อีกตัวอย่างหนึ่งคือ พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) ภาษาในที่นี้มิได้หมายถึงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่หมายถึงภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ความต้องการในใจ (Communication) พัฒนาการด้านนี้เกิดจากการเล่น และดีที่สุด คือ เกิดจากการเล่นสมมุติ (Pretend Play) หรือบทบาทสมมุติ (Role Play) เช่น สมมุติกล่องเปล่าเป็นบ้าน สมมุติจานเป็นเรือ สมมุติตัวเองเป็นพ่อครัวแม่ครัว เป็นครู เป็นหมอ เป็นต้น ภาษาเพื่อการสื่อสาร จะเกิดขึ้นระหว่างการเล่นมากที่สุด
แต่บ้านที่ปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์ตั้งแต่ ก่อน 2 ขวบ หรือปล่อยให้ลูกใช้เครื่องมือไอที ตั้งแต่ก่อน 3 ขวบมากเกินไป ย่อมเสียเวลาเล่น และส่งผลต่อการขัดขวางพัฒนาการ ปัจจุบันเราจึงพบเด็กที่ไม่สามารถพูดเพื่อ แสดงความต้องการได้มากขึ้น และเมื่อแสดงความต้องการด้วยคำพูดไม่ได้ก็จะแสดงออกด้วยอาการอื่นมากขึ้น เช่น ร้องไห้ไม่หยุด กรี๊ดเสียงดัง ตีหัวตัวเอง ตีคนอื่น นอนดิ้นพราดๆ ถีบแขนขา พูดอะไรก็ไม่ฟัง ไปจนถึงอยู่นิ่งไม่ได้ เป็นต้น
เด็กโตมีความจำเป็นต้องเล่นในสนาม และเล่นอิสระ (Free Play) พอสมควร เพราะจะช่วยพัฒนากระบวนการคิดเชื่อมโยง และคิดวิเคราะห์ (Cognitive Development) อย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม ดังที่ Jean Piaget (1896 – 1980) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดที่สุด การปล่อยเด็กเข้าสู่โซเชียลมีเดียในแต่ละวันมากเกินไป แล้วทำให้การเล่นในชีวิตจริงน้อยเกินไป จะขัดขวางทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างแน่นอน เพราะการละเล่นทุกชนิดเด็กได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาเป็นองค์รวม (Problem Solving)
ถึงขั้นตอนนี้เราควรสรุปได้ว่า โซเชียลมีเดียเป็นเรื่องสำคัญ ช่วยพัฒนาทักษะไอทีซึ่งเป็น 1 ใน 3 ทักษะสำคัญของทักษะศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) แต่ทำให้เสียเวลา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “เข้าโซเชียลมีเดีย เด็กเสียอะไร” คลิกหน้า 3