หมอแนะ! วิธีรับมือดูแล หลังลูกประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต (จากเหตุ ยิงกราดโคราช) ทำให้เกิดภาวะความเครียดผิดปกติ หรือเป็น PTSD ส่งผลต่อจิตใจ ทำพัฒนาการลูกถดถอย
PTSD ในเด็ก วิธีรับมือและดูแล
หลังลูกประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต
เรียกได้ว่าผลกระทบจากเหตุ ยิงกราดโคราช ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 30 คน นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ยังมีอาการเสียขวัญตามมาไม่หาย ซึ่งในผู้ใหญ่อาจรักษาดูแลจิตใจของตัวเองได้ แต่สำหรับเด็กที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์รุงแรงในครั้งนี้ อาจเป็นการสร้างรอยแผลในใจ แน่นอนว่าเด็กไม่สามารถรับมือ หรือควบคุมจิตใจและร่างกายของตัวเองให้กลับมาเป็นปกติได้เหมือนผู้ใหญ่!
นั่นหมายถึง…แม้เหตุการณ์จะจบลงแล้ว และตัวเด็กเองอาจไม่ได้รับการบาดเจ็บอะไรที่ร่างกาย แต่จิตใจของลูกนั้นได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือเสียงปืน ซึ่งลูกจะจำและฝังใจไว้ >>> ดังนั้นหากลูกน้อยของคุณกำลังประสบภาวะนี้อยู่ หรือเคยเจอเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องรู้เท่าทัน หมั่นสังเกตอาการลูกน้อยให้ดี รับมือให้เป็น ที่สำคัญควรดูแลรักษาจิตใจที่บาดเจ็บของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด … แต่จะต้องทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูคำแนะนำดีๆ จาก แพทย์หญิงโสรยา ชัชวาลานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กันค่ะ
ซึ่งทางทีมแม่ ABK ก็ได้ต่อสายตรงถึงคุณหมอโสรยา เพื่อขอคำแนะนำและวิธีรับมือ ภาวะ PTSD ในเด็ก เนื่องจากเราได้ไปเจอเรื่องในทวิตเตอร์แอคเค้าท์หนึ่งซึ่งเล่าถึง
คุณแม่และลูกน้อยวัย 4 ขวบที่หลบอยู่ในห้องน้ำในเหตุการณ์ กราดยิงโคราช จนได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เหตุดังกล่าวทำให้ น้องไม่สามารถควบคุมร่างกายของตัวเองได้ คือ จากที่โต 4 ขวบไม่ต้องใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแล้ว กลายเป็นตอนนี้น้องควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ มีอาการผวา กรีดร้องตอนกลางคืน กลัวห้องน้ำ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้จบลง น้องมีอาการข้างต้น จนคุณแม่ต้องพาไปพบจิตแพทย์
โดยเรื่องนี้คุณหมอโสรยา ก็ได้อธิบายกับทีมแม่ ABK ว่า…
เด็กมีภาวะ PTSD หรือ สภาวะป่วยทางจิตใจ หลังเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก
>> กรณีการกราดยิงที่โคราช ถือเป็นภยันตรายที่มีความรุนแรงสูงมากต่อร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็เกิดความเครียดสูงตามหลังเหตุการณ์ได้ อาการทางจิตใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในระยะแรก จัดเป็นปฎิกิริยาที่เรียกว่า Acute Stress Disorder ซึ่งจะแสดงอาการได้หลายอย่าง เช่น ฝันร้าย กลัว รู้สึกว่าตนเองกลับไปอยู่เหตุการณ์ดังกล่าว ตกใจง่าย ไม่กล้าออกนอกบ้าน เป็นต้น อาการที่เกิดในระยะแรก หากได้รับการประคับประคองที่ดี จะค่อยๆ หายไปได้ แต่ถ้าอาการยังคงอยู่หลังเกิดเหตุการณ์นานกว่า 1 เดือน ในทางจิตเวชจัดเป็นภาวะที่เรียกว่า Posttraumatic stress disorder (PTSD)
กรณีที่เป็นเด็กซึ่งไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกได้มากนัก มักจะแสดงออกโดยมีพฤติกรรมถดถอย อย่างในกรณีนี้เคยควบคุมการปัสสาวะได้แล้ว ก็กลับกลายไปเป็นเด็กเล็กอีกครั้ง โดยเด็กไม่ได้ตั้งใจทำ ในบางรายอาจแยกตัว หรือบางคนกลับมาเล่นได้ดีเป็นปกติ แต่แสดงการเล่นสมมติที่แฝงความรุนแรงของเหตุการณ์
Must read : ระวังภัยเกินไปทำให้ลูกกลัว
Must read : รับมือความกลัวของ เด็กก่อนวัยเรียน พ่อแม่ช่วยแก้ได้เมื่อหนู “ขี้กลัว”
เด็กเล็กที่การสื่อสารไม่ดี จะแสดงออกทางพฤติกรรม!
ผลกระทบต่อจิตใจ พฤติกรรม และการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก หลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง >> ซึ่งในประสบการณ์เด็กแต่ละคน ย่อมพบเรื่องสะเทือนใจ แต่กรณีที่พบเรื่องสะเทือนใจที่รุนแรงเช่นนี้ เป็นความเครียดที่คนทั่วไปไม่ได้พบเจอเป็นปกติ จะทำให้เกิดผลกระทบได้มาก ในแง่จิตใจ เด็กจะมีความวิตกกังวลสูง โดยเฉพาะกังวลเรื่องความปลอดภัยของตนเองและคนที่ตัวเองรัก รวมถึงบางคนยังเสียบุคคลที่รักในเหตุการณ์อีกด้วย
อย่างที่กล่าวไปแล้ว เด็กเล็กๆ ที่การสื่อสารไม่ดีนัก จะแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมถดถอยไปเป็นเด็กเล็กอีกครั้ง บางรายแยกตัว เด็กอาจแสดงออกผ่านการเล่น เกี่ยวกับความกังวลและความรุนแรง ตกใจง่าย แสดงอาการหวาดกลัวถ้าต้องเผชิญกับ ภาพ สิ่งของ สถานที่ ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ บางรายไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
อ่านต่อ >> “วิธีสังเกต PTSD ในเด็ก และการดูแลเมื่อลูกมีจิตใจบอบช้ำ
จากการพบเจอเหตุร้ายแรงในชีวิต” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่