ลูกสมาธิสั้นจริงไหม รู้ได้อย่างไร
การตัดสินว่าเด็กหนึ่งคนจะมีสมาธิสั้นหรือเปล่า และควร แก้สมาธิสั้น อย่างไร ไม่ใช่การสังเกตจากความผิดปกติบางอย่างเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์หรือกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสังเกตพฤติกรรมต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนวินิจฉัยโรค เพราะลูกอาจซุกซน อยู่ไม่นิ่ง หรือดื้นรั้นตามพัฒนาการปกติของเด็กเล็กก็เป็นได้
โรคสมาธิสั้น เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรม ส่งผลต่อการเข้าสังคมและการเรียนของเด็กวัยตั้งแต่ 1 – 7 ขวบ อาการของโรคสมาธิสั้นหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก เด็กบางคนอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีอาการหลายอย่างพร้อมกันได้
1.ลูกซุกซน อยู่ไม่นิ่ง เด็กเล็กจะวิ่งตลอดเวลาและมีพลังงานเหลือเฟือ ส่วนเด็กโตอาจไม่แสดงอาการซุกซนชัดเจน แต่เวลาต้องนั่งนิ่งเป็นเวลานานๆ จะรู้สึกกระวนกระวายใจ มักเขย่าขา ขยับตัวตลอดเวลา หรือพูดเก่ง พูดไม่หยุด
2.ลูกใจร้อน รอคอยไม่เป็น เด็กบางคนไม่ปฏิเสธถ้าบอกให้รอ แต่จะรู้สึกอึดอัด หรือแสดงอาการรำคาญอย่างชัดเจน ลองสังเกตว่าลูกสามารถเข้าแถวรอคิวได้ไหม เขาชอบแซงแถว พูดสอดในวงสนทนา หรือเคยชกต่อยกับเพื่อนหรือไม่ กรณีทะเลาะวิวาท เด็กมีสมาธิสั้นมักตอบว่าตัวเองไม่ได้ และให้เหตุผลว่า “คิดไม่ทัน มือไปก่อน”
3.ลูกจดจ่อกับอะไรได้ไม่นาน ไม่มีสมาธิ ซึ่งต้องดูจากเวลาที่เขาทำสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น การบ้าน หรืองานบ้าน เพราะการนั่งนิ่งระหว่างเล่นสมาร์ทโฟน หรือดูโทรทัศน์ ไม่นับว่ามีสมาธิดี พ่อแม่ต้องดูว่าลูกถูกดึงดูดความสนใจได้ง่ายแค่ไหน จำสิ่งที่แม่พูดไม่ได้ จับใจความได้ไม่หมด หรือขี้ลืมมาก หยิบของไปวางที่ไหนก็จำไม่ได้หรือทำของหายประจำ เป็นต้น
หากมีอาการบ่งชี้ข้างต้นให้ลองพาลูกไปตรวจประเมินจากจิตแพทย์เด็กโดยตรง เพราะจริงๆ แล้ว เด็กทั่วไปจะเป็นโรคสมาธิสั้นเพียง 5 % เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของสมาธิสั้นเทียม ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินไป หรือปล่อยให้ลูกมีแท็บเล็ตเป็นพี่เลี้ยง
อ่านต่อ ต้นเหตุสร้างลูกสมาธิสั้นเทียม คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่