ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน …เมื่อถึงวัยและเวลาที่ลูกต้องไปโรงเรียน บางบ้านอาจเกิดปัญหา ลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียน เด็กบางคนร้องไห้ตั้งแต่ที่บ้านจนถึงโรงเรียน เด็กบางคนถึงกับลงไปชักดิ้นชักงอหน้าโรงเรียน กว่าจะกล่อมกว่าจะโอ๋กันได้ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เด็กบางคนเมื่อได้ไปเรียนแล้วคุ้นเคยกับเพื่อนที่โรงเรียนก็จะเลิกร้องไห้ไม่ยอมไปโรงเรียนอีก แต่เด็กบางคนทำอย่างไรก็ยังไม่อยากไปโรงเรียน
ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ คงต้องถึงเวลาจับเข่าคุยกับลูกหรือปรึกษาคุณครูของหนู ๆ แล้วละค่ะ จะมีสัญญาณอะไรบ้าง ที่อาจบ่งบอกว่าลูกมีปัญหาที่โรงเรียน ไปดูกันค่ะ
- ป่วยการเมือง ปวดหัวปวดท้องได้ทุกเช้า แต่พอลาหยุดปุ๊บก็หายปั๊บ
- พฤติกรรมผิดปกติ เช่น ชอบกัดเล็บ ทึ้งผม ฉี่รดที่นอน หรือกลับมาดูดนิ้วเหมือนตอนเตาะแตะ
- เงียบขรึม เลิกพูดถึงโรงเรียน หรือกระสับกระส่ายเมื่อใครชวนคุยเรื่องโรงเรียน เรื่องครู หรือเรื่องเพื่อนๆ
- เบื่อหน่าย ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากทำการบ้าน หรือไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
- หวาดกลัว เผลอบ่นว่า “ไม่อยากไปโรงเรียนเลย” หรือ “พรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้วเหรอ” ในเย็นวันอาทิตย์ หรือร้องไห้โยเยในตอนเช้าวันจันทร์ โดยเฉพาะถ้ามีช่วงหยุดยาวติดต่อกันนานๆ
Must read : ควรรู้! 20 เรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องบอกครู และคุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
Must read : ชาวเน็ตยกนิ้วให้! สุดยอดคุณพ่อ ฝึกลูกน้อยที่ไม่อยากไปโรงเรียน จนกลับใจเลิกงอแงได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นในฐานะที่พ่อแม่เป็นเสมือนคุณครูคนแรก และเป็นคนสำคัญที่สุดในชีวิตลูก หากคุณพ่อคุณแม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับทางโรงเรียนของลูก ย่อมทำให้ลูกประสบความสำเร็จ และมีความรู้สึกที่ดีต่อการไปโรงเรียน จากการศึกษาพบว่าถ้าผู้ปกครองทุ่มเทให้เวลากับลูกทั้งทางบ้านและโรงเรียนลูกมักจะเป็นผุ้ประสบความสำเร็จในการเรียนและมีชีวิตที่ดีในอนาคต การลงทุนกับลูกเป็นการลงทุนที่สูงค่าและผลที่ได้รับไม่สามารถประเมินได้ เราจึงมี 20 วิธี ที่ทำให้ลูกประสบความสำเร็จที่โรงเรียน มาแนะนำ ดังนี้
-
การมีส่วนร่วมกับโรงเรียน
1. พบครูประจำชั้นของลูกตั้งแต่ต้นปีการศึกษา เพื่อให้คุณครูทราบว่าเราใส่ใจ และต้องการช่วยลูกอย่างเป็นเหมือนทีมเดียวกัน มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ไลน์ของโรงเรียนและคุณครูที่สามารถติดต่อได้เสมอเมื่อมีปัญหา คุณพ่อคุณแม่สามารถทราบพัฒนาการของลูกโดยการพูดคุยกับคุณครู และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียนที่ดีทางหนึ่ง
2. รู้จักบุคลากรในโรงเรียนของลูก เพื่อที่จะทราบว่าต้องติดต่อใครในกรณีมีปัญหา รู้จักผู้บริหาร คุณครูฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารและเครือข่ายผู้ปกครองต่าง ๆ ที่สามารถทำงานเป็นทีมที่จะช่วยลูกได้
3. เข้าร่วมประชุมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเสมอ โดยปกติแล้วโรงเรียนจะจัดการประชุมกับผู้ปกครองปีละประมาณ 2 ครั้งต่อปี ดังนั้น ต้องจัดเวลาในการเข้าร่วมเพื่อประโยชน์ของตัวเองและของลูกของเรา