ลูกโกรธ ลูกโมโห เรื่องธรรมดา แต่ต้องสอนลูกแสดงออก "ให้เป็น"
ลูกโกรธ

ลูกโกรธ ลูกโมโห เรื่องธรรมดา แต่ต้องสอนลูกแสดงออก “ให้เป็น”

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกโกรธ
ลูกโกรธ

หลักการพื้นฐานยังคงเป็นการฟัง พ่อแม่ฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี ปล่อยเขาเล่า คิดเสียว่าเขากำลังได้โอกาสฝึกทักษะเล่าเรื่องที่ดี ไม่มีคนขัด เราสามารถถามเพิ่มเติมได้ด้วยกริยาท่าทางสนใจอย่างเต็มที่ “ครูทำอย่างนั้นเลยหรอ“ “อั้ยย่ะ เพื่อนคนนี้ชื่อว่าอะไรนะ” จะทำอะไรก็ทำไปเถอะครับ ทำให้เขารู้ว่าเราใส่ใจ

ถ้าเขาเล่าเลยเถิดไปว่าชกเพื่อนไปแล้วหนึ่งที เรามีหน้าที่บอกเขาว่า “คราวหลังไม่ทำ” ถ้าเกิดเรื่องแบบนี้ให้เดินไปบอกครูดีกว่า บอกเขาว่า “พ่อและแม่อยากให้ลูก…..” ทำอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นก็ว่าไป   ถ้าเขาบอกว่าครั้งหน้าจะตื้บให้ติดดิน เรามีหน้าที่บอกเขาว่า “พ่อแม่ไม่อยากให้ลูก….” ไม่อยากให้ทำอะไรก็ว่าไป จะให้หรือไม่ให้เหตุผลผมไม่ถือ (แต่นักจิตวิทยาบางสำนักจะแนะนำให้เหตุผลทุกครั้ง) ในวัย 4 ขวบนี้เรามีหน้าที่บอกตรงๆ และสอนตรงๆ อย่างสั้น ง่าย และชัดเจน อะไรได้ อะไรไม่ได้

11232987_10204802809973462_8409993683454556430_n“บางทีไปไกลขนาดจะยิงเลย อยากขับรถถังไปทับ อยากเตะไปนอกโลกโน่น” อันนี้น่าชื่นใจว่าเขาสามารถจดจำและใช้ภาษาได้ดีมากครับ อย่าได้ตีความหรือฟูมฟายให้มากความ เรามีหน้าที่ฟังและอู้หู อื้อหือ โอ๊ยโยะ โหยแฮะ ไปเรื่อยแหละครับ ทำให้เขารู้ว่าเราฟังอยู่ ฟังอย่างตั้งใจ สนใจ และใส่ใจด้วย

ที่คุณพ่อคุณแม่ถามคำถามนี้มา ผมเดาว่าเพราะพวกเราไม่อยากให้ลูกทำร้ายคนอื่น คงมิใช่เพราะไม่ต้องการให้ ลูกโกรธ หรือโมโหใคร ใช่มั้ยครับ เรื่องที่คนเราเข้าใจผิดกันมากคือมักคิดว่าอารมณ์โกรธและความโมโหเป็นของไม่ดีที่ต้องกำจัดทิ้ง ซึ่งว่าที่จริงมันก็ไม่ค่อยดีจริงๆ นั่นแหละ แต่จะอย่างไรก็ตาม หากอยากให้ลูกของเราเป็นคนธรรมดาก็ควรต้องยอมรับ ฝึกยอมรับ และฝึกให้ลูกของเรายอมรับอารมณ์โกรธและความขี้โมโหของตนเอง

อ่านต่อ “โกรธได้ ไม่ผิด แสดงออกอย่างไร สำคัญกว่า” หน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up