พัฒนาการเด็กวัยเตาะแตะ 1-3 ปี การเดินก้าวแรก ยิ้มครั้งแรก และการโบกมือครั้งแรก

หยิบๆ จับๆ จิ้มๆ หนูชอบทำ

น้องมิงค์ไม่เคยเดินผ่านอะไรโดยไม่ยื่นมือไปแตะมันเลยค่ะ ถ้าอยู่ที่บ้าน ข้าวของในบ้านไม่ปลอดภัยแน่ แต่ถ้าอยู่นอกบ้าน ตัวแกเองนั่นแหละจะเป็นอันตราย เรื่องนี้ทำคุณแม่เกือบเสียสติไปหลายหนเลย

หลบหน่อย หนูกำลังพุ่งไปแล้ว!

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องตกอกตกใจกับ จรวดตัวจิ๋วŽ ที่ร่อนหวือไปทั่วบ้าน เด็กวัยเตาะแตะพิสมัยการออกตัวและพุ่งไปให้เร็วที่สุดเท่าที่ขาเล็กๆ จะพาไปได้ พวกเขามีความสุขที่ได้วิ่งไปรอบๆ สำรวจทุกสิ่งรอบกาย

รับมือ! พฤติกรรมเตาะแตะน้อยช่างรื้อ

เจ้าตัวน้อยในวัยนี้หลายคนมีนิสัยชอบรื้อค้นข้าวของให้กระจัดกระจายไปหมด หรือไม่ก็กองสุมจนเกือบหาอะไรไม่เจอเลยก็มี จัดการอย่างไรดี?

หนูอยากชิมอาหารของแม่บ้าง

เคยสงสัยไหม ทำไมน‰า…เวลากินข้าวทีไร เจ้าตัวเล็กวัยเตาะแตะชอบมาจุ๊กจิ๊กอยากหม่ำอาหารในจานของคุณ แทนที่จะสนใจของในจานของหนูเอง (ซึ่งแน่นอนว่ารับประทานง่ายกว่าเยอะ) ก็เพราะ…อาหารจานนั้นเป็นของพ่อกับแม่ไง

เทคนิคชวนลูกอาบน้ำ ชนิดไม่มีปฎิเสธ

น้องโมไม่ชอบอาบน้ำเลยค่ะ ลงอ่างทีไร ร้องไห้โยเยทุกที จะแก้ไขอย่างไรดีคะ

เมื่อลูกฮา พาแม่เครียด

ทำไมหนอลูกเราถึงชอบเล่นตลก ทำท่าแปลกๆ บ๊องๆ อยู่เรื่อย ใหม่ๆ ก็น่ารักน่าชัง เรียกเสียงหัวเราะได้ดี แต่หลังๆ ชักน่ารำคาญจนคนอื่นไม่ค่อยสนุกด้วยแล้ว

ลูกคึกเกินเหตุ

ถ้าลูกคึกจนคุมสติไม่อยู่ทุกครั้งที่เขาอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้ารอบตัว เช่น ในห้างหรืองานปาร์ตี้ คุณจะช่วยให้เขาสงบลงได้อย่างไร

เทคนิคเอาใจวัย 1-3

เมื่อต้องป้อนข้าววัยเบบี๋ เคยสังเกตบ้างไหมว่า พอถึงเวลาที่น้องเล็กวัยเบบี๋ต้องกินข้าว พี่ใหญ่วัยเตาะแตะก็เริ่มต้องการตัวคุณแม่ขึ้นมาทันที

คิดให้ดี คำสั่งแม่นี่คลุมเครือรึเปล่า?

ไม่ว่าแม่จะสั่งให้เก็บของเล่นที่กองอยู่เต็มบ้านหรือแต่งตัวออกไปเที่ยวนอกบ้านกัน หนูน้อยก็ไม่ทำตามที่แม่สั่งเลยสักอย่าง แล้วอย่างนี้จะยอมให้ความร่วมมือกับคุณครูตอนต้องไปโรงเรียนหรือเปล่าเนี่ย

หงุดหงิดทีไร บอก ” เกลียด ” แม่ทุกที

จะมีอะไรน่าเศร้าไปกว่าตอนที่แก้วตายาใจของคุณตะโกนลั่นทั้งน้ำตาว่า หนูเกลียดแม่ !Ž อีกไหมนะ

ทำไมลูกเตาะแตะชอบพูดตาม?

เสียงสะท้อนที่ตามมาหลังจากทุกประโยคที่คุณพูดไม่ได้เกิดจากการอดนอนอย่างที่คิด แต่เป็นเสียงสะท้อนจากลูกวัยเตาะแตะของคุณเอง

ป่วนทุกที เวลาที่แม่ติดสาย

อาจเหมือนเรื่องเล็ก แต่ก็เป็นประเด็นคลาสสิก ที่คุณแม่หลายคนอยากหาทางแก้แบบละมุนละม่อม คุณแม่จูเล่าว่าน้องแจ็ค ลูกชายวัย 1 ขวบ 8 เดือน จะเกิดอาการหวีดวีน ทุรนทุรายทุกทีเวลาที่แม่มีโทรศัพท์เข้า ดูเหมือนเขาต้องการความสนใจมากเป็นพิเศษในจังหวะนั้น   วัยเตาะแตะ “ไม่ปลื้ม” กับอะไรก็ตามที่มาแย่งความสนใจของคุณไป ไม่ว่าจะเป็นกระดาษบนโต๊ะที่แม่กำลังจดรายการกับข้าว อาหารในครัวที่แม่ต้องปรุงให้เสร็จ และแน่นอน เจ้าโทรศัพท์ที่ดังแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เด็กวัยนี้ทำตัวไม่ถูก รู้สึกเคว้ง เมื่อพ่อแม่ละความสนใจจากเขาไปคุยกับวัตถุชิ้นเล็กอย่างกะทันหัน และปฏิกิริยาเดียวที่เขาพอจะนึกออกคือ “กรี๊ด” เพื่อเรียกความสนใจคืนมา และพ่อแม่ส่วนใหญ่ยอมจำนนต่อมือน้อยๆ ที่ทึ้งอยู่ตรงหัวเข่า ยอมวางสายทั้งนั้น ทั้งนี้อาการเอาชนะโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของเด็กและวิธีรับมือของคุณด้วย คาถาให้การคุยราบรื่นคงไม่มี แต่เรามีเทคนิคให้ลูกยอมสงบชั่วครู่มาแนะนำ   ทำเป็นตื่นเต้น แทนที่จะกำชับว่า “เดี๋ยวตอนแม่คุยโทรศัพท์ลูกห้ามกวนเข้าใจไหม” เพราะแน่นอนว่ามันไม่ได้ผลหรอก เมื่อโทรศัพท์ดัง รีบรุดไปที่โทรศัพท์อย่างตื่นเต้น “อุ๊ย! ใครโทร.มาน้า”เพื่อให้รู้ว่าโทรศัพท์ไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นเพื่อนที่น่าตื่นเต้นต่างหาก   อย่าระเบิดอารมณ์กลับ ข้อนี้คือกฎเหล็กในการตอบสนองวัยเตาะแตะอยู่แล้ว ความต้องการคุณแบบปุบปับนี้ แม้คุณเองจะรู้สึกว่ามันดูไม่สมเหตุสมผลเท่าไร แต่หากยิ่งต่อต้านหรือเล่นไม้แข็งอาการวีนมีแต่จะลุกลามเท่านั้น สัมผัส ลูบหลัง กอดเขาไว้ อุ้มมานั่งตัก และเล่นกระเด้งดึ๋งๆ ช่วยลดอาการ “อิจฉาโทรศัพท์” […]

เมื่อลูกเจ็บ แม่อย่าเจ็บตามลูก

ลูกตั้งแต่วัยราว 1 ขวบขึ้นไปจะเรียนรู้จากท่าทีของคุณ ว่าเขาควรแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่สำคัญมากคือสีหน้าของคุณพ่อคุณแม่!

วัย 1-3 ช่วยงานบ้านได้แค่ไหน

เมื่อถึงวัยราว 2 ขวบ เจ้าตัวเล็กมักชอบช่วยคุณแม่ทำงานบ้าน แล้วเขาจะมีทักษะในด้านนี้มากน้อยแค่ไหน ไปดูกัน

ลูกดื้อเหลือเกิน ทำไงดี

เพราะอะไรลูกถึงดื้อเหลือเกิน ไม่ยอมฟังพ่อแม่เลย จะทำอย่างไรดี

เตาะแตะ = ตัวตลกประจำบ้าน จริงไหม?

ทำไมเตาะแตะถึงชอบทำให้พ่อแม่พี่ป้าน้าอาหัวเราะกันนะ? แล้วมุกของเจ้าตัวน้อยมีอะไรบ้าง มาดูกัน!

ฝึกลูกคลาน และเดินอย่างไรดี?

ช่วงที่ลูกน้อยเริ่มหัดคลานจะกระทั่งเดินได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือแม้แต่คนใกล้ชิด ล้วนเป็นช่วงลุ้นระทึกและน่าตื่นเต้น เรามาช่วยเด็กน้อยฝึกคลาน-ยืน-เดินกัน!

รับมือเตาะแตะ “ชอบขว้าง”

วัยเตาะแตะกับนิสัยชอบขว้างเป็นของคู่กัน ขั้นตอนการจับ-กำ-แล้วปล่อยนั้นสนุก ได้มองของซึ่งกำลังลอยห่างออกไปด้วยแรงของตัวเองอีก แต่เป็นเรื่องปวดหัวของคุณแม่!

keyboard_arrow_up