ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไรเมื่อเด็กเป็นลมพิษ

ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไรเมื่อเด็กเป็นลมพิษ

Alternative Textaccount_circle
event
ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไรเมื่อเด็กเป็นลมพิษ
ผื่นลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร ดูแลอย่างไรเมื่อเด็กเป็นลมพิษ

ลมพิษในเด็ก คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งสร้างความรำคาญใจให้กับเด็กที่เป็นลมพิษ เพราะจะทำให้มีอาการคัน โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ผื่นลมพิษในเด็กมักจะทำให้เด็กงอแง ไม่สบายตัว เพราะคันจนทนไม่ได้ กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids มีวิธีในการดูแลลูกน้อยหากเกิดผื่นลมพิษมาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ค่ะ

ลมพิษในเด็ก เกิดจากอะไร?

ลมพิษ (Urticaria) หรือที่มักเรียกกันว่า “ผื่นลมพิษ” เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กโดยจะเกิดผื่นนูนแดงขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งอาจปรากฏทั้งบนใบหน้าและร่างกายในบางกรณีผื่นเหล่านี้อาจจะคันหรือรู้สึกแสบ ปกติแล้วผื่นลมพิษมักจะหายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง แต่หากมีอาการผื่นขึ้นซ้ำ ๆ หรือนานกว่า 6 สัปดาห์อาจจะกลายเป็นลมพิษเรื้อรัง

ซึ่งควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

1. การติดเชื้อ: เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา

2. การแพ้อาหาร: อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไข่ อาหารทะเล

3. การแพ้ยา: เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก หรือยาลดไข้ (แอสไพริน)

4. การถูกแมลงกัดหรือต่อย: เช่น ยุง ผึ้ง หรือมด

5. ปัจจัยจิตใจ: ความเครียดหรือความวิตกกังวลอาจกระตุ้นให้เกิดลมพิษ

6. สิ่งแวดล้อม: การสัมผัสกับอากาศร้อนหรือหนาวจัด หรือสารเคมีบางชนิด

ผื่นลมพิษในเด็ก อาการ สาเหตุการเกิดลมพิษ และวิธีการรักษา

ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร

ลมพิษในเด็กมีอาการคล้ายกับลมพิษในผู้ใหญ่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือเด็กมักจะร้องไห้งอแงมากขึ้นเมื่อรู้สึกคันจากผื่นลมพิษ ซึ่งทำให้การดูแลเป็นเรื่องท้าทายยิ่งขึ้น การบรรเทาอาการลมพิษในเด็กจะใช้วิธีเดียวกับผู้ใหญ่ เช่น การหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อากาศร้อน แสงแดด แมลงสัตว์กัดต่อย หรือไรฝุ่น คุณพ่อคุณแม่ควรระวังไม่ให้สิ่งเหล่านี้กระตุ้นอาการลมพิษ เพราะอาจทำให้ผื่นลุกลามได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลูบคลำบริเวณที่มีผื่น เพราะอาจทำให้ผื่นแดงขยายตัวและลุกลามไปอีก

โรคลมพิษในเด็ก เกิดขึ้นได้ 2 แบบ

1. โรคลมพิษเฉียบพลัน: เด็กที่มีอาการลมพิษเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เป็นแล้วจะหายไปเองภายใน 1 วัน

2. โรคลมพิษเรื้อรัง: เด็กที่เป็นลมพิษจะมีอาการเป็น ๆ หาย เป็นอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

ลมพิษในเด็ก มีอาการอย่างไร

เด็กที่เป็นลมพิษจะมีผื่นบวม นูนแดงสีออกขาวที่ล้อมรอบด้วยผื่นสีแดง ซึ่งมีทั้งแบบขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกันไป เด็กที่เป็นลมพิษจะรู้สึกคัน หากเกาตรงไหน ตรงนั้นก็จะเกิดผื่นแดงขึ้น โดยผื่นสามารถขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เด็กบางรายอาจจะมีอาการไข้ร่วมด้วย

  • เด็กเป็นลมพิษจะมีผื่นคัน นูน แดง บวม อาการบวมในบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตาบวม ปากบวม เป็นต้น หรือมีอาการปวดท้องรุนแรง แน่นอก หายใจไม่ออก
  • มีขอบเขตของผื่นชัดเจน เช่น ขึ้นผื่นบริเวณหน้า คอ แขนและบริเวณแผ่นหลัง
  • มักเป็นและหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง

หากลูกมีอาการผื่นลมพิษขึ้นเยอะผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะนั่นอาจจะเป็นลมพิษที่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการโรคลมพิษในเด็กแบบเฉียบพลันได้

การดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีอาการของโรคลมพิษในเด็ก

 

การดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีอาการของโรคลมพิษในเด็ก

1. ดูแลตามอาการ ถ้ามีอาการไม่รุนแรงมาก ผิวมีผื่นแดงเล็กน้อยอาการจะหายไปเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยา

2. หยุดทำหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เป็นลมพิษ เช่น อาหารที่กิน

3. ดูแลรักษาโรคที่อาจทำให้เป็นลมพิษ เช่น หวัด หรือการติดเชื้อเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

4. ถ้าพบว่ามีอาการรุนแรง รีบปรึกษาแพทย์โดยทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยโรคและป้องกันอาการช็อกที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากโรคลมพิษในเด็กจะเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับเด็กเล็กแล้ว ผื่นลมพิษในเด็กยังอาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคภูมิแพ้ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากลูกเริ่มมีผื่นแดงคันขึ้นตามตัวหรือตามใบหน้า ลูกน้อยอาจเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ได้ด้วยเช่นกัน

กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids แนะนำวิธีการดูแลไปแล้ว แต่การป้องกันไม่ให้ผื่นลมพิษเกิดขึ้นกับลูกก็จะดีมากกว่าการไปรักษาที่ปลายเหตุแล้ว ซึ่งอีกหนึ่งวิธีที่อยากแนะนำคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูกตั้งแต่ต้น นั่นก็คือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด ให้ลูกกินนมแม่ให้ได้นานที่สุด หรืออย่างน้อยให้ได้ 6 เดือน

คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรก หรือยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้เนื่องจากนมแม่มีคุณสมบัติ hypoallergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้และมีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมถึงโปรตีน PHP (Partially Hydrolyze Protein)และพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก เช่น 2’FL, DFL, LNT,6’SL และ 3’SL ซึ่งมีผลดีต่อระบบทางเดินอาหารและการพัฒนาภูมิคุ้มกันนอกจากนี้ยังมีโพรไบโอติก B. lactis ที่ช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ทารกที่ได้รับนมแม่จึงมักมีภูมิคุ้มกันดีและเสี่ยงเป็นภูมิแพ้น้อยกว่า

หากคุณแม่ต้องการเช็กว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ลมพิษหรือไม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคภูมิแพ้ในเด็ก เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ หากรู้ก่อนแพ้คุณแม่ก็สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ของลูกน้อยได้เร็วยิ่งขึ้นหรือคุณแม่ท่านใดที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ในเด็ก ต้องการคำแนะนำในการป้องกันเพิ่มเติม
สามารถเข้ามาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  S-mom Club หากเริ่มต้นดี ไม่มีคำว่าแพ้รวมความรู้ทุกเรื่องของอาการแพ้ในเด็ก

 

 

อ้างอิง
1. Dallas DC, et al. J Mammary Gland Biol Neoplasia. 2015 Dec;20(3-4):133-47.
2. Dallas DC, et al. J Nutr. 2014 Jun;144(6):815-20
3. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.
4. https://www.childrenhospital.go.th/8732/บริการสำหรับประชาชน/infographic/โรคลมพิษ/

 

 

 

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก


ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, honestdocs, www,pikool.comwww.winnews.tv

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up