Resilience – ในช่วงชีวิตของเด็ก การเรียนรู้ที่จะเติบโตไปพร้อมกับเหตุและผลในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข คือ สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องปลูกฝัง การต้องพบเจอกับเรื่องผิดหวัง และความล้มเหลวในโลกของเด็กนั้นมีมากมายหลายอย่าง ซึ่งสิ่งสำคัญคือ การได้รับการปลูกฝัง ความยืดหยุ่น หรือ ทักษะการ ‘ล้มแล้วลุกให้ไว’ หลังจากความท้าทายและช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับเด็กๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การต่อบล็อกของเล่นไม่สำเร็จดังใจ หรือแม้แต่ เรื่องใหญ่ๆ เช่นการไปโรงเรียนอนุบาลวันแรก การย้ายบ้าน หรือการต้อนรับสมาชิกใหม่ในครอบครัว นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงประสบการณ์ที่ร้ายแรง เช่น การถูกรังแก ครอบครัวแตกแยก ความเจ็บป่วยในครอบครัว หรือการเสียชีวิต พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะและพัฒนาทักษะความยืดหยุ่นนี้ได้โดยการสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นในครอบครัวและพร้อมเสมอที่จะสนับสนุนพวกเขาด้วยแนวทางที่เหมาะสม
เทคนิคสร้าง Resilience สำหรับเด็กเล็ก เพื่อเพิ่มทักษะ “ล้มแล้วลุกให้ไว”
แม้ว่าวัยผู้ใหญ่จะเต็มไปด้วยความรับผิดชอบในโลกแห่งความจริง แต่สำหรับเด็ก โลกของพวกเขาก็ไม่ได้ปราศจากความเครียดเสมอไป เด็กๆ อาจจะต้องรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ในชีวิตที่ไม่คุ้นเคย การต้องย้ายโรงเรียน เปลี่ยนเพื่อนบ้าน ความเจ็บป่วย การเผชิญหน้ากับคนพาล การคบเพื่อนใหม่ และบางครั้งอาจโดนเพื่อน แกล้ง แน่นอนว่าพวกเขาต้องเผชิญกับความชอกช้ำในโลกแห่งความเป็นจริงที่พ่อแม่ไม่สามารถเข้าไปช่วยได้ในทุกสถานการณ์ การสอนให้พวกเขารับมือกับเรื่องราวต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขตามความเป็นจริง
เมื่อเด็กๆ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่ท้าทายได้ พวกเขา จะเกิดความรู้สึกว่าพวกเขาสามารถหาทางออกให้ตัวเองได้ รู้ว่าต้องทำอะไร อย่างไร และจะสามารถจัดการกับสิ่งที่ถาโถมใส่พวกเขาด้วยความรู้สึกมั่นใจ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าเด็กๆ จะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่พวกเขาจะรู้จักวิธีขอความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในขั้นตอนต่อไปได้ในแบบของตัวเอง
ความยืดหยุ่นไม่ใช่ทักษะที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่เป็นสิ่งที่สามารถสอนและเรียนรู้ได้ วัฒนธรรมที่พยายามทำให้ลูกๆ ของเราสบายใจในทุกๆ เรื่อง คือสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป ในฐานะผู้ปกครองเราพยายามที่จะเอาชนะทุกสิ่งที่ลูกๆ ของเรากำลังเผชิญ แต่ในเมื่อปัญหาของเด็กเกิดขึ้น ชีวิตจริงอาจไม่ง่ายแบบนั้น ซึ่งต่อไปนี้ คือ คำแนะนำและเทคนิคที่จะช่วยให้คุณปลูกฝังทักษะ ล้มแล้วลุกให้ไว ให้แก่ลูกๆ ของคุณได้ค่ะ
1. สร้าง Resilience ต้องไม่ตอบสนองทุกความต้องการของลูก
เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามให้ความมั่นใจและความสบายใจแก่เด็กๆ มากเกินไป นั่นหมายความว่าเรากำลังขัดขวางหนทางที่เด็กๆ จะสามารถพัฒนาการแก้ปัญหาและสร้างความเชี่ยวชาญด้วยตัวเอง การตอบสนองทุกความต้องการของลูกอาจทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล ตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าลูกลืมทำการบ้านที่ต้องส่งคุณครูในวันรุ่งขึ้น ลูกต้องการที่จะเล่นของเล่นมากกว่า แล้วบอกให้พ่อแม่จัดการรีบทำให้ลูกในตอนกลางคืน เป็นต้น ด้วยการแก้ปัญหาวิธีนี้ อาจส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถรับมือกับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาได้ด้วยตัวเองในอนาคตไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าการช่วยเหลือลูกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะไม่ส่งผลเสียต่ออนาคตของลูก เพราะทุกๆ การกระทำในปัจจุบันย่อมส่งผลต่ออนาคต
2. สร้าง Resilience ต้องหลีกเลี่ยงการขจัดความเสี่ยงทั้งหมด
โดยธรรมชาติแล้ว ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานของตนเองปลอดภัย สบายใจ แต่การขจัดความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจทำให้ลูกพบกับความยากลำบาก อาจปิดโอกาสเด็กๆ จากการเรียนรู้ที่จะสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ตัวเองได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง เช่น เด็กที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นในสนามเด็กเล่นเนื่องจากผู้ปกครองต้องการปกป้องเด็กจากการบาดเจ็บ แน่นอนว่าเด็ฏจะได้รับการขัดขวางไม่ให้เรียนรู้เกี่ยวกับการรับความเสี่ยงในสนามเด็กเล่น เป็นต้น ดังนั้นกุญแจสำคัญคือการยอมให้มีความเสี่ยงที่เหมาะสมและสอนทักษะที่จำเป็นแก่ลูก ๆ ของคุณ การให้อิสระที่เหมาะสมกับวัยแก่เด็กจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ขีดจำกัดของพวกเขาและรับมือกับเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
3. สร้าง Resilience ต้องสอนให้ลูกรู้จักแก้ปัญหา
สมมติว่าบุตรหลานของคุณต้องการเข้าค่ายพักแรมกับโรงเรียน แต่กังวลว่าจะต้องอยู่ไกลบ้าน พ่อแม่ที่กังวลใจอาจบอกลูกว่าถ้าอย่างนั้นลูกก็ไม่ต้องไปหรอก แต่แนวทางที่มีสติและเหมาะสม คือ การทำให้ความกังวลใจของบุตรหลานของคุณเป็นปกติ และช่วยให้พวกเขาคิดหาวิธีรับมือได้เมื่อรู้สึกคิดถึงบ้าน ดังนั้นคุณอาจถามลูกของคุณว่าพวกเขาจะฝึกทำความคุ้นเคยกับการต้องอยู่ไกลบ้านได้อย่างไร? หรือเมื่อการสอบปลายภาคทำให้เด็กๆ กังวล คุณควรคิดหากลยุทธ์ต่างๆ รวมกับเด็กๆ เพื่อหาวิธีที่พวกเขาจะสามารถจัดการเวลาและตารางเรียนเพื่อเตรียมสอบได้ กล่าวคือ การให้ลูกๆ ของคุณมีส่วนร่วมกับการค้นหา ได้คิดว่าพวกเขาจะจัดการกับความท้าทายต่างๆ ในชีวิตได้อย่างไร ตลอดจนการให้โอกาสพวกเขาครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อค้นหาว่าสิ่งใดใช้ได้ผลและไม่ได้ผลจ ะช่วยสร้างทักษะความยืดหยุ่นที่สำคัญกับชีวิตของพวกเขาได้
4. ต้องสอนทักษะที่เป็นรูปธรรม
ดังคำเปรียบเปรยที่ว่า “เราไม่ควรให้ปลาแก่เขา แต่ควรจะให้เบ็ดตกปลา และสอนให้รู้จักวิธีตกปลาจะดีกว่า” ด้วยแนวทางนี้จะช่วยสอนทักษะเฉพาะที่เด็กๆ จะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับสถานการณ์บางอย่างด้วยตนเอง การเปิดโอกาสให้พวกเขารู้ว่าต้องใช้ทักษะอะไรถึงจะไปถึงจุดหมายนั้นๆ ได้จึงสำคัญเสมอ
อ่านต่อ…เทคนิคสร้าง Resilience สำหรับเด็กเล็ก เพื่อเพิ่มทักษะ “ล้มแล้วลุกให้ไว” คลิกหน้า2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่