ตัวอย่างสิทธิการรักษา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ผู้มีบัตรทอง สามารถขอรับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ทำฟันเทียมฐานพลาสติก รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ โดยต้องรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่เลือก ถ้ารักษาต่างโรงพยาบาลต้องมีหนังสือส่งตัวระบุโรงพยาบาลที่ส่งต่อชัดเจน
2.ประกันสังคม
การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ผู้ประกันตนมีสิทธิรับค่าบริการและค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ผู้ประกันตนมีสิทธิรับค่าบริการและค่าฟันเทียมเท่าที่จ่าย ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
หลักฐานที่ใช้ในการยื่นขอรับประโยชน์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)
- ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคม พื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
3.ข้าราชการ
ข้าราชการมีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเอง บิดามารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรให้ไม่เกิน 3 คน
หมายเหตุ: ค่าบริการทำฟันของแต่ละโรงพยาบาลมากหรือน้อยแตกต่างกัน ควรตรวจสอบสิทธิบัตร และโทรสอบถามกับทางโรงพยาบาลหรือคลินิกที่จะใช้บริการทุกครั้งก่อนใช้บริการ
เครดิต: สมาคมแชร์ประสบการณ์การเป็นคุณแม่ และคุณแม่ตั้งครรภ์, pattayadental, ทันตแพทย์หญิงปวีณา คุณนาเมือง, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย