ความเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน
ศาสตราจารย์แพทย์หญิง นงพงา ลิ้มสุวรรณ ได้อธิบายถึงความเป็นหญิงหรือชาย อย่างละเอียดว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความสำนึกว่าตนเองเป็นหญิงหรือชาย เป็นความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในใจของคนๆนั้นว่าเขาเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เป็นความสำนึกหรือการมองตนเองว่าเป็นเพศใด ความรู้สึกนี้จะค่อยเกิดขึ้น หรือพัฒนาเลยมาตั้งแต่วัยทารก และจะต้องเกิดความรู้สึกที่ชัดเจนแน่นอนภายในอายุ 2-3 ปี โดยจะสังเกตได้ว่าเด็กอายุก่อน 2 ปี เวลาถูกผู้ใหญ่ถามเล่นๆ ว่า “หนูเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิง ” เด็กมักจะตอบตามคำหลังว่า “ผู้หญิง” เพราะเด็กยังไม่รู้เพศของตัวเองอย่างแน่ชัด แต่เมื่อเด็กอายุเลย 2 ปี ถูกถามแบบนี้เขาจะตอบซ้ำๆ ได้ตามเพศที่แท้จริงของตนว่าเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชาย คำตอบจะไม่เปลี่ยนตามคำท้ายของคำถามแล้ว
2. พฤติกรรมประจำเพศ วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดบทบาทหรือพฤติกรรมประจำเพศ โดยวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะแบ่งบทบาทหญิงชายออกจากกัน เช่น เด็กหญิงถูกกำหนดว่าต้องพูดจาแบบหนึ่งลงท้ายด้วยคำว่า คะ ขา น้ำเสียงอ่อนโยน ส่วนเด็กชายให้พูดลงท้ายด้วยคำว่า ครับ เสียงเข้มแข็งกว่าเด็กหญิง และใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า ผม และยังมีพฤติกรรมอีกมากที่แยกความแตกต่างระหว่างหญิงและชายชัดเจน เช่น การแต่งกาย การใช้เครื่องประดับ กิจกรรมในบ้าน การเล่นบทบาทต่างๆ เหล่านี้ของหญิงและชายจะแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วในขวบปีที่ 5
3. การจะเลือกเพศของคู่ครอง ตามปกติธรรมดามนุษย์จะเลือกเพศตรงข้ามเป็นคู่ครองของตนเพื่อสร้างครอบครัวสืบวงศ์ตระกูลต่อๆ ไป แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ทำอย่างนี้ แต่กลับไปชอบและสนใจเพศเดียวกันและต้องการร่วมเพศกับเพศเดียวกัน ที่เรียกว่ารักร่วมเพศ (homosexuality) นอกจากนั้นยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ชอบ สนใจและต้องการร่วมเพศกับทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน ซึ่งเรียกว่ารักร่วมสองเพศ (bisexuality) ความต้องการเหล่านี้จะแสดงออกเมื่อใกล้วัยรุ่น ถ้าพบวัยรุ่นมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นเพียงครั้งคราว คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่ต้องตกใจมากเกินกว่าเหตุ ถ้าวัยรุ่นนั้นได้พัฒนามาดีโดยตลอดจากวัยเด็ก และวัยรุ่นนั้นกำลังหาประสบการณ์ทางเพศก็เป็นได้1
ความเป็นหญิงหรือชายของลูกบางครั้งพ่อแม่ก็ไม่อาจรู้ได้เลย เพราะลูกอาจมาแสดงออกตอนโตขึ้นมาแล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ก็อยากที่จะแก้ไขให้ลูกเป็นหญิงแท้ ชายแท้ได้ เพราะทั้งร่างกาย และจิตใจลูกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชายบางคนมีฮอร์โมนเพศหญิง เพศชายสูงในร่างกายของตัวเอง ก็อาจแสดงออกถึงการเบี่ยงเพศทางเพศให้พ่อได้เห็นกันตั้งแต่เด็กๆ เลยก็มี ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยความเข้าใจ และความรักจากพ่อแม่อย่างมาก เพราะหากพ่อแม่ไม่สามารถที่จะยอมรับในความเป็นตัวตนของลูกได้ ก็อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวไปตลอด
อ่านต่อ >> “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ผิดเพศ” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่