ศิลปะแห่งการวิจารณ์ (งานศิลป์ของลูก) - Amarin Baby & Kids

ศิลปะแห่งการวิจารณ์ (งานศิลป์ของลูก)

Alternative Textaccount_circle
event

ถึงสงสัยแค่ไหนก็อย่าถามลูกว่า “นี่อะไรจ๊ะ” เข้าละ ประโยคเดียวปิดจินตนาการอันบรรเจิดของเจ้าตัวเล็กไปเลยนะจะบอกให้ แคเทอรีน ฟิกส์ ครูศิลปะควบตำแหน่งคุณแม่ของลูกชายวัย 5 ขวบ  อธิบายว่า “คุณควรสนใจวิธีการมากกว่าผลลัพธ์ค่ะใส่ใจวิธีที่ลูกสร้างผลงานชิ้นโบแดงของเขาขึ้นมา แต่ไม่ต้องไปเสียเวลาหาคำตอบว่าผลงานชิ้นนั้นเหมือนต้นแบบหรือเปล่า”

 

 

 
ดังนั้นแทนที่จะถามว่า “หนูวาดรูปอะไร” ลองมาคุยกัน เรื่องเหล่านี้ดีกว่า

 
• แรงบันดาลใจของลูกคืออะไร

 
ลองถามลูกสิว่าเขาคิดอะไรอยู่ตอนที่วาดรูปนี้ นอกจากจะได้ชวนลูกคุยแล้ว คุณยังได้รู้ว่าพ่อหนูแม่หนูกำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่ และอาจได้แรงบันดาลใจจากลูกต่อมาอีกทอดอย่างเช่น ซาร่า สาวน้อยวัย 4 ขวบครึ่งที่สร้างไดโนเสาร์ขึ้นมาจากสำลีชนิดแผ่นกับผ้าพันแผล พอแม่หนูเล่าแรงบันดาลใจให้แม่ฟังจบ คุณแม่มิเชลล์ก็แต่งนิทานก่อนนอนเรื่องใหม่ 1 เรื่องจากคำตอบสุดสร้างสรรค์ของลูก

 

 

 
• ลูกค้นพบอะไรบ้าง

 
การได้ทดลองใช้วัสดุและอุปกรณ์หลายๆ แบบ ช่วยให้ลูกได้ค้นพบวิธีการใหม่ๆ เช่น แป้งเปียกใช้ติดช้อนพลาสติกได้ไม่ดีเท่ากับกาวลาเท็กส์ ลวดเย็บกระดาษใช้เย็บกระดาษลังแข็งๆ ไม่ได้ ฯลฯ เรื่องพวกนี้อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่พวกผู้ใหญ่รู้อยู่แล้ว แต่สำหรับเด็กวัยก่อนเรียน การค้นพบเหล่านี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจและพัฒนาการเรียนรู้ของหนูๆ ได้

 

 

 
• ลูกได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ“ทำไมหนูถึงใช้สีน้ำกับปากกาวาดภาพนี้ล่ะ”

 
อย่าจำกัดความคิดของลูกว่างานแบบนี้จะต้องใช้วัตถุดิบแบบนี้เท่านั้นลองปล่อยให้เขาลองจับนั่นผสมนี่ตามใจชอบ จะเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ สะสม “พลังงาน” เอาไว้บ้าง

 
ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า เด็กวัย 5 ขวบที่แสนแข็งแรงนั้นเก็บพลังงานไว้ได้นานกว่าเด็กวัย 8 ขวบ ทั้งนี้เพราะเมื่อทำกิจกรรมหรือออกกำลังไปได้สักพัก พวกเขามักจะ “ชะลอ” จังหวะการวิ่ง การเล่น หรือการทำเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ช้าลงโดยอัตโนมัติทำให้มีพลังงานสะสมเหลืออยู่ในร่างกายยาวนานกว่า (คุณแม่สาวแกร่งจะเก็บเทคนิคนี้ไปปรับใช้เวลาวิ่งเล่นกับเจ้าตัวเล็กหรือทำงานบ้านแสนเหนื่อยบ้างก็ได้นะ)

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up