมซนให้สงบ
เด็กวัยเตาะแตะมีกำลังกายเหลือเฟือ บางครั้งเขาก็อาจจะซุกซนจนเกินพอดี เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกสงบและผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ
3 เทคนิค กระตุ้นลูกวัยอนุบาลแต่งตัวด้วยตัวเอง
เด็กวัยเตาะแตะส่วนใหญ่อาจจะพอใส่เสื้อผ้าเองได้ แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่อยู่ ไม่ใช่เพราะความขี้เกียจแต่ลูกยังไม่พร้อมจะเรียนรู้เสียมากกว่า
ปวดหัว ลูกกลัวห้องน้ำ
ลูกสาวดิฉันเข้าห้องนํ้าที่บ้านเองได้สบายมาก แต่พอลูกเห็นห้องน้ำสาธารณะ เขาจะกลัวมากและไม่ยอมเข้า คุณแม่จะช่วยเขาอย่างไรดีคะ
พาลูกสำรวจโลกอย่างปลอดภัย
ก่อนหน้านี้คุณอาจจะลุ้นให้เจ้าตัวเล็กเดินได้ไวๆ แต่พอขาของเขาใช้การได้คล่องจริงๆ คุณกลับพบว่าตนเองไม่ได้ยินดีปรีดาสักเท่าไร
ถ้าหนูร้อง..ต้องได้ พ่อแม่ต้องรู้วิธีรับมือ
ช่วงนี้พอพาลูกไปที่ไหนก็ตาม เขาจะต้องร้องให้คุณแม่ซื้อของให้เสมอ และจะยิ่งออกอาการโวยวายถ้าไม่ได้ของ ไม่อยากตามใจลูกเลย จะทำอย่างไรดีคะ
ชวนลูกเล่นน้ำกันเถอะ
ฟองสบู่ แชมพูกลิ่นผลไม้ และของเล่นอีกนานา อาจจะทำให้ลูกของคุณโปรดปรานการอาบน้ำในห้องน้ำได้ไม่ยาก แต่ถ้าวันไหนอากาศดีๆ
วางแผนพาลูกท่องป่า…จะไหวไหมนี่
“ไปกางเต็นท์เที่ยวป่ากันเถอะ” คุณพ่อชวน “นอนนอกบ้าน…แค่คิดก็สยองแล้วนะ” แม่ว่า อาจฟังดูยากไปใช่ไหมเรื่องการที่จะพาลูกไปเที่ยวป่าเขาลำเนาไพร แถมประสบการณ์ใหม่…นอนเต็นท์!
ลูกเล่นผ้าอ้อมใช้แล้ว
ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ชอบบีบและจับอยู่แล้ว ฉะนั้น อะไรที่เอื้อมมือคว้าได้ หนูน้อยเป็นหยิบมาเล่นหมดนั่นแหละ รวมถึงผ้าอ้อมที่ใช้แล้วด้วย
ทำอย่างไรไม่ให้เบื่อ เมื่อต้องเล่นเกมแบบเด็กๆ
ต่อให้รักแค่ไหน แต่คนเป็นผู้ใหญ่ก็อาจมีอารมณ์เบื่อกันได้บ้าง เวลาต้องเล่นแบบเด็กๆ กับลูก
น้องเล็ก พี่ใหญ่ นอนพร้อมกันได้ไหม
ครอบครัวเรามีลูกสองคนค่ะ พี่สาว 4 ขวบ ส่วนน้องชาย 2 ขวบครึ่ง ดิฉันสงสัยว่าควรจะพาเขาเข้านอนพร้อมกันหรือให้คนพี่นอนทีหลังเพราะเขาโตกว่าดีคะ
ชวนลูกทำสวน จูงใจให้กินผัก
อแมนด้า แกร๊นท์ ผู้เขียนหนังสือ “Grow It, Cook It with Kids” บอกว่าเธอยังไม่เคยเห็นเด็กคนไหนไม่กินสิ่งที่ตัวเองปลูกและดูแลเอง
ง่ำ ง่ำ ง่ำ เคี้ยวแต่ของไม่น่าเคี้ยว
คุณแม่น้องเกมวัย 3 ขวบ 5 เดือนกำลังกังวลใจกับพฤติกรรมการชอบเคี้ยวเสื้อตัวเอง
ไม้เด็ด สยบอารมณ์ร้ายใกล้ระเบิดของลูก
บ่ายวันหยุดที่คุณและลูกพากันไปช็อปปิ้ง คุณกำลังจะจ่ายเงินเสร็จภายใน 3 นาที แต่เจ้าตัวเล็กของคุณก็กำลังจะระเบิดอารมณ์ชนิดเต็มขั้นภายใน 1 นาทีข้างหน้านี้แล้ว และนี่คือบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อควบคุมสถานการณ์ในเร็วพลัน “ลูกอย่าเพิ่งตะโกนนะ รอให้เราออกไปข้างนอกก่อน เพราะแม่จะไม่ได้ยินที่ลูกพูดเลยตอนที่อยู่ในที่คนเยอะๆ แบบนี้” “อุ๊ย! ดูสิลูก ตอนนี้เราอยู่โซนผักผลไม้ เดี๋ยวลูกไปร้องที่โซนขนมดีมั้ย ระหว่างที่เดินไปตรงนั้น เราร้องเพลงเอบีซีไปด้วยกันนะ” “เอามือปิดปากไว้จนกว่าเราจะไปถึงที่รถนะ อย่าเพิ่งเปิดปากนะลูก! ปิดไว้อย่าให้ใครเห็นปากลูกนะ” “หนูช่วยถือกุญแจอันนี้ให้แม่ก่อนได้มั้ย (หรือจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์ แว่นตา ฯลฯ) แล้วรอให้แม่จ่ายเงินเสร็จก่อนนะ แป๊บเดียวลูก” “รู้มั้ย ตอนที่แม่โมโหนะ แม่จะหิวมาก ลองไปหาอะไรอร่อยๆ กินกันนะ”แต่ถ้าทุกวิถีทางดูเหมือนไม่ได้ผล นั่นน่าจะเป็นเพราะความอดทนของคุณ (และลูก) เริ่มหมดแล้วละ พาลูกกลับบ้านดีกว่าค่ะ บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง