ขอโทษลูก ให้เป็น ลูกจะได้เรียนรู้สิ่งดีๆ - Amarin Baby & Kids
ขอโทษลูก

ขอโทษลูก ให้เป็น ลูกจะได้เรียนรู้สิ่งดีๆ

Alternative Textaccount_circle
event
ขอโทษลูก
ขอโทษลูก

คุณพ่อ คุณแม่หลายคน เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองทำผิด หรือทำให้ลูกเสียใจโดยไม่ได้ตั้งใจ หลายคนปล่อยผ่านไป และนิ่งเฉย เพราะคิดว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ ทำไมต้องขอโทษเด็ก แต่หลายคน ขอโทษลูก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ขอโทษบ่อยเกินไปจนความสำคัญของคำว่าขอโทษไม่มีความหมาย

ขอโทษลูก ให้เป็น

หากคุณพ่อ คุณแม่อยากสอนลูกน้อย ให้รู้จักคำว่า “ขอโทษ” ในเวลาที่เขาทำผิด การทำเป็นตัวอย่างจะเป็นการสอนเขาได้ดีที่สุด มีคุณพ่อ คุณแม่หลายคนอาจเถียงขึ้นในใจว่า “ฉันไม่เคยทำผิด ทำไมต้องขอโทษลูกด้วย” จริงหรือ ที่คุณไม่เคยทำให้ลูกรู้สึกเสียใจเลย ยกตัวอย่างเช่น ลูกไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แต่คุณพ่อ คุณแม่อาจกำลังรู้สึกเหนื่อย หงุดหงิด จากการทำงาน หรือไม่พอใจคนใกล้ตัว เมื่อลูกซุกซน งอแง คุณพ่อ คุณแม่ก็ยิ่งรู้สึกโมโห และเผลอดุ ตะคอก หรือเหวี่ยงใส่ลูก

ลูกน้อย ของคุณพ่อ คุณแม่คงจะรู้สึกตกใจกลัว และเสียใจอยู่ไม่น้อย ความรู้สึกเหล่านี้ อาจทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจของเด็กว่า “เขาทำผิดอะไร เขาทำผิดตรงไหน”

ลินน์ ซาการิ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก กล่าวว่า “นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยนี้ ยุคที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องแข่งขันกับตัวเอง แข่งขันกับผู้อื่น และแข่งขันกับเวลา” เมื่อเหนื่อยจากการทำงาน พักผ่อนน้อย ก็มักจะมีความรู้สึกหงุดหงิดตามมา พอลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ หรือมากวนใจด้วยการถามคำถามมากๆ ก็จะหงุดหงิดมากขึ้น และเผลอตะคอกลูกกลับไปด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดี”

ขอโทษลูก
ลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ ก็จะหงุดหงิดมากขึ้น และเผลอตะคอกลูกกลับไปด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดี

คุณพ่อ คุณแม่หลายคนอาจมองข้ามความรู้สึกของลูกน้อย คิดว่าลูกคงจะไม่รู้สึกอะไร เพราะพวกเขายังเด็ก ไม่นานเดี๋ยวเขาก็ลืม ความคิดนี้ถือเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะลูกเองถึงแม้ว่ายังเล็ก แต่ก็มีความรู้สึก มีความคิด และเสียใจเป็น

จากประสบการณ์ของ ซาการิ พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น ทำให้เด็กเกิดความเครียด ไม่มีความสุข และเก็บตัว พร้อมกับกล่าวโทษตัวเองว่า เพราะเขาทำให้พ่อแม่ต้องหงุดหงิดแบบนี้ และเมื่อพวกเขาโตขึ้น ก็จะเริ่มมองหาทางออกของปัญหานั้น หากใครเข้ามาทำดีด้วย พูดจาไพเราะอ่อนหวานกับลูกก็จะชอบ และหลงเชื่อในคำพูดเหล่านั้นมากกว่าคนในครอบครัว เมื่อคุณพ่อคุณแม่ถามไถ่เรื่องราวต่างๆ ด้วยความอยากรู้ หรือเป็นห่วง ก็จะโดนลูกตะคอกกลับมาด้วยความรำคาญเช่นกัน

อ่าน “ขอโทษลูกให้เป็น (ต่อ)” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up