เทคนิคไม่ตะโกนใส่ลูก
- ต้องมีความตั้งใจ และบอกตัวเองว่า “วันนี้ฉันจะไม่ตะโกน”
- ต้องมีการเตรียมตัว มองดูอารมณ์ของตัวเองในขณะนั้น ก่อนที่จะเข้าไปหาลูก ถ้ามีความเครียดเรื่องที่ทำงาน หรือเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ทำให้เราโมโห อย่าเพิ่งเข้าไปหาลูก เพราะเราจะหงุดหงิดใส่ลูก
- ต้องมีการผ่อนคลายตัวเอง ให้พักผ่อน เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า ดื่มน้ำเย็นๆ
- ตอนที่อยู่กับลูก คิดไว้เสมอว่า ถ้าเราไม่ชอบอะไร อย่าทำอย่างนั้นกับลูก เช่น ตะโกน ประชด เปรียบเทียบ ว่าแรงๆ เช่น “ทำไมสอนไม่จำ ลูกใครเนี่ย” “ทำไมเพื่อนยังทำได้มากกว่าอีก เรียนเหมือนๆ กัน” “สมองมีไหม”
- เตรียมใจเอาไว้ เพราะอาจจะมีเหตุการณ์ทำให้เราโมโห ถ้าเตรียมใจ จะทำให้เราหงุดหงิดน้อยลง
- ถ้ารู้สึกว่าความโกรธกำลังมา ให้เตือนตัวเองว่า จะหาวิธีกำจัดความโกรธยังไงให้ได้ผล เช่น หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วค่อยสอนการบ้านลูกใหม่
- ลูกจะเรียนรู้จากการกระทำของเรา เราต้องยอมรับก่อนว่าอารมณ์โกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สิ่งสำคัญกว่าคือการจัดการอารมณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเราตะโกน เขาก็จะตะโกนบ้าง ถ้าอยากให้ลูกพูดดีๆ เราก็ต้องพูดดีๆ กับลูก เป็นตัวอย่างที่สำคัญ ให้ลูกรู้ว่าโกรธได้ หงุดหงิดได้ แต่ไม่จำเป็นหรือทำอะไรรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
คำพูดและการกระทำที่ไม่ควรใช้กับลูก
คำพูดยอดแย่ ที่พ่อแม่มักใช้ตีตรา และทำร้ายจิตใจลูก
ลูกไม่อยากคุยกับพ่อแม่ กับ 8 เหตุผลของเด็กยุคใหม่
วิธีพูดให้ลูกทำตาม และไม่ต่อต้าน 30 วิธี
เครดิต: เข็นเด็กขึ้นภูเขา