3. การป้องกันโดยมุ่งกำจัดความเสี่ยงที่ตัวบุคคล
มีวิธีการดังนี้ คือ
- ผู้ปกครองต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง แม้เพียงชั่วขณะก็ตาม เช่น การรับโทรศัพท์ เดินไปเปิดหรือปิดประตู การเข้าครัวไปทำกับข้าว ฯลฯ
- ไม่ให้เด็กเดิน วิ่งรอบๆ บ่อน้ำ หรือแหล่งน้ำตามลำพัง โดยเฉพาะแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่มักจะมีหญ้าปกคลุมบริเวณขอบบ่อ ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย
- การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น รู้จักการเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือคนอย่างถูกวิธี โดยเมื่อพบคนตกน้ำ จมน้ำ ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เห็นเพื่อนวัยเดียวกันจมน้ำ ห้ามกระโดดลงไปช่วยเด็ดขาดแม้ว่าจะว่ายน้ำเป็นก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องทำคือการเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วย หรือการช่วยด้วยการโยนหรือยื่นอุปกรณ์ที่หาง่ายอยู่ใกล้ตัวช่วยคนตกน้ำ จมน้ำ เช่น ถังแกลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติก เชือก หรือกิ่งไม้ หรือผ้าขาวม้า
- สอนให้เด็กใช้เสื้อชูชีพ เมื่อต้องเดินทางน้ำ
Must Read >> เทคนิคสอนเด็กว่ายน้ำเอาตัวรอด ป้องกันเด็กจมน้ำ
4. การเยียวยาความเสียหาย
มีวิธีการดังนี้ คือ
- ผู้ดูแลเด็ก หรือคนในชุมชนต้องได้รับการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี สำหรับการอุ้มเด็กที่จมน้ำแล้วพาดบ่า หรือกระโดดวิ่งไปมารอบๆ หรือวางเด็กลงบนกระทะคว่ำแล้วรีดน้ำออกนั้น ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง และจะทำให้เด็ก หรือคนที่จมน้ำยิ่งขาดอากาศหายใจนานมากกว่าเดิม
เครดิต : สำนักโรคไม่ติดต่อ (www.ThaiNcd.com)
ถึงแม่ว่าจะมีวิธีการป้องกันอันตรายให้กับเด็กๆ จากการจมน้ำออกมามากมาย จะไม่เกิดประโยชน์ขึ้นเลย หากพ่อแม่ หรือผู้ที่ต้องดูแลเด็ก ยังปล่อยละเลยไม่ให้ความสำคัญกับเด็กๆ ปล่อยให้เล่นกันตามลำพังใกล้สระน้ำ หรือแหล่งน้ำต่างๆ ใกล้บริเวณบ้าน แน่นอนว่าตวามประมาทเพียงเสี้ยววินาที นั่นหมายถึงวินาทีชีวิตความไม่ปลอดภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นกับลูกหลานของทุกคน ดังนั้นสิ่งสำคัญผู้ใหญ่เองก็ต้องใส่ใจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากด้วย ถึงจะไม่เกิดการสูญเสียขึ้นค่ะ
อ่านต่อ >> วิธีฝึกใช้ขวดพลาสติกลอยตัวในน้ำ ป้องกันการจมน้ำ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่