เชื่อหรือไม่! การนอนไม่พอของลูกรัก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและความสุขของลูกสุดที่รักได้อย่างน่าตกตะลึง - Amarin Baby & Kids

เชื่อหรือไม่! การนอนไม่พอของลูกรัก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไปและความสุขของลูกสุดที่รักได้อย่างน่าตกตะลึง

Alternative Textaccount_circle
event
วันนี้คุณพ่อคุณแม่ ทราบไหมคะว่า!? สมองของลูกน้อยทํางานอย่างไรในขณะที่ลูกกำลังหลับ

ในช่วงเวลานอนสมองจะทำงาน เพื่อเสริมทักษะในการกระตุ้นความจำ สร้างการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหา การได้นอนหลับที่ดีและเพียงพอจะช่วยให้ลูกสนใจจดจ่อ ในการเรียนที่โรงเรียน มีความสามารถที่จะตัดสินใจและมีความคิดสร้างสรรค์

แต่จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อลูกน้อยไม่ได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ แน่นอนผลลัพท์ที่คุณพ่อคุณแม่เห็นก็คือ ภาวะขาดการนอนหลับ อาการสะลึมสะลือ ไม่สดชื่น แต่ความจริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะประหลาดใจถ้ารู้ว่า ผลกระทบของมันจะค่อนข้างร้ายแรงต่อสุขภาพและความสุขของลูกน้อย

ความจริง VS ความเชื่อ ? นอนไม่พอตอนเด็ก เสี่ยงเกิดโรคตอนโต

แน่นอนว่า เราทุกคนล้วนทราบดีถึงประโยชน์ของการนอนหลับที่เพียงพอต่อสุขภาพร่างกายของเด็ก ซึ่งมีอยู่มากมาย  ดร.ไมเคิล ลิม ที่ปรึกษาแผนกกุมารเวชกรรมโรคปอดเด็กและการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้สรุปผลเสียของการนอนไม่เพียงพอ หรือภาวะการอดนอนของเด็กดังนี้

  • การนอนหลับเพียงพอจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเด็ก เมื่อลูกน้อยอยู่ในช่วงการนอนหลับลึก ฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมาซึ่งไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายของลูกแล้ว แต่ยังช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และช่วยในการซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อด้วย
  • การนอนหลับจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กคงอยู่ในสภาพที่ดี การขาดการนอนหลับจะมีผลกระทบในเชิงลบกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ช่วงเวลาการนอนของเด็กไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่มีการซ่อมแซมหัวใจและหลอดเลือดของเด็ก ดังนั้น การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่​​ความเสี่ยง ของการเกิดโรคหัวใจและโรคไต ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่
  • การนอนหลับจะช่วยให้เด็กรักษาสมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เขารู้สึกหิว (ghrelin) หรืออิ่ม (leptin) เมื่อลูกของคุณนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้เขารู้สึกหิวมากกว่าตอนที่เขาได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ และนี่อาจนำไปสู่​​ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องอาหารในอนาคต เช่น โรคอ้วน

กล่าวโดยสรุป ก็คือการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสมองของลูกน้อย เพราะในช่วงที่ร่างกายมีการหลับลึก จะสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ เรียบเรียงความคิด และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี1

sleep-kid

5 ตัวช่วยสำคัญ ให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่า ลูกน้อยได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ

  1. มีเคล็ดลับหลายอย่างที่สามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่แน่ใจว่า ลูกรักได้รับการนอนหลับที่มีคุณภาพในแต่ละคืน และสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้น แต่เคล็ดลับที่ดีที่สุดก็คือ การให้ลูกได้ทานนมแม่ก่อนนอนค่ะ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน รวมทั้ง แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่ที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น  ชื่อ ทริปโตเฟน ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอน ให้หลับได้เร็วขึ้น2  จากการศึกษาของ Cubero, et. Al. พบว่า เด็กที่กินนมแม่จะนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากนมแม่มีระดับทริปโตเฟนในช่วงกลางคืนสูงกว่าในช่วงกลางวัน ขณะที่เด็กกินนมผสมจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะหลับ
  2. เรื่องของสภาพแวดล้อมการนอนหลับของเด็กก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันค่ะ เพียงคุณพ่อคุณแม่รักษาอุณภูมิห้องนอน ให้เย็นสบาย เงียบสงบ และมืด ก็จะช่วยให้เด็กๆ นอนหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ
  3. สร้างกิจวัตรประจําวันที่จะช่วยให้ลูกๆ ของคุณผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง หรือร้องเพลงกล่อมเบาๆ
  4. สร้างวินัยเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนอย่างเคร่งครัดเป็นประจำวันทุกวัน (รวมทั้งสุดสัปดาห์และวันหยุด)
  5. ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยใช้เวลางีบหลับในตอนกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกหลับได้ยากขึ้นช่วงกลางคืน

sleep-girl

ข้อแนะนํา ชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี

คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิกเฉยเกี่ยวกับการนอนหลับของลูกนะคะ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณได้รับการนอนหลับเหมาะสมเพียงพอ เพราะการนอนไม่พอ..อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกๆ ได้

จำนวนชั่วโมงการนอนของเด็ก

ที่มา: Howard, B.J. and Wong, J. Sleep disorders, Pediatrics in Review, 22:327-341, 2001

เอกสารอ้างอิง

  1. Michael Schupp MD FRCA, Christopher D Hanning MD FRCA. Physiology of Sleep. British Journal of Anaesthesia 2003; CEPD Reviews, Volume 3 Number 3
  2. Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up