ข้อบ่งชี้ของวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็ก
- คนไข้ต้องผ่านการทดสอบว่า มีสารก่อสารภูมิแพ้เฉพาะก่อน โดยผ่านทางการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง หรือจากการจะเจาะเลือด เช่น แพ้ไรฝุ่น แพ้แมลงสาบ แพ้ขนสัตว์ หรือแม้แต่กระทั่งการแพ้เกสร หญ้า ซึ่งแพทย์จะนำข้อมูลเหล่านี้มาทำเป็นวัคซีน เพื่อที่จะใช้ในคนไข้แต่ละคน
- คนไข้ต้องมีความสม่ำเสมอในการรักษา เนื่องจากว่าจะใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน
- กลุ่มคนไข้ที่จะมารับวัคซีน ส่วนใหญ่จะเป็นคนไข้ที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงปานกลาง ถึงรุนแรงมาก ใช้ยาและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้แล้วไม่ดีขึ้น หรือว่าบางคนไม่อยากใช้ยา เนื่องจากใช้ยานานมีผลข้างเคียงจากยา ก็จะพิจารณาใช้วัคซีนได้ หรือคนไข้บางรายเป็นภูมิแพ้หลายอย่าง เช่นภูมิแพ้จมูกร่วมกับหอบหืด จำเป็นที่จะต้องใช้ยาเยอะ อาจจะเลือกใช้วัคซีนอย่างเดียวน่าเหมาะสมที่สุด อย่างภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กเล็ก ๆ ที่อาการค่อนข้างรุนแรงร่วมกับการแพ้ไรฝุ่นก็สามารถใช้วัคซีนได้เช่นกัน
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนอาจมีอาการบวม แดง คันบริเวณตำแหน่งที่ฉีด ซึ่งก็พบได้บ่อย แต่ที่หลายคนกลัว ๆ กันจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เช่น เป็นลมพิษ หรือมีอาการหอบ หืดกำเริบ แต่เกิดได้ไม่บ่อยน้อกว่า 1% เท่านั้น ของผู้ป่วยที่มารับวัคซีน
การบริหารวัคซีน ทำได้ 2 แบบ
การรักษา | ข้อดี | ข้อจำกัด |
1.ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง | 1.ขนาดยามาตรฐาน
2.ทราบค่าใช้จ่ายชัดเจนผลการรักษาแน่นอน |
1.มีผลข้างเคียงรุนแรงได้ |
2.อมใต้ลิ้นแล้วกลืน | 1.ไม่ต้องฉีดยา
2.ผลข้างเคียงรุนแรงน้อย |
1.ใช้ยาปริมาณมากกว่าค่าใช้จ่ายมากกว่า
2.ถ้าไม่ได้ผลต้องเปลี่ยนเป็นแบบฉีด |
บทความโดย : พญ.รัตนา เพ็ญศรีชล กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111
ภาพ : Shutterstock