“กระดูกสันหลังคด” ผู้ร้ายทำลายบุคลิกลูกโต

“กระดูกสันหลังคด” ผู้ร้ายทำลายบุคลิกลูกโต

Alternative Textaccount_circle
event

การรักษา

มีสองวิธีคือ การใส่เสื้อ (Brace) เพื่อปรับหรือดันกระดูกสันหลังให้เข้าที่ บ้านเรานิยมเรียกว่าเสื้อเกราะ (แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เสื้อเกราะกันกระสุน) อีกวิธีหนึ่งคือการผ่าตัด

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาจากความรุนแรงและอายุของเด็ก เช่น หากเด็กอายุ 9-10 ขวบ และมีมุมความคดประมาณ 35 องศา อาจรักษาด้วยการใส่เสื้อ หรือหากอายุ 13-15 ปี มีมุมความคด 30-40 องศา อาจให้ใส่เสื้อไปก่อน หากใส่เสื้อจนอายุ 16-17 ปีแล้วยังคงหลังคดอยู่และคดเพิ่มขึ้นมากก็ต้องรักษาด้วยผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีมุมความคด 60 องศาขึ้นไป จะต้องผ่าตัดโดยด่วนมิฉะนั้นจะเกิดการผิดรูปของกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครง ทำให้มีปัญหาระบบหายใจ จะหายใจไม่สะดวก เพราะปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้ศักยภาพในการทำงานของปอดไม่ดี

แต่เด็กบางคนที่หลังคดมาก เช่น เด็กอายุ 10 ปี กระดูกสันหลังมีมุมความคด 50 องศาขึ้นไป แพทย์อาจให้ลองใส่เสื้อนาน 1 ปี หากไม่ดีขึ้นก็ต้องผ่าตัดเช่นกัน มิเช่นนั้นจะหลังคดมากขึ้น

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกสันหลังคดได้แก่ 1) มุมความคดของกระดูกสันหลัง มีค่า 45 องศาขึ้นไป 2) มีความคดที่กระดูกสันหลังส่วนล่างในช่วงวัยรุ่นขึ้นไป

การรักษาด้วยการผ่าตัดในปัจจุบัน จะใช้สกรูยึดที่กระดูกสันหลัง และใช้แกนโลหะ 2 เส้นใส่เข้าไปเพื่อดามให้กระดูกสันหลังตรงขึ้น ในการดัดเส้นโลหะแพทย์ต้องดัดให้หลังมีความโค้งเหมือนกับคนปกติด้วยเพื่อความสวยงาม มิฉะนั้นจะกลายเป็นหลังแบน การเย็บแผลผ่าตัดจะเย็บแบบศัลยกรรมตกแต่งเพื่อให้แผลสวย จะเห็นแผลเป็นเพียงเส้นเดียวตรงกลางหลังเมื่อเด็กโตขึ้นแผลก็จะจางไปเรื่อยๆ เมื่อผ่าตัดรักษาแล้วก็ใช้สามารถใช้ชีวิตและมีครอบครัวได้ตามปกติ

child-594519_960_720

ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

เด็กจะมีความพิการผิดรูป หลังจะคดมากขึ้น ตัวเตี้ยลง ถ้าเป็นมากเข้าระบบหายใจจะทำงานได้ไม่ดี หอบเหนื่อยง่าย เพราะปอดถูกกดทับไม่ให้ขยายตัวได้เต็มที่ หากจุดที่หลังคดเป็นกระดูกสันหลังส่วนล่างจะทำให้เป็นโรคปวดหลัง

 

เด็กที่ชอบนั่งผิดท่าหรือนั่งหลังค่อม ควรแก้ปัญหาอย่างไร

ควรให้เด็กออกกำลังกาย เช่น ทำกายบริหารเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้เด็กจะติดนิสัยนั่งหลังค่อมไปตลอด และทำให้ปวดหลัง คนที่วิตกเรื่องนี้มักจะเป็นพ่อแม่ ส่วนตัวเด็กจะรู้สึกตัวเมื่อเป็นหนุ่มสาว บุคลิกท่าทางของเด็กจะดีได้ก็ต่อเมื่อมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง การทำกายภาพบำบัดนั้นไม่ได้ช่วยแก้หลังค่อมหรือแม้กระทั่งหลังคด แต่จะช่วยลดอาการปวดได้

 

เรื่องโดย : ศ.เกียรติคุณ นพ. เจริญ โชติกวณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

ภาพ : ShutterStock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up