“ลูกอ้วก” แบบไหน ควรพาไปโรงพยาบาล - Amarin Baby & Kids
ลูกอ้วก

“ลูกอ้วก” แบบไหน ควรพาไปโรงพยาบาล

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกอ้วก
ลูกอ้วก

สมองของลูกสั่งให้ ลูกอ้วก ได้จริง ๆ หรือ

คำตอบคือ จริงค่ะ ซึ่งอาการอาเจียนที่ว่านี้ ถูกควบคุมโดยสมอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ศูนย์ด้วยกัน คือ
  1. ศูนย์อาเจียน – เป็นตัวทำหน้าที่ควบคุมและสั่งร่างกายให้เกิดการอาเจียน โดยเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากภายนอก เช่น จากทางเดินอาหาร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวภายในหูชั้นใน ซึ่งเกี่ยวกับอาการเมารถเมาเรือ
  2. ศูนย์ซีทีแซด (CTZ) จะได้รับการกระตุ้นจากศูนย์อาเจียน หลังจากนั้นจะส่งสัญญาณประสาทออกจากศูนย์ไปยังกะบังลม ทำให้กำบังลมบีบตัว ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้เกิดอาการเกร็ง และไปยังกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ทำให้คลายตัว ทำให้เศษอาหารนั้นถูกผลักดันออกจากปาก และเกิดการเจียนในที่สุด

สาเหตุที่ทำให้ลูกอ้วก คืออะไร?

1. สาเหตุที่ทำให้ ลูกอ้วก หรืออาเจียนส่วนใหญ่แล้วเกิดจากโรค หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร การอุดตันของกระเพาะ ลำไส้ หรือมีการอักเสบของทางเดินอาหาร
2. เกิดภาวะการติดเชื้อในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โรคติดเชื้อเฉียบพลันในเด็ก
3. เกิดจากโรคของสมองและระบบประสาทที่กระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนโดยตรง อาการอาเจียนจากสมอง มักทำให้อาเจียนพุ่ง
4. ยา สารพิษ หรืออาหารบางชนิดก็ทำให้อาเจียนได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาสลบ ยารักษามะเร็ง
5. สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ สาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รับประทานอาหารมากเกินไป
6. สำหรับปัญหาทางศัลยกรรมที่ควรคิดถึง ได้แก่ โรคไส้ติ่งอักเสบ
7. ในกรณีที่อาเจียนติดต่อกันรุนแรงควรนึกถึงภาวะความดันในสมองสูง และโรคไมเกรนด้วยเสมอ ในผู้ป่วยที่มีอาเจียนพุ่ง โดยเฉพาะเวลาหลังตื่นนอน ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ชัก กระหม่อมโป่งตึง หัวโต ให้คุณพ่อคุณแม่คิดถึงโรคทางสมองก่อนเลยค่ะ หากไม่มั่นใจว่าลูกเป็นหรือไม่แนะนำให้พาลูกไปตรวจเช็กอย่างละเอียดดีที่สุดค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up