เด็กที่ อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ได้เป็นเด็กที่ไม่เคยเจอความผิดหวังมาก่อนเลย เพียงแต่เป็นเด็กที่สามารถจัดการและรับมือกับอารมณ์และความผิดหวังต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
5 ลักษณะนิสัยของเด็ก “อารมณ์ดี” มีความมั่นคงทางจิตใจ
แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกเป็นเด็กที่มี อารมณ์ดี ได้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิต แต่ในการใช้ชีวิตจริง ๆ แล้วนั้น พ่อแม่ทุกคนก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่ลูกจะไม่ได้ไปเจอกับวันแย่ ๆ และความผิดหวังในชีวิต ลองสังเกตดูสิคะความผิดหวังเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของลูกตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ เช่น ผิดหวังเมื่อไม่ได้เล่นของเล่นที่ต้องการ ผิดหวังที่ไม่ได้ดูการ์ตูน คำถามคือ คุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวังนั้นอย่างไรบ้างคะ? ในวัยที่ลูกยังเล็กอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเลือกที่จะยอมตามใจลูกบ้าง หรือบางบ้านอาจจะตกลงกับลูกให้ลูกได้สิ่งที่ต้องการแต่ต้องทำตามกติกาของพ่อแม่….
แต่เมื่อลูกค่อย ๆ เติบโตขึ้น จนถึงวัยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าไปช่วยลูกในการรับมือกับความผิดหวังได้แล้ว การวางพื้นฐาน สร้างลักษณะนิสัยให้ลูกรู้จักรับมือและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ จะช่วยให้ลูกเป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถมองโลกได้อย่างเข้าใจ รู้จักรับฟังเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีพลังบวกส่งให้กับคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ลูก สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น มาสร้างลักษณะนิสัยให้ลูกเป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์กันดีกว่าค่ะ
5 ลักษณะนิสัยของเด็ก “อารมณ์ดี” มีความมั่นคงทางจิตใจ
-
รับมือกับจุดอ่อนของตนเองและอย่าตัดสินผู้อื่น
คนที่มีจิตใจเข้มแข็งจะเข้าใจถึงพลังของความคิด และเข้าใจถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง สำหรับจุดอ่อนที่ตนเองมีนั้น ควรจะทำความเข้าใจว่าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้บ้างหรือไม่? อย่างไร? และหากยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขมัน หรือแก้ไขไม่ได้ ควรจะรู้จักที่จะรับมือและอยู่กับมันได้อย่างไร? และเมื่อเข้าใจถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองได้ คน ๆ นั้นจะรู้ดีว่า คนเราทุกคนย่อมมีจุดอ่อนและจุดแข็งเช่นกัน ดังนั้น การตัดสินผู้อื่นในทางที่ไม่ดี อาจจะทำให้คน ๆ นั้นสูญเสียกำลังใจในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้
2. ไม่เชื่อในความคิดของตนเอง
ผลลัพธ์ในทางบวกของการไม่เชื่อในความคิดของตนเองและการลดอคติจะทำให้คน ๆ นั้น มีความอ่อมน้อมถ่อมตน และคนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมักจะคอยระมัดระวังอยู่เสมอว่าสิ่งที่ตนเองกำลังคิดหรือกำลังทำอยู่นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดก็เป็นได้ นอกจากนี้ คนที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมักจะมีความเต็มใจที่จะถูกพิสูจน์ว่าตนเองผิดหรือไม่โดยไม่มีความรู้สึกเสียใจที่ถูกวิจารณ์แต่อย่างใด และเมื่อยอมรับในความผิดพลาดของตนเองได้แล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีห้องที่พร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้มากกว่าคนที่ไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ก็เหมือนกับคนที่พร้อมจะเทน้ำออกจากแก้วเมื่อมองเห็นว่าน้ำในแก้วนั้นเสียแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีพื้นที่ที่จะใส่น้ำที่ดี ๆ มากกว่าคนที่มีน้ำอยู่เต็มแก้ว และไม่พร้อมที่จะเทน้ำเดิมออกจากแก้วใช่ไหมล่ะคะ? แต่การไม่เชื่อในความคิดของตนเองนี้ มีความแตกต่างจากคนที่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง คนที่ไม่เชื่อในความคิดตนเองนั้น จะใช้ประโยชน์จากความรู้ใหม่ ๆ หรือความคิดของผู้อื่นมาปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
3. อย่าสงสารตัวเอง
คนที่มีจิตใจเข้มแข็งจะต้องไม่สงสารตัวเอง เพราะการสงสารตัวเอง จะนำไปสู่การยอมแพ้ การไม่ลุกขึ้นสู้หรือทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย ความสงสารตัวเองจะทำให้คุณคิดว่าคุณควรจะพอแค่นี้ คุณควรจะได้พักบ้าง ความคิดเหล่านี้จะทำให้คุณไม่มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง สูญสิ้นความตั้งใจและความพยายามที่จะเพิ่มศักยภาพของตนเองให้ไปสู่ความสำเร็จได้
4. มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
คนที่มีจิตใจเข้มแข็งจะต้องไม่สงสารตัวเอง แต่กลับต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น ความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจต่อผู้อื่นมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของมนุษย์มากกว่าการแสวงหาความอยู่รอดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ในโลกที่มีการปฏิสัมพันธ์และความซับซ้อน ความร่วมมือกันจะนำพาสิ่งต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จคนทุกคนจึงต้องมีทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพื่อให้รู้จักการทำงานกันเป็นทีม และรู้จักการยอมรับกฏกติกาต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกันได้
5. เข้าใจในความกลัวของตนเองและรู้จักความคุมมัน
1 ในคุณลักษณะที่สำคัญของคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง คือคนที่รู้จักควบคุมความกลัวของตนเอง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เมื่อเด็กกลัวที่จะแพ้ ก็มักเลือกที่จะไม่เล่นเกมนั้น ๆ ไปเลยเพราะไม่อยากแพ้ เราที่เป็นผู้ใหญ่ เมื่อเห็นเด็กไม่ยอมเล่นเกมเพราะกลัวแพ้ รู้สึกอย่างไรบ้างคะ? รู้สึกว่าทำไมไม่ลองเล่นดูก่อนล่ะ แพ้ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย ก็แค่เล่นใหม่ ใช่ไหมล่ะคะ งั้นขอยกตัวอย่างของความกลัวเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่กันดีกว่าค่ะ เมื่อเรากลัวที่จะสูญเสีย เช่นการทำสิ่ง ๆ นั้น อาจทำให้เราต้องตกงาน เราก็จะไม่เสี่ยงหรือจะไม่มีความกล้าพอที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งความกลัวนี้ ในบางสถานการณ์ก็อาจทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จได้นั่นเองค่ะ
ลักษณะนิสัยทั้ง 5 นี้ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้เมื่อโตขึ้น แต่ต้องเริ่มสร้างตั้งแต่ลูกยังเด็ก เพราะการที่เด็กมีจิตใจที่เปราะบางจะถูกกระทบ
3 วิธีเลี้ยงลูกให้มีจิตใจเข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์
-
ควรเลี้ยงลูกให้รักและยอมรั
บในความเป็นตัวเอง
ข้อนี้มีความสำคัญมากในการเ
หรือพูดอีกอย่างคือ การเลี้ยงเด็กควรเน้นที่ควา
2. อย่าตามใจมากเกินไป
เพราะจะทำให้เด็กเคยตัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ คือจะเอาอารมณ์เป็นใหญ่หรือ
3. อย่าเลี้ยงให้ขาดศีลธรรมประ จำใจ
การขาดศีลธรรมจะทำให้จิตวิญ
การสอนลูกให้เป็นเด็กที่ อารมณ์ดี มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี เป็นการปูพื้นฐานให้ลูกรู้จักปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในโลกกว้างได้อย่างมีความสุข คุณพ่อคุณแม่ก็จะไม่ต้องเป็นห่วงว่าลูกจะสามารถรับมือกับเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ที่ลูกอาจจะต้องเจอในอนาคตได้
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.forbes.com, ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ, ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่