"ทีวี" แหล่งรวมความรุนแรง..เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ "ติดทีวี"
ติดทีวี

“ทีวี” แหล่งรวมความรุนแรง..เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ “ติดทีวี”

Alternative Textaccount_circle
event
ติดทีวี
ติดทีวี

ทีวีเป็นสื่อหน้าจอชนิดแรกที่เด็กๆ จะเข้าถึง ส่วนใหญ่แล้วแทบทุกบ้านจะเปิดทีวีไว้เวลาเลี้ยงลูกเลี้ยงเด็ก คุณแม่ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงก็มักจะดูทีวีหรือฟังเสียงก็ยังดีควบคู่กันไปด้วย

พอเด็กอายุได้สามสี่เดือน เริ่มจ้องหน้า จำหน้าคนได้ เด็กก็จะเข้าถึงทีวีที่เปิดคาไว้ จ้องมองแสงสีที่แวบไวแวบมา  ฟังเสียงที่ดังอยู่ตลอดเวลา ภาพไหนซ้ำๆ เสียงไหนซ้ำๆ เช่นโฆษณาที่ซ้ำๆ กัน เด็กก็มักจะจำได้ หยุดนิ่งเมื่อภาพนั้นโผล่มาหรือเสียงนั้นดังเข้ามาผู้ใหญ่ก็จะบอกว่าลูกชอบดูโฆษณาเขาเก่งมากเลยจำโฆษณานั้นโน้นได้

ความจริงแล้วทีวีก็มีประโยชน์ เปิดโลกกว้างให้เด็กเรียนรู้ แต่เผอิญโทษก็มีมากและเกี่ยวข้องกับการตลาดของผู้เกี่ยวข้องกับทีวี ทำให้โทษกลับกลายเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า

โทษจากทีวีมาจากไหน

โทษจากทีวีมาจากรายการที่ส่อความรุนแรงหลายๆ รูปแบบที่มีมากมาย เผอิญรายการเหล่านี้ตอบสนองต่อจิตใต้สำนึกลึกๆ ของมนุษย์ทำให้รายการเหล่านี้เป็นที่นิยมโดยง่าย สปอนเซอร์ก็มากมาย คนชอบดู ดูแล้วก็ติด ติดแล้วก็ใช้เวลากับมันมากๆ จนไม่กิน ไม่นอน ไม่คุยกัน เด็กก็เสียสุขภาพ อ้วน เสียสายตา กล้ามเนื้อปวดล้า เสียพัฒนาการด้านอื่นๆ เพราะเสียเวลา เสียโอกาสการเรียนรู้ ครอบครัวก็ขาดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แถมยังนำไปสู่การติดสื่อหน้าจอประเภทอื่นๆ อีกด้วย

เรตติ้ง…เตือนภัยได้จริงหรือ

หลายปีแล้วที่บ้านเรามีการแจ้งเรตติ้ง (rating) ก่อนเข้ารายการทีวี (เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2549) คงน่าสนใจไม่น้อยหากมีใครจะทำวิจัยกันว่า ได้ผลหรือไม่อย่างไร แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ๆ กันอยู่คือ ผู้ใหญ่หลายๆ ท่านยังคงปล่อยให้เด็กๆ นั่งหน้าสลอน ดูทั้งรายการ น 13+ (เหมาะกับเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป)  น 18+ (เหมาะกับเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป)  หรือแม้แต่ รายการ ฉ (เฉพาะผู้ใหญ่ดู ไม่เหมาะกับเด็กและเยาวชน) ซึ่งก็คงต้องทำการประชาสัมพันธ์กันให้หนักหน่วงกว่านี้ละครับ เพื่อให้ผู้ใหญ่ และจริงจังกับ “เรตติ้ง..เตือนภัย” ที่ทางการอุตส่าห์ทำกันออกมาด้วยความเป็นห่วงใยเด็กๆ

banner300x250-1

อ่านต่อ “แนวทางทำให้ลูกไม่ติดทีวี” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up