โปรตีนสารอาหารมหัศจรรย์สำหรับสมอง ช่วยพัฒนาระบบสื่อประสาทและความจำของลูกสมองของลูกมีเซลล์ประสาทหลายร้อยชนิดที่ทำงานร่วมกัน เซลล์ประสาทในสมองจะพัฒนาและมีการสื่อสาร ภายในเซลล์อยู่ตลอดเวลา ทำหน้าที่ ช่วยพัฒนา IQ หรือเชาวน์ปัญญา ควบคุมอารมณ์ ระบบการทำงานของเซลล์ประสาท จะต้องอาศัยโปรตีนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับส่งข้อมูล ทำให้สมองมีประสิทธิภาพ สามารถรับรู้ข้อมูลได้ดี ทำให้การส่งข้อมูลถึงกันระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง ทำงานด้วยกันอย่างมีความแม่นยำ และ รวดเร็ว ซึ่งการเชื่อมต่อข้อมูลถึงกันระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมองนี้จะมีความคมชัด และมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโปรตีนจากอาหารที่ลูกรับประทานในแต่ละวัน
โปรตีนสารอาหารสร้างพลังสมอง
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สร้างจากโมเลกุลของกรดอะมิโน หลังจากร่างกายได้รับอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี เช่น หมู ไก่ ไข่ ปลา ถั่วเหลือง และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโปรตีน ฯลฯ โปรตีนในอาหารจะถูกย่อยและดูดซึมกลายเป็นกรดอะมิโน กระบวนการทำงานของร่างกายจะนำกรดอะมิโน ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนมาสร้างเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ สมอง เส้นผม เล็บ เม็ดเลือด นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงาน ต่างๆ ของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยป้องกันโรค เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ทำให้ร่างกายของลูกแข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการก้าวต่อไปในทุกช่วงวัย
มั่นใจได้อย่างไรว่าลูกของคุณได้รับโปรตีนเพียงพอ
ถึงแม้จะเห็นลูกกินอาหารได้ดี แต่ถ้าพลังงานส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว หรือของหวานที่มีสารอาหารต่ำ อาจทำให้ร่างกายของลูกได้รับพลังงานส่วนเกิน แต่ขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ โดยเฉพาะโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อทั้งสมองและร่างกายของเด็ก หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกเหนื่อยง่าย ไม่ร่าเริง ขาดสมาธิ ซึ่งภาวะขาดโปรตีนจะส่งผลโดยตรงต่อทั้งร่างกาย และ สมอง ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ส่งผลเสียต่อการทำงานของร่างกายทั้งระบบ ทำให้เซลล์สมองมีขนาดเล็กลง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของสารสื่อประสาทภายในสมองทำงานได้น้อยลง ทำให้ขาดสมาธิในการเรียนรู้ และอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปรกติ
โปรตีนสารอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และความสมดุลของอารมณ์
ถ้าลูกได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้มวลกล้ามเนื้อลดน้อยลงแล้ว การขาดโปรตีนยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบภูมิต้านทานโรค เพราะการสร้างภูมิคุ้มกันโรคต้องอาศัยโปรตีน มาช่วยซ่อมแซมและสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ถ้าภูมิต้านทานโรคลดลงจะทำให้ลูกเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปรกติ เช่นเป็นหวัดบ่อย รู้สึกอ่อนเพลียง่าย นอกจากนี้ยังทำให้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ลดน้อยลง ส่งผลให้รู้สึกฉุนเฉียวและหงุดหงิดง่าย ซึ่งอาจกระทบต่อระดับสติปัญญา รวมถึงสุขภาพทางกายและใจของเด็กได้
โปรตีนสร้างและย่อยสลายทุกวัน ร่างกายจึงต้องเติมเต็มโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน
เพราะร่างกายมีกระบวนการสร้างกล้ามเนื้อและสลายมวลกล้ามเนื้อทุกวัน รวมทั้งไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนไว้ใช้ได้เหมือนอย่างคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ดังนั้นปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ การได้รับอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้มวลกล้ามเนื้อต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบกับ โปรตีนในกล้ามเนื้อจะ มีการสลายและสร้างใหม่ตลอดเวลา การรับประทานอาหารให้ถูกวิธี มีปริมาณโปรตีนเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อทดแทนที่สลายไปในทุกวัน แต่หากรับประทานโปรตีนน้อย จะส่งผลทำให้มวลกล้ามเนื้อลดน้อยลง การผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยง่าย เป็นแผลหายช้า
‘เด็ก กับ ผู้ใหญ่’ ใครควรได้รับโปรตีนมากกว่ากัน?
ช่วงวัยที่แตกต่างกันร่างกายก็ต้องการโปรตีนในปริมาณที่ต่างกันด้วย วัยทารก และวัยเด็ก เป็นวัยที่ร่างกายต้องการโปรตีนปริมาณมากกว่าวัยผู้ใหญ่ เหตุผลคือวัยเด็กเป็นวัยที่อวัยวะต่างๆภายในร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อจำนวนมาก ซึ่งร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ เด็กต้องได้รับสารอาหารต่างๆ ตลอดจนปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เพราะร่างกายของเรามีกระบวนการสร้างกล้ามเนื้อและสลายมวลกล้ามเนื้อออกไปทุกวัน
ความต้องการโปรตีนในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ทารกต้องการโปรตีนวันละ 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 ก.ก เด็กวัย 5-12ปี ต้องการโปรตีนเฉลี่ยวันละ 1.1-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากนั้นความต้องการโปรตีนจะลดลงเหลือ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือเมื่อมีอายุ 19 ปี ขึ้นไป
โดยในวัยเด็กเป็นวัยที่ร่างกายต้องได้รับโปรตีนคุณภาพดี ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อนำมาเสริมสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ ทำให้เซลล์สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และช่วยทำให้มีความจำที่ดี ป้องกันภาวะขาดโปรตีน ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และระดับสติปัญญา
สำหรับเด็กในช่วงวัย 5-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียนและทำกิจกรรมมากมาย จึงควรได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ คุณแม่สามารถคำนวณปริมาณโปรตีนที่ลูกควรได้รับใน 1 วันง่ายๆด้วยการนำปริมาณโปรตีนที่เด็กต้องการ (1.1-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) มาคูณกับน้ำหนักตัว เช่น หากเด็กหนัก 20 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่เขาควรได้รับต่อวันจะเท่ากับ 20 x 1.1 = 22 กรัม
ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กช่วงอายุ 5-8 ปีควรได้รับโปรตีนคุณภาพดี วันละ 25-30 กรัม และสำหรับเด็กช่วงอายุ 9-12ปี ควรได้รับโปรตีนคุณภาพดีวันละ 30-40 กรัม ซึ่งโปรตีนคุณภาพดีควรได้มาจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ปลา และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโปรตีน
ปริมาณอาหารกับคุณค่าโภชนาการที่สมดุล
การรับประทานอาหารปริมาณมาก ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะได้รับสารอาหารเพียงพอ เด็กวัย 5-12 ปี เป็นวัยช่างเลือก และจะลอกเลียนการรับประทานอาหารของผู้ใหญ่ในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างในการสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ดี ทุกมื้อควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน โปรตีนและสารอาหารอย่างเพียงพอต่อพัฒนาการสมอง และการเจริญเติบโตตามวัยของลูก การดูปริมาณอาหารที่รับประทานเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ลูกได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตการบริโภคอาหารของลูกด้วย ให้เขารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนังและมัน อย่างน้อยมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะ(30กรัม) ซึ่งจะมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ควรถามลูกเสมอเรื่องปริมาณการรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียน เพื่อประเมินว่าลูกได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ ถ้ารับประทานได้น้อย หรือไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน คุณแม่ควรจัดอาหารทดแทนทันที ไม่ต้องรอให้ถึงมื้อต่อไป อาจเป็นอาหารว่างที่มีโปรตีนและสารอาหารที่ดีต่อสมอง เช่นเครื่องดื่มที่ดื่มง่าย และมีรสชาติอร่อย เพราะถ้าลูกได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ หรือได้รับโปรตีนด้อยคุณภาพ ในระยะยาวอาจเกิดภาวะขาดโปรตีนซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการของร่างกายและสมอง ดังนั้นเพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดี เด็กควรรับประทานอาหารหลักวันละ 3 มื้อ และมีอาหารว่างวันละ 1-2 มื้อ
ตัวอย่างเมนูอาหาร 1 วัน สำหรับเด็กในช่วงอายุ 5-12 ปี
มื้อ |
ชนิดอาหาร |
ปริมาณ |
เช้า |
ข้าวต้มกุ้ง
น้ำส้มคั้นสด |
กุ้ง3-5 ตัวขนาดกลาง
150 มิลลิลิตร |
อาหารว่าง |
เครื่องดื่มเพิ่มโปรตีน |
1 แก้ว |
กลางวัน |
ข้าวสวย ไข่เจียว แกงจืดตำลึงหมูสับ แตงโม |
1-2 ทัพพี 1 ฟอง หมูสับ1-2 ช้อนโต๊ะ 3-4 ชิ้นพอคำ |
อาหารว่าง |
เครื่องดื่มเพิ่มโปรตีน |
1 แก้ว |
เย็น | ข้าวสวย
ปลากะพงนึ่งซีอิ๊ว แกงจืดผักกาดขาวไก่ฉีก มะละกอสุก |
1-2ทัพพี 30-60 กรัม ไก่ 15 กรัม 3-4 ชิ้นพอคำ |
Meal Plan กลยุทธ์เสริมสร้างพัฒนาการสมองของลูกรัก
การวางแผนรับประทานอาหารให้ลูกล่วงหน้าทุกมื้อ จะช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้ว่า ลูกจะได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนในทุกๆวัน เพราะสมองและพัฒนาการของเด็กทำงานตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด คุณแม่ควรเน้นความสำคัญของอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อแรกของวัน ร่างกายควรเริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาหารที่ดี มีโปรตีน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและสมอง เพื่อให้ลูกพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในทุกวัน และอย่าลืมจัดอาหารระหว่างมื้อ โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์แทนขนมกรุบกรอบด้วยนะคะ
แต่หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอโดยเฉพาะโปรตีนในแต่ละมื้อ คุณแม่สามารถเสริมโปรตีน และสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆให้กับลูกน้อยได้ง่ายๆ ด้วย “พรอตตี้” เครื่องดื่มโปรตีนชนิดผงรสช็อกโกแลต ที่มีปริมาณโปรตีนถึง 5,000 มิลลิกรัม จาก 2 แหล่งโปรตีนคุณภาพดีที่ผสานความลงตัวจากทั้งนมและถั่วเหลืองไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมสูง ที่นอกจากช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้ลูกมีส่วนสูงที่สมวัย โดยใน Prottie (พรอตตี้) 1 ซอง มีปริมาณของแคลเซียมถึง 500 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณแคลเซียมที่ได้จากการดื่มนมถึง 2 แก้ว และมีวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นวิตามินผู้พิทักษ์สมองไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยเสริมสร้างความจำ โดยใน Prottie (พรอตตี้) 1 ซอง มี ปริมาณวิตามิน บี12 ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคสูงถึง 60 % ของร้อยละปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ รวม 15 ชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและสมองของลูก จึงจัดเป็นเครื่องดื่มทางเลือกใหม่ที่ช่วยเสริมโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยเพื่อพัฒนาการที่ดีของเขา
คุณพ่อคุณแม่ท่านใด สนใจอยากเสริมโปรตีนคุณภาพและเติมเต็มสารอาหารอื่นๆให้ลูกในทุกวัน อย่าลืมเสริมด้วย PROTTIE (พรอตตี้) นะคะ สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้แล้วที่
Lazada: http://bit.ly/35I2PMf
Shopee: https://bit.ly/2O5g8zu
หรือสามารถติดตามประโยชน์ดีๆเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ProttieThailand/