#3 ปฏิเสธที่จะทำสิ่งที่ไม่ต้องการทำ
เมื่อร้องงอแง เอาแต่ใจ อยากได้ในสิ่งที่ต้องการเป็น ลูกก็รู้จักปฏิเสธที่จะทำสิ่งที่ไม่ต้องการทำด้วยเช่นกัน
วิธีรับมือ : หากลูกดื้อ ไม่ยอมทำตามในสิ่งที่แม่พูด การพูดดุด่าว่ากล่าวในกรณีที่ลูกดื้อ ไม่เชื่อฟัง ไม่เป็นผลดีต่อตัวลูกเลยค่ะ คุณแม่ลองเปลี่ยนคำพูดโดยเสนอทางเลือกหรือสร้างเงื่อนไขใหม่ เช่น “ลูกควรเลิกเล่นเดี๋ยวนี้” เป็น “แม่ให้เวลาเล่นอีก 10 นาที แล้วไปเตรียมตัวนอนกันนะคะ” การให้ทางเลือกจะช่วยทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับและตอบโจทย์ในแบบที่คุณแม่ต้องการได้
#4 ร้องไห้เก่งแสดงความดื้อรั้น
เพราะธรรมชาติของเด็กเล็กยังพูดไม่คล่อง วิธีการแสดงออกด้วยอาวุธที่ติดตัวมาแต่เกิดก็คือ การร้องไห้โวยวาย เมื่อไม่ได้ดั่งใจหรือเกิดความคับข้องใจขึ้นมา
วิธีรับมือ : ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ลูกวัยเล็ก เมื่อลูกระเบิดอารมณ์ร้องไห้ขึ้นมา ลองใช้วิธีเพิกเฉย ด้วยการปล่อยให้ลูกร้องไห้เพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ร้องไห้เอาแต่ใจด้วยตนเองเป็น แต่อย่าแสดงทีท่าทอดทิ้งลูกปล่อยให้ลูกร้องไห้ลำพังนะคะ เมื่อลูกอารมณ์สงบแล้วให้กลับไปหาพร้อมชื่นชมและพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองเป็นและรู้จักกับความผิดหวังที่เกิดขึ้นได้
#5 หัวร้อน ใจร้อน
ลูก 3 ขวบ เอาแต่ใจ เป็นเพราะระดับความอดทนยังมีไม่มากพอ ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี จึงทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กใจร้อน ขี้งอแง
วิธีรับมือ : การรอเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกที่จะเรียนรู้วิธีรับมือกับการรอคอย คุณแม่สามารถสร้างวินัย ฝึกความอดทน และรู้จักรอคอยให้เจ้าตัวเล็กได้ ด้วยการเริ่มต้นทำกิจวัตรประจำวันภายในบ้าน เช่น การนอน กิน อาบน้ำ แปรงฟัน ที่ควรทำให้ตรงเวลา หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อเรียนรู้การเข้าสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ประสบการณ์จะทำให้ลูกเรียนรู้การมีวินัยความอดทน และรับมือกับสถานการณ์ได้
#6 เป็นตัวของตัวเอง
เด็กวัย 3 ขวบ เริ่มมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง การแสดงความต้องการ ร้องที่อยากจะได้ อยากทำ คำเตือนที่คุณแม่คอยบอกให้ระวังหรือไม่กระโดดโลดเต้น ถ้าแม่บอกให้ลูกทำอะไรดูเหมือนว่าลูกจะไม่อยากรับฟังและสนใจที่จะทำตามเท่าไหร่ การสร้างกฎของตัวเองเป็นสิ่งที่มุ่งมั่นตามความคิดของเด็กวัยนี้
วิธีรับมือ : การใช้วิธี Time Out หรือการขอเวลานอก เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กในขณะที่ลูกมีอารมณ์โกรธ เอาแต่ใจ ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟัง หากคุณพ่อคุณแม่ลองศึกษาวิธี Time Out ในสถานการณ์ที่เหมาะสมกับลูก ก็จะทำให้เด็กเข้าใจและรู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ตัวเอง และลองใช้ระบบการให้รางวัล ให้ดาว เพื่อตอบแทนพฤติกรรมทำดีดูค่ะ เช่น ให้ดาวเมื่อลูกรู้จักเก็บของเล่น ช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เด็กทริปเปิ้ลทรีจะมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ การชื่นชมเมื่อลูกทำดี กอด หอมแก้ม ก็ถือเป็นรางวัลเพื่อให้ลูกรู้สึกดี ลดภาวะการเอาแต่ใจลงได้
อันที่จริง ลูก 3 ขวบ เอาแต่ใจหรือมีพฤติกรรมต่อต้าน ดื้อรั้นในวัยนี้ คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามวัยของเด็ก อารมณ์ที่ลูกแสดงออกในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ซึ่งเด็กแต่ละคนก็จะมีพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่รู้ทันและรับมือกับพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกในวัยนี้ได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยปรับพฤติกรรมลูกน้อยให้มีอารมณ์ นิสัย ที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตทั้งในบ้านและสังคมนอกบ้านได้อย่างมีความสุข ที่สำคัญการเลี้ยงลูกในวัยนี้ถือเป็นงานท้าทายของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งบางครั้งเราเองที่จะเก็บอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ อย่าลืมข้ามผ่านจุดนี้กันไปให้ได้นะคะ.
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.verywellfamily.com
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจอื่นๆ
12 ของเล่น เด็ก 3 ขวบ เสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยในยุค 4.0
สิ่งที่พ่อแม่อยากรู้ พัฒนาการ เด็ก 3 ขวบ ลูกควรทำอะไรเองได้บ้าง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่