เตาะแตะ = ตัวตลกประจำบ้าน จริงไหม? - Amarin Baby & Kids

เตาะแตะ = ตัวตลกประจำบ้าน จริงไหม?

Alternative Textaccount_circle
event

แค่อายุ 2 ขวบ จอมแสบตัวน้อยก็ผันตัวเป็นจอมตลกประจำบ้านแล้ว แต่ละวันช่างสรรหาเทคนิคเรียกเสียงฮาจากพี่ป้าน้าอา ทำเสียงประหลาดบ้างละ ทำตัวบ๊องๆ เกินความคาดหมายบ้างละ (เช่น ลอกกระดาษซาลาเปามาแปะบนหน้าผาก) แล้วถ้ามุกไหนเวิร์คžŽ พ่อหนูแม่หนูก็จะเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น

หากสังเกตดีๆ จะรู้ว่าเขาเรียนรู้จากคุณนั่นละ ตั้งแต่วัย 6 เดือนทารกเริ่มหัวเราะคิกคักเมื่อคุณพ่อคุณแม่หรือคนคุ้นเคยทำอะไรที่ต่างจากความคาดหมาย เช่น แกล้งเอาขวดนมของเขามาดูด หรือเอาผ้าอ้อมมาสวมแขนตัวเอง และเมื่ออายุครบขวบ ลูกก็จะลองเล่นพิสดารเพื่อให้คุณหัวเราะบ้างละ โดยหนีไม่พ้นมุกต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ใช้อุปกรณ์ช่วย

เด็กวัย 1 ขวบค่อนข้างเข้าใจแล้วว่าเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ใช้งานอย่างไร มุกคลาสสิกหนึ่งก็คือ เอามันมาเล่นแบบผิดที่ผิดทาง เช่น เอาขันมาครอบศีรษะ เอาแปรงหวีผมมาเล่นเป็นโทรศัพท์ ฯลฯ

2. เล่นกวนๆ กับภาษา

เมื่อถึงวัย 2 ขวบ ภาษาของเด็กน้อยเริ่มพัฒนาขึ้น เจ้าตัวน้อยจะเริ่มใช้มันอย่างเจ้าเล่ห์ เช่น เมื่อคุณถามว่าไหนจมูก? เขาจะชี้ที่สะดือของตัวเอง หรือหยิบตุ๊กตาขึ้นมาแต่บอกว่านี่คือ หมาŽ เพื่อจะได้เห็นหน้าฉงนๆ ของคุณ บางครั้งก็แค่อยากเห็นอาการฉุนๆ ของพ่อแม่จากความยียวนของตัวเองเท่านั้นเอง

3. ป่วนต่อมขำซ้ำแล้วซ้ำอีก

ดร.พอล แมกกี นักจิตวิทยาพัฒนาการ อธิบายว่า พฤติกรรมจี้เส้นเริ่มขึ้นพร้อมๆ กับที่ลูกรู้ว่าเขามีอำนาจเรียกความสนใจจากคุณได้ และเมื่อเด็กวัยนี้ต้องการความสนใจจากคุณไม่มีที่สิ้นสุด เขาจึงชอบทำซ้ำๆ อย่างไรล่ะ!

แม้จะเป็นมุกเดิมๆ แต่ถ้ามันไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยก็ขำเสียหน่อย จะช่วยให้ลูกไม่สูญเสียความมั่นใจ และยังช่วยเสริมทักษะในการเรียกอารมณ์แจ่มใสให้ตัวเองและคนรอบข้างด้วยนะ เพื่อเสียงหัวเราะของพ่อแม่ หนูทำได้ทั้งนั้น จริงไหมคะ!

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ: Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up