- วัคซีนโรต้า (Rota)
วัคซีนโรต้า เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า ที่ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ และอาเจียนรุนแรงในทารกและเด็กเล็ก โดยเด็กจะได้รับวัคซีนในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน วัคซีนโรต้า มีด้วยกัน 2 ชนิด แบ่งออกเป็น
- ชนิด monovalent มี 2 ชนิด ได้แก่ human monovalent (Rotarix™) ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน และ human-bovine monovalent (Rotavac™) ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
- ชนิด human-bovine pentavalent (RotaTeq™, Rotasiil™) ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
โดยวัคซีนทั้ง 4 ชนิด สามารถเริ่มให้ได้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6 – 15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ หรืออาจจะพิจารณาให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ แต่อายุต้องไม่เกิน 2 ปี ซึ่งเป็นคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยแพทย์ควรอธิบายความเสี่ยงให้ผู้ปกครองได้ทราบ ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง หรือไม่ทราบว่าครั้งก่อนหน้าได้รับวัคซีนชนิดอะไรมา ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
ห้ามใช้วัคซีนนี้ ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (severe combined immune deficiency: SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน
- วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน
ให้วัคซีนครั้งแรกที่ 9-12 เดือน และครั้งที่สองเมื่ออายุ 18 เดือน (ในพื้นที่ที่มีการระบาดน้อยอาจเริ่มให้เข็มแรกเมื่ออายุ 12 เดือน) ในกรณีที่มีการระบาด หรือสัมผัสโรค ควรเริ่มฉีดวัคซีน และฉีดให้ครบโดยเร็ว ดังนี้
-
- สามารถเริ่มฉีดเข็มแรก ตั้งแต่อายุ 6 – 9 เดือน ให้ฉีดซ้ำเข็มที่ 2 ที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 3 ที่อายุ 18 เดือน
- ถ้าเริ่มฉีดเข็มแรกตั้งแต่อายุ 9 – 12 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน ได้ 2 เข็ม ถือว่าฉีดครบ
- ถ้าเริ่มฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน ได้ 2 เข็ม ถือว่าฉีดครบ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการควบคุมโรคระบาดของหัด อาจใช้วัคซีนหัด – หัดเยอรมัน (MR) แทนได้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ปี และผู้ใหญ่
ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด – คางทูม – หัดเยอรมัน และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด – คางทูม – หัดเยอรมัน – อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12 – 23 เดือน เข็มแรกมีโอกาสที่จะเกิดอาการชักได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับการฉีดวัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 2 – 4 ปี พบว่ามีอาการข้างเคียงไม่ต่างกัน กรณีเคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR และ VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน
- วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE)
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี มีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated; JEVAC™) ฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เข็มต่อมาอีก 1 – 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ อีกชนิดคือ วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE; CD-JEVAX™ และ IMOJEV™/THAIJEV™) ให้ฉีด 2 ครั้ง เข็มแรกที่อายุ 9 – 12 เดือน เข็มต่อมาอีก 12 – 24 เดือน live JE ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้
นอกจากนี้ สามารถใช้วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนชนิดไม่มีชีวิต (inactivated JE) ได้ และสามารถใช้วัคซีนชนิดไม่มีชีวิต (inactivated JE) ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีดชนิดมีเชื้อชีวิต (live JE) ได้ โดยห่างกันอย่างน้อย 12 เดือน
สำหรับผู้ที่เคยรับวัคซีนเชื้อไม่มีชีวิตชนิด (mouse-brain derived vaccine) ครบแล้ว อาจจะพิจารณาให้วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตกระตุ้นซ้ำอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 1 ปี
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนสำคัญอีกตัวที่เด็กทารกควรได้รับ โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะพิจารณาให้ฉีด ตอนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด), โรคหัวใจ, โรคอ้วน (มีค่าBMI มากกว่า 35), ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, หญิงตั้งครรภ์ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น
- วัคซีน HPV สำหรับเด็กหญิง
วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ป้องกันไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก และเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ทำลายสุขภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9-26 ปี อย่างไรก็ตาม วัคซีน HPV ยังสามารถฉีดในเด็กผู้ชายได้เหมือนกัน โดยจะไปช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาต มะเร็งช่องปากและหลอดคอ มะเร็งทวารหนัก หูดที่อวัยวะเพศของผู้ชาย
-
- การฉีดในเด็กผู้หญิง
แพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี แพทย์จะแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ในเดือนที่ 0, 6 – 12 เดือน สำหรับหญิงอายุ 15 – 26 ปี ให้ฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1 – 2 และ 6 - การฉีดในเด็กผู้ชาย
แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดวัคซีน HPV เฉพาะชนิด 4 สายพันธุ์ ในช่วงอายุ 9 – 26 ปี
- การฉีดในเด็กผู้หญิง
ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ควรได้รับวัคซีนเพราะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อใหม่ และการติดโรคซ้ำได้
เตรียมตัวอย่างไรก่อน พาลูกฉีดวัคซีน !!
- สมุดบันทึกการรับวัคซีน ห้ามลืม !! ควรนำสมุดบันทึกติดตัวมาด้วยทุกครั้ง
- ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง หากลูกมีอาการแพ้ยา หรือแพ้อาหารใด ๆ เพราะวัคซีนบางตัวมีผลต่ออาการแพ้ได้
- สามารถเลื่อนการรับวัคซีนออกไปได้ หากลูกไม่สบาย มีไข้ขึ้นสูง สามารถเลื่อนออกไปจนกว่าจะหายดีได้
- หากลืม หรือมีเหตุจำเป็นให้ไม่สามารถมาตามนัดได้ ควรแจ้งต่อแพทย์ และสามารถพาลูกมารับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ครบโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่
- สังเกตอาการแพ้ อาการข้างเคียงของลูก อย่างน้อย 30 นาทีหลังรับวัคซีน จึงกลับบ้านได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://guruvaccine.com/https://www.enfababy.com/https://ddc.moph.go.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่