1. ก่อนจะซื้อเสื้อผ้าใหม่ เช็คสมบัติเก่าให้แน่ใจก่อน แล้วจัดแบ่งหมวดหมู่ จดเป็นรายการเอาไว้ โน้ตเหล่านี้จะช่วยให้มองเห็นชัดขึ้นว่าเสื้อผ้าชิ้นไหนที่ควรซื้อใหม่
2. แยกกองเสื้อที่ยังใส่ได้ แต่ว่าต้องปรับปรุงหรือซ่อมแซมเอาไว้
3. อย่าเอาเสื้อผ้าบางชิ้นที่คุณเห็นว่ารสนิยมหลุดโลก แต่ลูกกลับรักเหลือใจ (เช่น พวกชุดยอดมนุษย์ทั้งหลาย) ไปบริจาคหรือขายทิ้งเสียหมด ให้เด็กๆ เก็บชุดที่ชอบเอาไว้ได้คนละชุดเป็นของรักของหวง
4. แบ่งงบประมาณค่าเสื้อผ้าของลูกแยกเป็นคนๆ ไป และงบนี้ต้องเป็นงบที่คุณสามารถจ่ายได้ ไม่ใช่งบที่คุณอยากจ่าย
5. การซื้อเสื้อผ้าตามฤดูกาลมักได้ของราคาแพง ชุดกระโปรงผ้าป่านหน้าร้อนมักถูกโละมาเซลช่วงเข้าหน้าหนาว ขณะที่เสื้อกันหนาวตัวนุ่มก็ราคาถูกสุดๆ ช่วงเดือนเมษายนเหมือนกัน
6. ซื้อเสื้อผ้าใหญ่กว่าไซส์ของลูกประมาณ 1 – 2 ไซส์
7. เสื้อผ้าบางชิ้นน้องสามารถรับส่งทอดจากพี่ได้ก็จริง แต่อย่าให้หนูน้อยได้ใช้แต่ของเก่าส่งทอดไปเสียทุกชิ้นล่ะ
8. ร้านค้าประเภทเอาท์เล็ตและพวกสินค้าลดราคา อาจไม่ถูกกว่าสินค้าจากร้านอื่นเสมอไป เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดีควรเซอร์เวย์ตรวจสอบราคาก่อนออกลุยช็อปจริงหนึ่งรอบ
9. เสื้อผ้าบางชิ้นแม้จะเก่า แต่ยังเปลี่ยนลุคได้ เช่น กางเกงยีนตัวเก่งที่ลูกใส่จนหัวเข่าขาด แต่ยังใช้เศษผ้าปะให้กลายเป็นยีนสุดเก๋ หรือปะตัวการ์ตูนน่ารักๆ ทับบนรอยสีที่เลอะเสื้อยืด ฯลฯ
10. ถ้าลูกหวงกระโปรงตัวโปรดที่ชักจะสั้นไปหน่อย ก็ลองเลาะตะเข็บออก จะได้กระโปรงที่ยาวขึ้นอีกนิด แถมประหยัดด้วย
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง