"ตรวจสุขภาพลูก" รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันโรค
ตรวจสุขภาพลูก

“ตรวจสุขภาพลูก” รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันโรค

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจสุขภาพลูก
ตรวจสุขภาพลูก

Skin Test จำเป็นแค่ไหน

วิทยาการทางการแพทย์สมัยนี้  เพียงตรวจกับคุณหมอก็สามารถบอกได้แล้วว่า  ลูกน้อยของเรามีโอกาสแพ้อะไรได้บ้าง  เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อย  คุณประโยชน์ของการตรวจ Skin Test ฟังดูน่าสนใจ  แต่หากลูกน้อยไม่มีประวัติการป่วยเป็นภูมิแพ้  ไม่มีความเสี่ยง  และไม่มีอาการใดๆ ที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจได้ว่าลูกเป็นภูมิแพ้  คุณหมอก็ไม่แนะนำให้ตรวจทุกคน  ควรพาลูกมาตรวจเฉพาะเมื่อมีอาการแสดงผิดปกติ  เช่น  มีความผิดปกติเรื่องการหายใจและผิวหนัง  เพราะนอกจากลูกจะเจ็บตัว  ยังเป็นการเสียเงินโดยไม่จำเป็นด้วยค่ะ

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ไขปัญหาภูมิแพ้ โรคใกล้ตัว ที่น่ากลัวอนาคตลูกน้อย

banner300x250-1

การตรวจเช็กสุขภาพลูกเบื้องต้น ทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน

1. สังเกตการเจริญเติบโตของลูก

วิธีสังเกตการเจริญเติบโตของลูกอย่างง่ายๆ คุณพ่อคุณแม่อาจเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน  ว่าลูกของเรามีสัดส่วนแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน  หรือคำนวณแบบคร่าวๆ ด้วยตัวเอง  เช่น

  • เมื่อลูกอายุ 1 ขวบ  ควรมีน้ำหนักเป็น 3 เท่าของตอนแรกเกิด
  • เมื่อลูกอายุ 2-5 ขวบ  น้ำหนักควรเพิ่มประมาณ 2.5 กิโลกรัมต่อปี
  • เมื่อลูกอายุ 5 ขวบขึ้นไป  น้ำหนักควรเพิ่มประมาณ 3 กิโลกรัมต่อปี

ส่วนสูงก็เช่นเดียวกัน  เด็กในช่วงอายุ 2-5 ขวบ ควรจะสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 6-8 ซม.ต่อปี  และควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  หากน้ำหนักและส่วนสูงของลูกค่อนข้างนิ่ง  หรือแตกต่างจากเด็กวัยเดียวกันมาก  ควรพาไปตรวจกับคุณหมอสักครั้งนะคะ

การดูแลสุขภาพลูก
การตรวจเช็กสุขภาพลูกเบื้องต้น

2.  สังเกตพัฒนาการลูกน้อย

เรื่องพัฒนาการคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น วัยขวบครึ่งแล้ว หากยังไม่เดิน  หรือวัยสองขวบแต่ยังไม่พูด หรือพูดไม่ได้ แม้แต่คำที่ความหมายง่ายๆ สั้นๆ  นี่คือเกณฑ์ในระดับที่เรียกว่าพัฒนาการล่าช้าอย่างมาก  คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรลังเลในการพาไปพบคุณหมอ  หรือหากมีสิ่งที่ลูกเคยทำได้  แต่มาวันนี้กลับทำไม่ได้  ลูกอาจมีพัฒนาการถดถอย  เช่น  เคยพูดได้แต่ไม่พูด  เคยเดินได้แล้ว  แต่ไม่ยอมเดิน  คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระวัง  เพราะอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคออทิสติก  โรคทางสมองบางอย่าง  ความเจ็บป่วยที่แอบซ่อนอยู่ หรือเด็กอาจมีปัญหาด้านการปรับตัว  อารมณ์  หรือจิตใจ  ซึ่งต้องให้คุณหมอวินิจฉัยอย่างละเอียดอีกครั้ง

3. สังเกตการได้ยิน

หากลูกอายุหกเดือนแล้วยังไม่ค่อยเล่นน้ำลาย หรือเรียกแล้วดูไม่ค่อยสนใจ  อาจเป็นสัญญาณบอกว่าลูกมีปัญหาด้านการได้ยิน

4. สังเกตการมองเห็น

หากลูกหยีตาเวลามอง  หรือเอียงหน้าเอียงคอมอง  ควรระวังเรื่องของสายตาสั้น  และควรพาไปตรวจสายตากับคุณหมอด้วยนะคะ

อ่านต่อเรื่อง “ตรวจสุขภาพลูก เด็กยิ่งเสี่ยงยิ่งต้องตรวจ เพราะอะไร?” คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up