คุณลักษณะของเด็กที่มี EQ ดี
Daniel Goleman ได้จำแนกความฉลาดทางอารมณ์ ออกเป็น 2 ทักษะใหญ่ๆ ดังนี้
- ทักษะการจัดการตนเอง (Self-Management Skills) ได้แก่ ความสามารถในการรู้จักตนเองทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง มุ่งมั่นในการทำงาน การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) และไม่ท้อถอยเมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรค
- ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relationship Skills) ได้แก่ ความสามารถในการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีทักษะการเข้าสังคม รู้จักระมัดระวังคำพูด รู้ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ รู้กาลเทศะ การสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ความสามารถในการโน้มน้าว ชักจูงให้ผู้อื่นคล้อยตามความคิดเห็นหรือร่วมมือด้วย
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาการประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้ทราบถึงจุดดีจุดเด่นของลักษณะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถใช้ในการติดตามเพื่อดูพัฒนาการทางอารมณ์ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยการประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กจากคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง และสุข ดังนี้
- ด้านดี คือ ความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยประเมินจากการรู้จักอารมณ์ การมีน้ำใจ และการ รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วย
- ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง ได้แก่ รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ แสดงออกอย่างเหมาะสม
- การรู้จักเห็นใจผู้อื่น ได้แก่ ใส่ใจผู้อื่น เข้าใจและยอมรับผู้อื่น แสดงความเห็นใจผู้อื่นอย่างเหมาะสม
- ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ได้แก่ รู้จักการให้ รู้จักการรับ รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
- ด้านเก่ง คือ ความพร้อมที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จ โดยประเมินจากความกระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการกล้าพูดกล้าบอกรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วย
- การรู้จักและสามารถสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ได้แก่ การรู้ศักยภาพของตนเอง สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้ มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
- ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจปัญหา มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีความยืดหยุ่น
- ความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้แก่ การรู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์
- ด้านสุข คือ ความพร้อมทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดความสุข โดยประเมินจากการมีความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิตและมีความสุขสงบทางใจ
- ความภูมิใจในตนเอง ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง
- ความพึงพอใจในชีวิต ได้แก่ รู้จักมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
- ความสงบทางใจ ได้แก่ มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
7 นิสัยดี สร้าง ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของลูกให้สูงลิ่ว
1. EQ ดี เริ่มที่พ่อแม่
เพราะพ่อแม่คือคนที่อยู่ใกล้ชิดลูก คือตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูก ถ้าพ่อแม่เอาแต่เกรี้ยวกราด โมโห เหวี่ยงใส่ลูกบ่อยๆ ลูกก็จะซึมซับอารมณ์ที่ว่านี้ไปจากพ่อแม่ เขาจะโตขึ้นกลายเป็นเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง เกรี้ยวกราดง่าย แต่ถ้าคุณแม่อยากให้เขาเป็นเด็ก EQ ดี ยิ้มแย้มมีความสุข ก็ต้องเริ่มต้นจากพ่อแม่ที่อารมณ์ดี พูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ใจเย็นกับลูก แล้วลูกจะเป็นเด็กอารมณ์ดีไปด้วย
2. ช่วยเฟ้นหาความสามารถพิเศษในตัวลูก แล้วคอยให้กำลังใจ
แน่นอนว่าลูกๆ อาจยังไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถพิเศษด้านไหน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลและสังเกตอย่างใกล้ชิด ถ้าเห็นว่าลูกชอบวาดรูป แม้จะยังไม่สวยหรือดูไม่ค่อยออกว่าวาดเป็นรูปอะไร แค่ลูกจับดินสอหรือระบายสีเป็นประจำ ขอให้คุณพ่อคุณแม่ลองสนับสนุนหรือช่วยไกด์ให้ลูกค่อยๆ วาดเป็นรูปเป็นร่าง แล้วอย่าลืมให้กำลังใจด้วยการปรบมือ ยิ้มแย้ม หรือชมลูกบ่อยๆ เขาก็จะเป็นเด็กที่มี EQ ดีในอนาคตได้
อ่านต่อ >> “นิสัยช่วยสร้างความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของลูกให้สูงลิ่ว” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่