แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม – Asperger’s Syndrome อาจไม่เป็นไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หลายคนไม่เคยรู้จัก บางคนอาจเคยได้ยินมาบ้างในขณะที่บางครอบครัวอาจรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในทศวรรษที่ 1940 มีรายงานกลุ่มของความผิดปกติทางพฤติกรรมและพัฒนาการในเด็ก โดย Dr. Hans Hans Asperger ได้ค้นพบลักษณะของอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยของเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายที่ฉลาด และมีสติปัญญาระดับปกติ ภาษาสามารถสื่อสารได้ตามปกติ แต่เด็กเหล่านี้มีปัญหาด้านทักษะการเข้าสังคมด้วยพฤติกรรมที่ผิดปกติบางอย่าง
แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม คืออะไร?
Asperger’s syndrome (AS) เป็นหนึ่งในกลุ่มของความผิดปกติทางระบบประสาทที่เรียกว่า ออทิสติกสเปกตรัม (ASDs) หรือออทิสติกที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง ผู้ที่เป็นโรคจะแสดงอาการหลักสามประการ ได้แก่ :
- มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- มีพฤติกรรมหมกมุ่น ซ้ำซากจำเจ
- ยืนหยัดในสิ่งที่พวกเขาคิด ไม่ยืดหยุ่น
ออทิสติกสเปกตรัม (ASDs) จัดอยู่ในประเภทที่สามารถทำงานได้สูง หมายความว่า บุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีความล่าช้าทักษะทางภาษา และไม่มีปัญหาในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนจำนวนมากที่เป็นโรค
บ่อยครั้งที่บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค AS มีสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะนี้มักจะได้รับการศึกษาในห้องเรียนทั่วไปและทำงานในบริษัทต่างๆ ได้ตามปกติ
อาการและพฤติกรรมของแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger’s syndrome)
เด็กที่มีภาวะของ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม มักไม่ทราบถึงความพยายามของบุคคลอื่นในการเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เด็กที่เป็นโรค AS อาจมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม นอกจากนี้เวลาพูดด้วยมักไม่ค่อยสบตา เวลามีคนเรียกมักไม่หันมามอง เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ค่อยได้ และไม่รู้กาลเทศะ นอกจากนี้เด็กจะพฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำคิดย้ำทำ เช่น เขามีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะสนใจมากจนถึงขั้นหมกมุ่น และสิ่งที่เขาสนใจอาจเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่สนใจ เช่น เด็กบางคนชอบดูโลโก้ผลิตภัณฑ์ มองไปเจอที่ไหนก็จะถาม จำแม่น บางคนชอบดูยี่ห้อพัดลมว่ายี่ห้ออะไร เห็นพัดลมที่ไหนก็ตรงไปดูยี่ห้อก่อนอื่นเลย เป็นต้น
ส่วนใหญ่เด็กที่เป็นโรค AS ไม่สามารถอ่านการแสดงออกทางสีหน้า และภาษากายได้ ผู้ที่เป็นโรค AS อาจพูดเป็นโทนเสียงเดียวแสดงสีหน้าเล็กน้อย พวกเขาอาจมีปัญหาในการรู้ว่าเมื่อใดควรลดระดับเสียงลงเพื่อให้เหมาะสม
นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรค AS อาจมีปัญหากับทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จำเป็น เช่น วิ่ง หรือเดิน เด็กเหล่านี้อาจขาดการประสานงานและไม่สามารถทำงานบางอย่างได้ เช่น ปีนเขา หรือขี่จักรยาน เป็นต้น
สาเหตุของแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด แต่มีหลักฐาน ว่าอาจจะเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง มากกว่ารูปแบบการเลี้ยงดู ซึ่งทำให้เกิดอาการหลายอย่างของโรค แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแม่นยำว่าอะไรเป็นสาเหตุ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่พบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและการสัมผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี หรือไวรัส มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรคนี้ และเด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะป่วยได้มากกว่าเด็กผู้หญิง
การวินิจฉัยแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
ไม่มีการทดสอบใดที่สามารถบอกคุณได้ว่าบุตรหลานของคุณมี AS หรือไม่ ในหลายกรณี ผู้ปกครองรายงานความล่าช้าหรือความยากลำบากในการพัฒนาหรือพฤติกรรม ถ้าลูกของคุณอยู่ในโรงเรียน ครูของพวกเขาอาจสังเกตเห็นปัญหาพัฒนาการ ปัญหาเหล่านี้ควรรายงานให้แพทย์ของคุณทราบ โดย สามารถประเมินบุตรเด็กในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น :
- การพัฒนาด้านภาษา
- ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- สีหน้าเวลาพูดคุย
- ความสนใจในการโต้ตอบกับผู้อื่น
- ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง
- การประสานงานของกล้ามเนื้อ
เนื่องจากทางการแพทย์ยังไม่มีการทดสอบเฉพาะสำหรับการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยจำนวนมากจึงได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่ามีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น บุตรหลานของคุณอาจต้องได้รับการประเมินอีกครั้งเพื่อพิจารณาการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
การรักษาแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม มีการรักษาหลายอย่างที่สามารถลดอาการผิดปกติและช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มที่ ซึ่งการรักษามักขึ้นอยู่กับอาการเฉพาะของเด็กที่แตกต่างกันออกไป การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยให้เด็กสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม บรรลุศักยภาพของตัวเอง และนำไปสู่การใช้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพได้
ยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
- aripiprazole (Abilify) ลดความหงุดหงิด
- guanfacine (Tenex), olanzapine (Zyprexa) และ naltrexone (ReVia) ลดอาการสมาธิสั้น
- Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ลดอาการชอบทำพฤติกรรมซ้ำๆ
- risperidone (Risperdal Consta) ลดอาการกระสับกระส่ายและนอนไม่หลับ
ยาจะมีประโยชน์ในการควบคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการรักษาอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสาร การควบคุมอารมณ์ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่
- การฝึกทักษะการเข้าสังคม
- การพูดและการบำบัดทางภาษา
- กิจกรรมบำบัด
- กายภาพบำบัด
- การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา
ผู้ปกครองมักจะได้รับการบำบัดไปพร้อมกับเด็กๆ เพื่อช่วยให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูลูกที่ป่วยด้วยภาวะนี้ได้
ความแตกต่างระหว่าง แอสเพอร์เกอร์ซินโดรมและออทิสติก
แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม และออทิสติก อาจมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ความแตกต่างบางอย่างจะช่วยให้สามารถแยกแยะสองภาวะนี้ออกจากกันได้ คือ เรื่องของพัฒนาการด้านภาษา เด็กที่เป็นออทิสติก จะมีปัญหาพัฒนาการทางภาษาที่เด่นชัด กล่าวคือ พูดช้า พูดไม่ชัด พูดในภาษาของตนเอง แต่การพัฒนาการด้านภาษาของเด็กที่มีภาวะของแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม จะสามารถพูดคุยสื่อสารได้ปกติ เพียงแต่จะมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาที่มีความลึกซึ้งซับซ้อน เช่น มุกตลก คำเปรียบเปรย เปรียบเทียบ หรือการประชดประชันต่างๆ จะเข้าใจเฉพาะการสื่อความหมายที่ตรงไปตรงมา
มีบางพฤติกรรมของภาวะแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมที่คล้ายกับออทิสติกอย่างมาก เช่น การสบตาน้อยลง ชอบอยู่คนเดียว เข้ากับเพื่อนๆ ไม่ได้ เวลาคุยก็จะคุยแต่เรื่องที่เขาสนใจ โดยไม่ได้สังเกตว่าคนที่ฟังจะสนใจหรือไม่ ค่อนข้างไม่เข้าใจในเงื่อนไขของทักษะทางสังคม แต่ในแง่ของความฉลาดเด็กที่มีภาวะของแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมจะมีระดับสติปัญญาปกติ หรือสูงกว่า
แนวโน้มระยะยาวสำหรับเด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม
แม้ยังไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามเด็กจำนวนมากที่ป่วยด้วยภาะนี้ ก็สามารถเติบโตมาเพื่อมีชีวิตที่แข็งแรงและมีประสิทธิผลด้วยการรักษาและการบำบัดพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ แม้ว่าหลายคนยังคงต่อสู้กับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้ก็สามารถมีชีวิตที่เป็นอิสระและมีความสุขได้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : manarom.com , healthline.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูกสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย เริ่มเป็นเด็กก้าวร้าว เพราะติดไอแพด
แม่เตือน ลูกไม่สบตา เรียกไม่หัน อาการออทิสติกเทียม เหตุเพราะมือถือ!
5 ความเข้าใจผิดเมื่อ ลูกไม่พูด..พูดช้า และ 6 วิธีฝึกลูกพูด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่