ลูก แพ้ อาหาร กลุ่มเสี่ยง ที่แม่ไม่ควรทานมากไปทั้งในช่วงตั้งครรภ์ ให้นมลูก และช่วงลูกเริ่มอาหารเสริม สำหรับอาหารกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้ลูกแพ้มากที่สุดมาจากอาหาร 8 อย่าง ที่เรียกกันว่า Top 8 Food Allergens ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลในเรื่องนี้มาบอกต่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันค่ะ
ลูก แพ้ อาหาร กลุ่ม เสี่ยง แพ้ top 8 มีอะไรบ้าง?
ครอบครัวที่มีลูกเล็กควรต้องระวัง ลูก แพ้ อาหาร ที่มาจากอาหาร Top 8 Food Allergens กันให้มากขึ้น เพราะถือเป็นอาหารกลุ่มที่ทานเข้าไปแล้วมีเปอร์เซ็นต์ในการเกิดภาวะแพ้อาหารได้มาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่เริ่มได้รับอาหารทั้ง 8 อย่างนี้สะสมมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ หรือในเด็กบางคนอาจถูกกระตุ้นให้เกิดการแพ้อาหารเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเริ่มอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน
ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมกระตุ้นให้ ลูก แพ้ อาหาร จากอาหารกลุ่มเสี่ยงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากคนในครอบครัวมีประวัติโรคภูมิแพ้และหอบหืด เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ มักพบว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพ้อาหารกลุ่ม Top 8 กันมาก ไปดูกัน อาหารกลุ่มเสี่ยง ทั้ง 8 ชนิดนี้มีอะไรบ้าง…
1. นม (Milk)
เด็กในช่วงระหว่างแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก ที่ไม่ได้ทานนมแม่มีโอกาสเสี่ยงการแพ้นมได้สูงมากกว่าเด็กที่ทานนมแม่ แต่ก็มีบางกรณีที่ลูกมีอาการแพ้อาหารจากการทานนมแม่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าแม่ทานอาหารที่เป็นโปรตีนกลุ่มเสี่ยง นั่นคือ นมวัว ถั่ว น้ำเต้าหู้ ไข่ แป้งสาลี เบเกอรี่ เป็นต้น ซึ่งโปรตีนกลุ่มเสี่ยงที่ว่านี้จะผ่านถึงลูกทางน้ำนมแม่ เมื่อร่างกายลูกได้รับการกระตุ้นจากโปรตีนกลุ่มเสี่ยงนี้ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดการแพ้อาหารได้ง่าย และรวมถึงมีอาการแพ้อย่างรุนแรงด้วย
สังเกตอาการแพ้นม :
- ร้องไห้งอแงหลังทานนมอิ่ม
- อาเจียน หรือแหวะนม
- ผิวหนังมีผื่นแดงนูน
- มีอาการหอบ หายใจติดขัด
- ท้องเสียบ่อย ถ่ายเป็นเลือด
2. ไข่ (Egg)
พฤติกรรมการทานอาหารของแม่ในช่วงตั้งครรภ์สำคัญมากค่ะ เพราะอาหารที่แม่ทานมากไปในระหว่างท้องสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของลูก โดยเฉพาะการทานไข่ ถามว่าแม่ท้องกินไข่ไม่ดีเหรอ ดีค่ะ แต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม แล้วยิ่งถ้าในครอบครัวมีประวัติการแพ้ไข่ แนะนำว่าแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ รวมถึงตอนที่ให้นมลูกด้วย และเมื่อถึงวัยที่ลูกต้องเริ่มอาหารเสริมควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนว่าสามารถป้อนไข่ให้ลูกได้หรือไม่ ในกรณีที่ทานไข่ได้จะหลีกเลี่ยงการแพ้ไข่ให้กับเด็กเล็ก ด้วยการให้ทานไข่แดงได้แต่จะไม่ให้ไข่ขาว โดยที่ไข่ขาวจะเริ่มให้เด็กกินได้ก็ต้องรอ หลังอายุได้ 1 ขวบ เพราะไข่ขาวมีอัลบูมินที่ทำให้แพ้นั่นเองค่ะ
สังเกตอาการแพ้ไข่ :
- มีผื่นลมพิษ
- มีอาการแน่นหน้าอก
- มีการหายใจเสียงวี๊ดๆ เหมือนคนเป็นหอบ
- ปากบวกแดง คันกระพุ้งแก้ม
3. ข้าวสาลี (Wheat)
ในเด็กที่แพ้ข้าวสาลี พ่อแม่ต้องระวังในเรื่องอาหารการกินให้มากกว่าปกติ เพราะข้าวสาลี หรือแป้งสาลี เป็นหนึ่งใน ส่วนประกอบที่อยู่ในอาหาร เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เค้ก คุกกี้ ซีเรียล มะกะโรนี พาสต้า บะหมี่ ซาลาเปา ฯลฯ ในข้าว สาลีจะมีโปรตีนหลายชนิด ซึ่งสามารถไปกระตุ้นให้เกิดการแพ้ขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องต่อการแพ้ ง่าย เมื่อทานอาหารที่มีส่วนประกอบของข้าวสาลี ก็จะมีการแพ้อาหารขึ้น ดังนั้นควรระมัดระวังส่วนประกอบในอาหารก่อนให้ลูกทานด้วยนะคะ
สังเกตอาการแพ้ข้าว/แป้งสาลี :
- มีอาการท้องเสีย
- มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
- หายใจไม่สะดวก เจ็บปวดตามข้อ
4. ถั่วลิสง (Peanuts)
มีหลายครอบครัวค่ะที่มีประวัติแพ้ถั่วลิสง ซึ่งแน่นอนว่ารุ่นลูกก็มีโอกาสแพ้ถั่วลิสงได้เช่นกัน เรามักจะพบว่าถั่วลิสงเป็นส่วนประกอบของเนยถั่ว ช็อกโกแลต ขนมเค้ก บิสคิท ซอสสปาเกตตี้ ขนมปังธัญพืช ซอสปรุงรสต่างๆ ไอศกรีม แครกเกอร์ ฯลฯ
สังเกตอาการแพ้ถั่วลิสง :
- มีอาการไอ หายใจหอบแน่นหน้าอก
- ปากบวม ตาบวม
- ความดันต่ำ ช็อกและหมดสติ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต
บทความแนะนำ คลิก>> เตือนจากแม่ถึงแม่!! ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่ท้องโด๊ปอาหารกลุ่มเสี่ยงมากเกินไป
Good to know… กรรมพันธุ์ พบว่าหากในครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 หากมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ 2 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80[1]
อ่านต่อ Top 8 อาหารเสี่ยงแพ้ต้องระวัง หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่