"เอาของเข้าปาก" อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์
เอาของเข้าปาก

เอาของเข้าปาก อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

Alternative Textaccount_circle
event
เอาของเข้าปาก
เอาของเข้าปาก

จากเฟสบุ๊คของคุณแม่ที่ออกมาเตือนคุณแม่ท่านอื่น เมื่อคุณแม่สังเกตดูฟันของลูกน้อย พบเม็ดเลื่อมติดอยู่ที่เหงือกตรงซี่ฟันบน คุณแม่ตกใจมาก เอาแปรงฟันแปรงก็ไม่ออก เอามือล้วงก็ยิ่งติดแน่นจนลูกน้อยร้องไห้ คุณแม่จึงใช้วิธีตอนเผลอหลับค่อยๆ สะกิดออกด้วยด้ามไหมขัดฟัน นี่คือผลของการ “เอาของเข้าปาก” ของลูกน้อย

เอาของเข้าปาก
แชร์เตือนภัยลูกเล็กเก็บของเข้าปากอันตราย

ทำไมลูกถึงต้องเอาของเข้าปาก?

การเก็บของเข้าปากของลูกน้อย เป็นพัฒนาการตามวัยโดยปกติ เด็กขวบปีแรก – 2 ขวบ อยู่ในวันซุกซน เมื่อหยิบจับอะไรแล้วชอบเอาเข้าปาก ทำให้พ่อแม่ต้องคอยดูแลตลอดเวลาด้วยความเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด กลัวติดคอ กลัวติดนิสัย กลัวได้รับอันตราย

ปากเป็นช่องทางการเรียนรู้ เรื่องรสชาติ สัมผัส แข็ง นุ่ม สาเหตุที่เด็กขวบปีแรกชอบนำของเข้าปาก เพราะเด็กใช้ปากในการดูดนมเยอะ และขาดทักษะว่าของแต่ละชิ้นมีไว้ทำอะไร เด็กจะใช้ปากในการเรียนรู้ พร้อมพัฒนาการด้านอื่นๆ ด้วย เช่น กล้ามเนื้อมือ สายตา

อันตรายจากการเอาของเข้าปาก

เอาของเข้าปาก
ลูกเอาของเข้าปาก อันตรายใกล้ตัวลูกน้อย

เด็กวัยนี้เป็นวัยอยากเรียนรู้ ชอบสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า (ดู ฟัง ดม ชิม สัมผัส) เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์และพัฒนาสมอง การห้ามไม่ให้จับโน่นนี่จนมากเกินไป หรือขังเด็กไว้ในคอกกั้นเด็ก อาจปิดกั้นพัฒนาการและทำให้เด็กเป็นคนขี้กลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง แต่หากปล่อยให้ทำโดยขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดอาจมีอันตรายตั้งแต่ อาการเจ็บป่วยไม่สบายเนื่องจากได้รับเชื้อโรคเข้าปาก การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หรือ โลหะหนัก หรืออาจเสียชีวิตจากของเล่นหลุดเข้าหลอดลม ทำให้ขาดอากาศ หรือถูกไฟซ็อตหากกัดสายไฟ

ลูกเอาของเข้าปากไปแล้ว ทำยังไงดี?

1.พาลูกไปล้างปากทันที เพราะอาจมีสารในของเล่น หรือเชื้อโรคที่มองไม่เห็นอยู่ก็เป็นได้

2.สังเกตอาการหลังเอาของหรืออุปกรณ์เข้าปาก มีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ปากซีด ตาแดง หรืออาเจียน

3.ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

เอาของเข้าปากอย่างปลอดภัย

1.ไม่ควรเลือกของเล่นที่มีคม มีสารพิษ ไม่ใช้ตุ๊กตาหรือผ้า เพราะจะอมฝุ่นหรือสิ่งสกปรกได้ง่าย

2.คอยดูแลไม่ให้ลูกนำของชิ้นเล็กๆ เข้าปาก เพราะอาจติดคอขาดอากาศหายใจได้

3.หลังลูกเล่นเสร็จควรทำความสะอาดทุกครั้ง รวมถึงสิ่งของรอบๆ ตัวเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค

4.ทดสอบของเล่นก่อนให้ลูกเล่นโดยการเอาของเล่นใส่เข้าไปในแกนทิชชูถ้าของเล่นใหญ่กว่า แสดงว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก ของเล่นไม่หลุดเข้าคอแน่นอน

ประโยชน์ของการเอาของเข้าปาก

เอาของเข้าปาก
ลูกชอบเก็บของที่พื้นกิน

เมื่อลูกเอาของเข้าปาก ถ้าของสิ่งนั้นไม่เป็นอันตราย และมั่นใจว่าสะอาดปลอดภัย ยังไม่ต้องดึงออก เพื่อปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้จากการสัมผัส การอม หรืออาจจะเปลี่ยนสิ่งของเป็นขนม เช่น ขนมปังแท่ง ให้เขาได้หัดเคี้ยว พัฒนาด้านการกินของลูกได้ เบี่ยงเบนความสนใจของลูกด้วยการโยนลูกบอลไกลตัวลูกสักหน่อย ฝึกการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หรือใช้ของเล่นที่หลากหลาย เช่น ยางกัดให้ลูกเอาไว้กัดเล่น ลูกบอลฝึกโยนพัฒนากล้ามเนื้อมือ หนังสือนิทานเอาไว้อ่านให้ลูกฟังส่งเสริมจินตนาการ ฝึกให้ลูกช่วยตัวเองจะทำให้เขารักตัวเอง

วิธีแก้นิสัยลูกชอบเอาของเข้าปาก โดยนายแพทย์เดวิด ชอนเฟลด์

1.ใช้สายตาก่อนคำพูด จ้องที่ตาลูกให้ลูกหยุด ถ้าลูกยังไม่หยุดให้ใช้เสียงค่อนข้างดุ บอกว่า “มันอันตราย”

2.เก็บของให้พ้นมือลูก โดยเฉพาะของชิ้นเล็กๆ ที่เด็กสามารถเอาเข้าปากได้ เพราะลูกอาจกลืนลงคอ

3.สอนและอธิบาย ลูกวัยขวบกว่าสามารถรู้และเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดได้บ้างแล้ว หมั่นพูดบ่อยๆ ว่าไม่ควร

4.ชมลูกบ้าง เมื่อสอนลูกไปแล้ว ลูกเอาของเข้าปากน้อยลง ให้ชมลูกว่าเป็นเด็กดี เชื่อฟังพ่อแม่ และภูมิใจ

คลิกอ่านเพิ่มเติม “ระวังเด็กเล็กชอบเอาของเข้าปาก”

เครดิต: Facebook Thiti Chaya, phyathai.com, manager.co.th, breastfeedingthai.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up