วิธีสังเกตอาการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี
- พบว่าลูกมีอาการของเด็กขาดสมาธิ ได้แก่
- ไม่สามารถตามสิ่งที่พ่อแม่ และครูสั่งจนเสร็จได้
- ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
- ไม่ตั้งใจฟัง
- เก็บรายละเอียดไม่ได้
- ไม่มีสมาธิในการเรียน และการเล่น
- ผิดพลาดบ่อย ๆ
- ไม่มีระเบียบ
- พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความคิด หรือสมาธิ
- วอกแวกง่าย
- ทำของหายอยู่บ่อย ๆ ขี้ลืม
- อาการซน เช่น
- ยุกยิกไม่อยู่สุข นั่งไม่ติดที่
- ลุกเดินบ่อยๆ เมื่ออยู่ในบ้านหรือห้องเรียน
- ชอบวิ่ง และปีนป่ายสิ่งต่างๆ
- พูดมาก พูดไม่หยุด
- เล่นเสียงดัง
- ตื่นตัวตลอดเวลา
- ตื่นเต้นง่าย
- ชอบตอบคำถามก่อนที่พ่อแม่พูดจบ
- รอคอยไม่เป็น
- ชอบขัดจังหวะ หรือแทรกเวลาคนอื่นพูด
- อาการหุนหันพลันแล่น โดยเด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน เวลาทำอะไรมักจะไม่คิดก่อน และขาดความระมัดระวัง เป็นต้น
วิธีการรักษานั้น ก็สามารถทำได้โดยการให้ลูกทานยาเพิ่มสมาธิ ฝึกเทคนิคการปรับพฤติกรรม และช่วยเหลือในเรื่องการเรียน หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น ให้รีบพาไปปรึกษาเพื่อรับการรักษาด้วยยา และขอคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกน้อยจะดีที่สุดค่ะ
เครดิต: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่