พัฒนาการช้าเมื่อไรควรจะไปหาหมอ?
2 เดือน ไม่จ้องหน้าสบตา
4 เดือน ไม่ชันคอ ไม่มองตาม
6 เดือน ไม่พลิกคว่ำหงาย นั่งโดยช่วยพยุงไม่ได้ หยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือไม่ได้ ไม่หันหาเสียงหรือส่งเสียง
9 เดือน นั่งเองไม่ได้ ไม่เป่าปาก ไม่เล่นน้ำลาย
12 เดือน เกาะยืนไม่ได้ เรียกชื่อแล้วไม่หันหา ไม่แสดงอาการโต้ตอบ
18 เดือน เดินเองไม่ได้ ไม่ชี้บอกสิ่งที่ต้องการหรือสนใจ เล่นสมมุติไม่ได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่ได้ ยังไม่พูด
2 ปี เตะลูกบอลไม่ได้ พูด 2 คำติดกันไม่ได้
2 ปีครึ่ง กระโดด 2 เท้าไม่ได้ พูดเป็นวลีไม่ได้
3 ปี ขึ้นบันไดสลับเท้าไม่ได้ พูดเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ได้
4 ปี ลงบันไดสลับเท้าไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เล่าเรื่องให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
การดูแลรักษาพัฒนาการช้า
1.เลี้ยงดูพัฒนาการทุกด้าน เช่น การเล่น การเล่านิทาน การพูดคุย ไม่ให้ดูโทรทัศน์มากเกินไป และสังเกต
2.ตรวจเพื่อหาสาเหตุของภาวะพูดช้าและรักษาตรงกับสาเหตุ ใช้อุปกรณ์ช่วยฟังถ้ามีความบกพร่อง
3.ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา และด้านอื่นๆ ที่บกพร่องอย่างสม่ำเสมอ พัฒนาการในชีวิตประจำวัน
4.การใช้ยา อาจจำเป็นเพื่อบรรเทาปัญหาพฤติกรรมบางอย่างเช่น ซน ไม่อยู่นิ่ง ต่อต้าน อาละวาด ก้าวร้าว
5.ตรวจหาและรักษาความผิดปกติที่พบร่วม เช่น ซน สมาธิสั้น การใช้กล้ามเนื้อมือและสายตา และสังคม
6.ด้านการศึกษา ควรเรียนในโรงเรียนทั่วไปร่วมกับเด็กปกติ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม การสื่อสาร
7.สื่อสารกับเด็กมากขึ้น โดยใช้คำที่ง่ายและสั้น ออกเสียงพูดให้ชัดเจน พูดในสิ่งที่เด็กสนใจและเกี่ยวข้อง
8.สร้างโอกาสให้เด็กเรียนรู้ทางภาษาเพิ่มเติมจากการเล่านิทาน ดูรูปภาพ พูดคุย งดการเล่นคนเดียว
9.ฝึกพูดให้ลูกผ่านการพูดคุย ฟังลูกพูดอย่างตั้งใจ ตั้งคำถามที่เหมาะกับพัฒนาการ ขยายความคำตอบลูก
ชมคลิป “เมื่อลูกมีพัฒนาการช้า” โดย พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
คลิกอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- แบบไหนเข้าข่าย ลูกพูดช้า
- 4 สิ่งควรรู้หากคุณกลัวลูกพัฒนาการช้า
- “พัฒนาการช้า” เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสังเกต
- จากแม่ถึงแม่: หยุดทีวี หยุดแท็บเลต ต้นเหตุลูกพูดช้า
- เผยเคล็ดลับ! ส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยเริ่มที่พ่อแม่
เครดิต: แพทย์หญิง จอมสุรางค์ โพธิสัตย์ วว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น, พญ.วชิราภรณ์ พรมจิตติพงศ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก, Child Care Consultants, ชญานี วัชรเกษมสินธุ์ นักจิตวิทยา